การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับชุมชนของศูนย์การค้าไอคอนสยาม

ผู้แต่ง

  • สาวิตา สุวรรณกูล คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • นิธิดา แสงสิงแก้ว คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.60101/jimc2022.32

คำสำคัญ:

สถานการณ์การถูกกลั่นแกล้ง, สื่อสังคม, เฟซบุ๊ก, เจเนอเรชันแซด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการความสัมพันธ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนของศูนย์การค้าไอคอนสยาม โดยใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการค้นคว้าเอกสารและ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้บริหารที่มี ส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับชุมชน ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับชุมชนของศูนย์การค้าไอคอนสยามเป็นไปตามนโยบาย “สานประโยชน์ร่วมกับชุมชน” ผ่านการดาเนินงานอย่างเป็นระบบและ มีขั้นตอน ประกอบไปด้วยการวางแผน การจัดการองค์กร การสั่งการ และการควบคุม โดยให้ความสาคัญกับการค้นหาข้อมูลจากชุมชนและการวางแผนการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์เพื่อเข้าไปเป็นพันธมิตรหรือเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน สาหรับการสื่อสารระยะแรกใช้สื่อบุคคลสร้างความสัมพันธ์เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในความเป็นชุมชนและเอื้อต่อการสร้างเครือข่ายชุมชน ในระยะถัดไปใช้สื่อกิจกรรมเข้ามาผสมผสานร่วมกับสื่อบุคคลเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ แต่สาหรับสื่อใหม่หรือสื่อออนไลน์ใช้เป็นเพียงเครื่องมือในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการขอความคิดเห็นจากชุมชน ในส่วนการติดตามประเมินผลเป็นไปในระดับประเมินผลก่อนและหลัง การจัดกิจกรรม ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) ปัจจัยภายใน คือ ปัจจัยด้านองค์กรซึ่งเกิดจากการผนึกกาลังในระดับนโยบาย ผู้บริหาร และบุคลากร ทาให้ผู้ปฏิบัติงานมี ความเข้าใจตรงกันและปฏิบัติงานตามเป้าหมายองค์กร และปัจจัยด้านการสื่อสารเพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้นาชุมชนและกลุ่มชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานทั้งแบบเป็นกิจลักษณะและเป็นรายกิจกรรม บุคคลเหล่านี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างเครือข่ายชุมชนในปัจจุบัน (2) ปัจจัยภายนอก คือ ปัจจัยด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมและรูปแบบชุมชนที่ช่วยเอื้อต่อการเข้าถึงชุมชนเป็นรายบุคคลได้ง่าย เปิดโอกาสให้สามารถดาเนินกิจกรรมได้อย่างหลากหลาย และปัจจัยด้านภาพลักษณ์องค์กรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน เนื่องจากมักถูกนามาเชื่อมโยงกับประเด็นทางการเมืองและเปรียบเทียบกับชุมชนบริเวณโดยรอบ

References

ภาษาไทย

จินตวีร์ เกษมศุข. (2562). การบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรนาฏ จิระชัยพันธุ์. (2562). แนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะภายในอาคารศูนย์การค้าให้ตอบรับกับพฤติกรรมของผู้ใช้งาน: กรณีศึกษา ศูนย์การค้าระดับเมกะมอลล์ เขตกรุงเทพมหานครชั้นใน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. http://ethesisarchive. library.tu.ac.th/thesis/2019/TU_2019_6116033116_12320_13096.pdf

นลินี ตรัสบวรและไตรรัตน์ จารุทัศน์. (2562). การศึกษาผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมของโครงการรูปแบบผสมกรณีศึกษาโครงการ ไอคอนสยาม วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน และสามย่านมิตรทาวน์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/69908/1/6173561525.pdf

สาธิต วิทยากร. (2563, 22 พฤศจิกายน). จาก CSR สู่ CSV แชร์และแบ่งปัน ก้าวไปอย่างยั่งยืน. https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/126448

พิทักษ์ ชูมงคล. (2549). กลยุทธ์และผลสัมฤทธิ์การสร้างชุมชนสัมพันธ์ของโรงไฟฟ้าราชบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/12287/1/pitak_c.pdf

ไพโรจน์ วิไลนุช. (2557). การบริหารการสื่อสารขององค์การการสื่อสารกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชนิกร สําราญรัตน์. (2553). การจัดการชุมชนสัมพันธ์ของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/20849/1/ratchnikorn_su.pdf

รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2558). การสื่อสารองค์กร: แนวคิดการสร้างชื่อเสียงที่ยั่งยืน. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลลิดา เปลี่ยนดี. (2548). การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนวัดยายร่มกับชุมชนเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/8009/1/lalida.pdf

วิจิตร อาวะกุล. (2534). เทคนิคการประชาสัมพันธ์. โอ เอส พริ้นทิง เฮาส์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. ธรรมสาร.

สุพิชญา เลิศประภานนท์. (2559). กลยุทธ์การสื่อสารของศูนย์การค้าอิมพีเรียล เวิลด์ สำโรง ที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างศูนย์การค้าและชุมชน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. http://gscm.nida.ac.th/uploads/files/1598581410.pdf

ไอคอนสยาม. (2565, 19 กุมภาพันธ์-a). ปณิธานไอคอนสยาม. https://www.iconsiam.com/th/about_us/ vision_mission

ไอคอนสยาม. (2565, 19 กุมภาพันธ์-b). ไอคอนสยาม ภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมดี ๆ ที่ดำเนินการร่วมกับชุมชนโดยรอบ. https://www.iconsiam.com/th/news-and-press/csr-iconsiam

ภาษาอังกฤษ

Doorley, J. & Garcia, H. F. (2007). Reputation management: The key to successful public relations and corporate communications. Routledge.

Marston, J. E. (1963). The nature of public relations. McGraw-Hill.

Porter, M. E., & Kramer, M. R. (2011). Creating shared value. Harvard Business Review, 89(1-2), 62-77.

01

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-11-2022

How to Cite

สุวรรณกูล ส. ., & แสงสิงแก้ว น. (2022). การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับชุมชนของศูนย์การค้าไอคอนสยาม. วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร, 1(1), 1–24. https://doi.org/10.60101/jimc2022.32