การศึกษามุมกล้องในการถ่ายภาพที่มีผลต่อความดึงดูดใจในการผลิตภาพถ่ายโฆษณาก๋วยเตี๋ยวเรือ
DOI:
https://doi.org/10.60101/jimc2024.1227คำสำคัญ:
ภาพถ่ายโฆษณา, มุมกล้อง, ก๋วยเตี๋ยวเรือ, ความดึงดูดใจ, การโฆษณาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของมุมกล้องที่มีผลต่อความดึงดูดใจในการผลิตภาพถ่ายโฆษณาก๋วยเตี๋ยวเรือ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการทดลองถ่ายภาพตามมุมกล้อง 7 มุมกล้อง ได้แก่ 0 องศา 15 องศา 30 องศา 45 องศา 60 องศา 75 องศา และ 90 องศา ถ่ายภาพในสตูดิโอด้วยกล้อง DSLR ยี่ห้อ Canon รุ่น 80D เลนส์ Canon EF-S 18-135 USM โดยควบคุมตัวแปร ได้แก่ การตกแต่งชามก๋วยเตี๋ยว คุณภาพแสง ทิศทางแสง ตำแหน่งไฟ ขนาดภาพ ค่าความไวแสง ทางยาวโฟกัสของเลนส์ 35 มม. และขนาดรูรับแสง F/8 เท่ากันทุกภาพ จากนั้นให้กลุ่มตัวอย่าง 30 คน ประเมินความเหมาะสมของมุมกล้องดูภาพผ่านจอมอนิเตอร์ โดยวิธีการประเมินแบบจับคู่เปรียบเทียบในห้องทดลองที่ได้รับการควบคุมความสว่าง 870 ลักซ์
ผลการวิจัย พบว่า มุมกล้อง3 อันดับแรกที่ได้ผลการประเมินความเหมาะสมมากที่สุดในการผลิตภาพถ่ายโฆษณาก๋วยเตี๋ยวเรือ คือมุมกล้อง 60 องศา รองลงมา ได้แก่ มุมกล้อง 45 องศา และมุมกล้อง 90 องศาตามลำดับ
References
ภาษาไทย
กมลทิพย์ รุ่งประเสริฐ. (2561). การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเพื่อส่งเสริมความรู้และทัศนคติต่อการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3357
กาลัญ วรพิทยุต. (2562). รายงานการวิจัยการโฆษณากับการปรับตัวเข้าสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4.0. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
จารุณี เจริญรส. (2564). การถ่ายภาพอาหารเพื่อการโฆษณา [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
จารุณี เจริญรส, กฤษฎา เลขยันต์, แนน บุญศิริ, และอลิษา สีสด. (2565). การศึกษาทิศทางของแสงที่มีความเหมาะสมกับการถ่ายภาพเพื่อการโฆษณาขนมไทย. วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร, 1(1), 25–47. https://doi.org/10.60101/jimc2022.33
ณพวัฒน์ วงศ์ตั้ง. (2559). ขั้นตอนการจัดงานกิจกรรมพิเศษของงาน LEGO บริษัท CH & P [รายงานสหกิจศึกษา, มหาวิทยาลัยสยาม]. https://e-research.siam.edu/kb/lego-ch-p-production/
น้ำลิน เทียมแก้ว. (2561). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พรหมพงษ์ แก้วดวงเด่น. (2557). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนาเกณฑ์การประเมินองค์ประกอบของภาพถ่ายอาหารในมุมมองของผู้เรียน รายวิชา ADS 358 การถ่ายภาพเพื่องานโฆษณา. มหาวิทยาลัยรังสิต.
เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. (2555). การถ่ายภาพโฆษณา [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะนิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วุฒิกร สันประเสริฐ. (2560). การเป็นผู้ช่วยช่างภาพในบริษัท ตาชำนิ [รายงานสหกิจศึกษา, มหาวิทยาลัยสยาม]. https://e-research.siam.edu/kb/a-photographer-assistant-in-chamnis-eye-co-ltd/
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี. (2562, 1 กรกฎาคม). ประวัติก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต. https://www.m-culture.go.th/phatumthani
Carol. (2022, February 15). เคล็ดลับในการจัดเฟรมเพื่อถ่ายภาพอาหาร. https://th-alphauniverse.sony-asia.com/learn/a7c-content-creators-playground/food-photography-framing-tips
Triamsiriworakul, K. (2021, October 15). ความสำคัญและเทคนิคการถ่ายภาพอาหารที่แบรนด์ควรรู้. https://www.unboxbkk.com/blog/food-photography/