การรับรู้การสื่อสารการตลาดและการตัดสินใจซื้อ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ศูนย์เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคไทย

ผู้แต่ง

  • สุวณี จั่นเพิ้ง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • สุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

DOI:

https://doi.org/10.60101/jimc2024.1213

คำสำคัญ:

เครื่องดื่ม, แอลกอฮอล์ศูนย์เปอร์เซ็นต์, การสื่อสารการตลาด, การรับรู้, การตัดสินใจซื้อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การสื่อสารการตลาดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ศูนย์เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคไทย และศึกษาการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ศูนย์เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม (Questionnaire) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ กลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุ ตั้งแต่ 20 ขึ้นไป ที่เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ศูนย์เปอร์เซ็นต์ ยี่ห้อใดก็ได้ อย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 240 คน

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี รายได้ 15,001 – 30,000 บาท ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้การสื่อสารการตลาดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ศูนย์เปอร์เซ็นต์โดยรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.43) และเมื่อพิจารณาตามรายด้านพบว่า ลำดับที่ 1 คือการรับรู้ผ่านการประชาสัมพันธ์ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.68) ลำดับที่ 2 รับบรู้ผ่านการโฆษณา อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.59) ลำดับที่ 3 รับรู้ผ่านการส่งเสริมการขาย อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.43) ลำดับที่ 4 ผ่านการขายโดยบุคคล อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.34) และลำดับที่ 5 ผ่านการตลาดทางตรง อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.10) ส่วนการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ศูนย์เปอร์เซ็นต์ค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.39) และเมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ลำดับที่ 1 คือการตระหนักรู้ถึงปัญหา อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.59) ลำดับที่ 2 คือการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.38) ลำดับที่ 3 การตัดสินใจซื้อสินค้า อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.38) ลำดับที่ 4 การประเมินหลังการซื้อสินค้า อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.32) และลำดับที่ 5 ขั้นตอนประเมินทางเลือกอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.29)

References

ภาษาไทย

ขจีวรรณ เกตุวิทยา. (2563). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อ

กระบวนการตัดสินใจซื้อนาฬิกาอัจฉริยะของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1433/1/gs611110034.pdf

ฆฤณา มหกิจเดชาชัย. (2565). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของตราสินค้าที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศ การเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82601

จุฑาลักษณ์ จันทร์สุกรี. (2561). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อธุรกิจเพื่อสังคม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต]. https://rsuir-library.rsu.ac.th/bitstream/123456789/829/1/Jutaluk%20Jansukree.pdf

ชูชัย สมิทธิไกร. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภค. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐณิชา มากัต. (2564). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของบริษัท อิคาโน่ (ประเทศไทย) จำกัด กรณีศึกษาการเปิดตัวสินค้าคอลเล็คชั่น SAMMANKOPPLA IKEA X Greyhound ของอิเกีย ประเทศไทย [สารนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/ frontend/Info/item/dc:179847.

ณัฐวิภา สินสุวรรณ. (2558). กลยุทธ์การสื่อสารผ่านส่วนผสมทางการตลาดบนสื่อออนไลน์ของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 23(43), 171-195.

บุษรา สู่ธนะวิโรจน์. (2567, 20 กุมภาพันธ์). ทัศนคติและการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/mlw11/sec2/6014963040.pdf

ปณิธิ เสกสรรวิริยะ. (2564). การเปิดรับการสื่อสารการตลาด ทัศนคติต่อแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์และการตัดสินใจซื้อเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของผู้บริโภค [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79606

วรรณา ยงพิศาลภพ. (2565, 1 มกราคม). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2565-67 อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/food-beverage/beverage/io/io-beverage-2022

ศิริพร สุภโตษะ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทเบียร์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. https://ethesisarchive. library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5902030948_7338_6041.pdf

สำนักข่าวสร้างสุข. (2564, 2 มิถุนายน). ผลสำรวจระบุคนไทยดื่มสุราลดลง เพราะหวั่นเสี่ยงติดโควิด-19. https://www.thaihealth.or.th

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. https://dictionary.orst.go.th

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2567, 20 กุมภาพันธ์). สถิติการบริการด้านการทะเบียนราษฎร. https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/stat/

อัมพิกา หอมจิตต์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อและบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสตรีวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. https://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/4420/2/Ampika_H.pdf

Voice online. (2019, March 15). 'เบียร์ไร้แอลกอฮอล์' ทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพ ที่กำลังเติบโตไปทั่วโลก. https://voicetv.co.th/read/iLW7tAtpO

Ratirita. (2019, March 6). อ่านเกม Heineken 0.0 เหนือกว่าไร้แอลกอฮอล์ แต่คือการสร้างแบรนด์แบบเนียน ๆ. https://brandinside.asia/heineken-00-zero-alcohal-in-thai/

01

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2024

How to Cite

จั่นเพิ้ง ส., & เปลี่ยนรุ่ง ส. (2024). การรับรู้การสื่อสารการตลาดและการตัดสินใจซื้อ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ศูนย์เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคไทย. วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร, 3(1), 1–19. https://doi.org/10.60101/jimc2024.1213