การรับรู้ความหมายและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ที่มีส่วนผสมของเรตินอลของผู้หญิงไทย

ผู้แต่ง

  • ณฐมน ภัทรหิรัญโชค คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • สุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

DOI:

https://doi.org/10.60101/jimc2024.1211

คำสำคัญ:

การรับรู้ความหมาย, การตัดสินใจซื้อ, เรตินอล, ผู้หญิงไทย, ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความหมายและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่มีส่วนผสมของเรตินอลของผู้หญิงไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและสำรวจโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 240 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 240 คน เป็นเพศหญิงที่อายุอยู่ในช่วง 25-29 ปี มากที่สุด มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีระดับรายได้ 15,000-25,000 บาท เกือบครึ่งหนึ่งมีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้านการศึกษาการรับรู้ความหมายทั้ง 3 ด้านที่มีการรับรู้มากที่สุด คือ 1. ด้านความหมายของเรตินอล คือ เรตินอลคือสารสกัดที่เกิดมาจากวิตามินเอ 2. ด้านวิธีการใช้เรตินอล คือ การใช้เรตินอลควรใช้คู่กับมอยเจอร์ไรเซอร์ และ 3. คุณลักษณะ/ประสิทธิภาพของเรตินอล คือ ผิวของแต่ละคนมีปฏิกิริยาต่อเรตินอลต่างกัน ผลการศึกษาด้านการตัดสินใจซื้อ พบว่า 1. ขั้นตระหนักถึงปัญหา คือ องการหาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเพื่อช่วยลดเรือนริ้วรอยบนใบหน้ามากที่สุด และ 2.ขั้นระดับการค้นหาและเปรียบเทียบข้อมูล คือ มักเปรียบเทียบราคาของสินค้ามาก 3. ขั้นระดับการตัดสินใจ คือ ซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเรตินอลเพราะตรงกับความต้องการมากที่สุด และ 4. ขั้นพฤติกรรมหลังการซื้อ คือ ถ้าสินค้าใช้แล้วเห็นผลตามคำโฆษณามักจะต้องการบอกต่อ

References

กันยา สุวรรณแสง. (2540). จิตวิทยาทั่วไป. รวมสาส์น.

ขวัญรัตน์ เป่ารัมย์. (2560). อิทธิพลของการรับรู้และการมีส่วนร่วมที่มีต่อการยอมรับของประชาชนในงานบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3294/1/RMUTT-158595.pdf

จันทิมา เลิศอุไรวงศ์. (2547). ปัจจัยที่มีต่อการแสวงหาข้อมูลข่าวสารของผู้ชนะการแข่งขันรายการแฟนพันธุ์แท้ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. https://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/1125/3/chantima.pdf

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2566). พฤติกรรมผู้บริโภค. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชาติสยาม หม่อมแก้ว. (2566, 24 เมษายน). Aging Gracefully นักจิตวิทยาจุฬาฯ แนะ Mindset เผชิญความชราอย่างสง่างาม. https://www.chula.ac.th/highlight/113931/

ณัฐนรี ศรีอาจ. (2565). เส้นทางการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคร้านเบเกอรี่บนสื่อโซเชียลมีเดีย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ธนิศา แสวงพรรค. (2559). แรงจูงใจ การแสวงหาข้อมูล และการตัดสินใจท่องเที่ยวของผู้บริโภคหญิงโสดวัยทำงาน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. https://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/55718/1/5884655028.pdf

ราช ศิริวัฒน์. (2560, 25 มกราคม). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค. https://doctemple.wordpress.com

โรงพยาบาลศิริราช. (2567, 2 มกราคม). เคล็ดลับดูแลผิวให้สมวัย. https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/734/Skin-Care

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2566, 1 กันยายน). สถิติการบริการด้านการทะเบียนราษฎร. https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/stat/

สิริศักดิ์ แสงทา. (2559). การรับรู้การสื่อสารการตลาดของแบรนด์ยาสีฟันดอกบัวคู่และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภควัยทำงาน [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สุภัชชา เรือนสิทธิ์. (2561). การวิเคราะห์ความเรียบผิวเชิงปริมาณสำหรับริ้วรอยของผิวหน้า [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น]. http://library.tni.ac.th/thesis/upload/files/ MET%202018/Suphatcha%20Rueansit%20Thesis%20MET%202018.pdf

อำพล ชะโยมชัย. (2561, 25 สิงหาคม). พฤติกรรมองค์การและการบริหารจัดการสมัยใหม่. https://ob-modern.blogspot.com/2018/

ภาษาอังกฤษ

Grand View Research. ( 2023) . Retinol Market Size & Trends. Retrieved September 20, 2023, from https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/retinol-market-report

05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2024

How to Cite

ภัทรหิรัญโชค ณ., & เปลี่ยนรุ่ง ส. (2024). การรับรู้ความหมายและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ที่มีส่วนผสมของเรตินอลของผู้หญิงไทย. วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร, 3(1), 70–84. https://doi.org/10.60101/jimc2024.1211