การเปิดรับ ทัศนคติ พฤติกรรม และแนวโน้มการรับมือต่อสถานการณ์ การถูกกลั่นแกล้งบนสื่อสังคมของกลุ่มเจเนอเรชันแซดผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก
DOI:
https://doi.org/10.60101/jimc2022.39คำสำคัญ:
สถานการณ์การถูกกลั่นแกล้ง, สื่อสังคม, เฟซบุ๊ก, เจเนอเรชันแซดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับ ทัศนคติ พฤติกรรม และแนวโน้มการรับมือต่อสถานการณ์การถูกกลั่นแกล้งบนสื่อสังคมของกลุ่มเจเนอเรชันแซดผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลจากผู้ใช้สื่อสังคมผ่านช่องทางเฟซบุ๊กที่เคยโดนกลั่นแกล้ง เป็นกลุ่มเจเนอเรชันแซดที่มีอายุระหว่าง 18 - 27 ปี จำนวน 300 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า การเปิดรับสถานการณ์การกลั่นแกล้งไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อสถานการณ์การกลั่นแกล้งบนสื่อสังคมผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก ส่วนทัศนคติต่อสถานการณ์การกลั่นแกล้งบนสื่อสังคมมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับพฤติกรรมการรับมือต่อสถานการณ์การถูกกลั่นแกล้งบนสื่อสังคมผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก (r = .325, P < 0.001) และมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับแนวโน้มการรับมือต่อสถานการณ์การถูกกลั่นแกล้งบนสื่อสังคมผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก (r = .247, P < 0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
References
ภาษาไทย
กุสุมา กูใหญ่. (2556, 5 พฤษภาคม). Media and Society พื้นที่สาธารณะ. http://kusumakooyai.blogspot.com/2013/05/blog-post.html
ธงชัย สันติวงษ์. (2540). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด. ไทยวัฒนาพานิช.
นิลุบล ไทยรัตน์. (2542). พฤติกรรมของมารดาในการป้องกันการเกิดโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กอายุต่ำว่า 5 ปี อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภาวนีย์ เจนกิติวรพงศ์. (2560). การเปิดรับสื่อ ทัศนคติ พฤติกรรม และการรู้เท่าทันในการใช้วาจาสร้างความเกลียดชังของวัยรุ่นไทยในเขตกรุงเทพมหานครผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก (Facebook) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5907030174_8229_8609.pdf
มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน. (2561). การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ (Cyberbullying). นัชชาวัตน์.
รินทร์ลภัส เกตุวีระพงศ์. (2564). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ การรู้เท่าทันสื่อ และการตระหนักรู้การกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร, 17(2), 143-160.
ฤทัยชนนี สิทธิชัยและธันยากร ตุดเกื้อ. (2560). พฤติกรรมการรังแกบนโลกไซเบอร์ของเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนใต้. วารสารวิทยบริการ, 28(1), 86-99.
วรพงษ์ วิไลและเสริมศิริ นิลดำ. (2561). พฤติกรรมการรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงราย กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย. วารสารนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 1(2), 1-24.
วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล. (2564). การกลั่นแกล้งกันในพื้นที่ไซเบอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: ความชุก วิธีการจัดการปัญหา และพฤติกรรมเสี่ยง. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 275-289.
สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2541). พฤติกรรมองค์การ: ทฤษฎีและการประยุกต์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563, 15 กรกฎาคม). Cyberbully คืออะไร? ส่งผลอย่างไร? และเราควรรับมือกับมันอย่างไรดี?. https://bit.ly/3ucyJzt
สุภาวดี เจริญวานิช. (2560). การรังแกกันผ่านพื้นที่ไซเบอร์: ผลกระทบและการป้องกันในวัยรุ่น Cyber Bullying: Impacts and Preventions in Adolescents. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(4), 640-648.
เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร. (2559). พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(93), 116-130.
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2549). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาษาอังกฤษ
Bhat, C. S. (2008), Cyber bullying: Overview and strategies for school counsellors, guidance officers, and all school personnel. Journal of Psychologists and Counsellors in Schools, 18(1), 53-66.
Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. John Wiley & Sons.
Cronbach, L. J. (1963). Educational psychology. Harcourt Brace and World, Inc.
Kelman, H. C. (1967). Attitude change in compliance, identification and internalization: Three process of attitude change. John Wiley & Sons.
Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. The Free Press.