การใช้พรีเซนเตอร์นักร้องเกาหลีวง BLACKPINK กับการรับรู้ภาพลักษณ์ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ของผู้ใช้บริการ

ผู้แต่ง

  • อดิศา มีสุวรรณ์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.60101/jimc2022.40

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์องค์กร, พรีเซนเตอร์นักร้องเกาหลี, การรับรู้ภาพลักษณ์, การเปิดรับข่าวสาร

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์กับการเปิดรับข่าวสารและการรับรู้ภาพลักษณ์ และ 2. ความสัมพันธ์ของการเปิดรับข่าวสารกับการรับรู้ภาพลักษณ์ของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ที่ใช้พรีเซนเตอร์นักร้องเกาหลีวง BLACKPINK โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณด้วยการสำรวจ ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากจำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คนซึ่งเป็นลูกค้าธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ที่มีอายุไม่เกิน 40 ปีและเปิดรับข่าวสารข้อมูลผลิตภัณฑ์ และ/หรือบริการผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่ใช้นักร้องเกาหลีวง BLACKPINK เป็นพรีเซนเตอร์ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เปิดรับสื่อในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.28) เปิดรับข่าวสารมากที่สุดจากสื่อที่ปรากฏในสาขาของธนาคารในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.08) กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ภาพลักษณ์ของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.07) สามารถจดจำภาพลักษณ์ธนาคารได้ง่ายจากการใช้พรีเซนเตอร์นักร้องเกาหลีวง BLACKPINK (ค่าเฉลี่ย 4.28) และเปิดรับข่าวสารจากการใช้พรีเซนเตอร์นักร้องเกาหลีวง BLACKPINK ของผู้ใช้บริการมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ภาพลักษณ์ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในระดับปานกลาง โดยรับรู้ภาพลักษณ์ของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ไปในทิศทางเดียวกันกับความต้องการของธนาคารที่ต้องการปรับภาพลักษณ์ใหม่ให้เป็นธนาคารที่ทันสมัย เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันด้วยการนำนักร้องเกาหลีวง BLACKPINK มาเป็นพรีเซนเตอร์ตราสินค้าเพื่อการสื่อสารข่าวสารต่าง ๆ ไปยังกลุ่มเป้าหมายนั้น สร้างการจดจำตราสินค้าและสามารถดึงดูดหรือเรียกร้องความสนใจในการเปิดรับข่าวสารจากผู้ใช้บริการซึ่งช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์และทำให้ผลิตภัณฑ์ดูมีความทันสมัย

References

ภาษาไทย

กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์. (2546). จิตวิทยาทั่วไป. ไทยเจริญการพิมพ์.

ขวัญเรือน กิตติวัฒน์. (2531). พลศาสตร์ของการสื่อสาร ในเอกสารการสอนชุดวิชา 51202 พลศาสตร์การสื่อสาร หน่วยที่ 2 (น. 2-23-2-26). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฏฐ์หทัย เจิมแป้น. (2558). การโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สก๊อตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

นุชนารถ อินทโรจน์ มนตรี ภู่นพคุณดี และนิติยา คำภักดี. (2553). ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในทัศนะประชาชนจังหวัดปทุมธานี. กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักนิเทศศาสตร์. ภาพพิมพ์.

ปาจารีย์ ภัทรวาณี. (2553). ภาพลักษณ์ของธนาคารออมสิน สาขาดอนตูม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http:/202.28.75.7/xmlui/handle/ 123456789/12085

พงษ์เทพ วรกิจโภคาทร. (2537). ภาพลักษณ์กับการประชาสัมพันธ์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2548). พลังแห่งภาพลักษณ์. สำนักพิมพ์ฐานมีเดียเน็ตเวิร์ค.

ศรัณย์ สิงห์ทน (2552). การเรียนรู้ทางสังคมของวัยรุ่นไทยจากวัฒนธรรมเพลงสมัยใหม่ของประเทศเกาหลีใต้ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collection https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/ frontend/Info/item/dc:124453

สถาพร สิงหะ. (2556). การเปิดรับสื่อ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจกับการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวแบบดำน้ำลึกของนักดำน้ำชาวไทย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ] http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1025

ภาษาอังกฤษ

Bettinghuas, E. P. & Cody M.J. (1994). Persuasive communication. Wadsworth.

Erdogan, B. Z. (1999). Celebrity endorsement: A literature review. Journal of Marketing Management, 15(4), 291-314. https://doi.org/10.1362/026725799784870379

05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-11-2022

How to Cite

มีสุวรรณ์ อ., & สัมปัตตะวนิช พ. (2022). การใช้พรีเซนเตอร์นักร้องเกาหลีวง BLACKPINK กับการรับรู้ภาพลักษณ์ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ของผู้ใช้บริการ. วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร, 1(1), 87–99. https://doi.org/10.60101/jimc2022.40