การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง กรณฑ์ที่สอง โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับอินโฟกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
DOI:
https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.3คำสำคัญ:
ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, กรณฑ์ที่สอง, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, อินโฟกราฟิกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง กรณฑ์ที่สอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับอินโฟกราฟิก ให้มีคะแนนอย่างน้อยร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนนามนพิทยาคม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 27 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับอินโฟกราฟิก 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา 3) แบบบันทึกหลังการสอนของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน.
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนในกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับอินโฟกราฟิก เพิ่มขึ้น โดยในวงจรปฏิบัติการที่ 1 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 77.78 วงจรปฏิบัติการที่ 2 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 92.59 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 96.30
Downloads
References
เถลิงศักดิ์ ศุภฤกษ์, เผ่าไทย วงศ์เหลา, และเสนอ ภิรมจิตรผ่อง. (2563). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 17(1) : 393-404.
ขวัญชัย พิมพะนิตย์. (2562). การส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยาเรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.
ณัฐพล เลิศนัน. (2562). การศึกษายุทธวิธีในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หนึ่งขั้นตอน ที่เกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณและการหารของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, 5 และ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บุญชัย อารีเอื้อ, พรสิน สุภวาลย์, อภิชาติ ลือสมัย, กฤษณะ โสขุมา, ภัทรพร ตัสโต และเมธัช เชื้อแดง. (2566). การพัฒนารูปแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วารสารร้อยแก่นสาร. 8(3) : 457-475.
พัชรพล ชิดชม, ภัททิรา เดชฤกษ์ปาน, สราญจิต อ้นพา, ณัฐิกา สุริยาวงษ์ และมาเรียม นิลพันธุ์. (2565). The การพัฒนาแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร. 5(1) : 1-15.
สุธาวินี วงค์เครา และนัฐจิรา บุศย์ดี. (2563). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทาง คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 12(2) : 324-342.
สุธาวินี วงค์เครา และนัฐจิรา บุศย์ดี. (2563). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทาง คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 12(2) : 324-342.
Ella Burrows. (2023). Sharing in the Echo Chamber: Examining Instagram Users' Engagement with Infographics through the Frame of Digital Literacy. Journal of Information Literacy. 1(17) : 29-47.
Lyaylya Tarkhova, Sergey Tarkhov, Marat Nafikov, Ilshat Akhmetyanov, Dmitry Gusev, and Ramzid Akhmarov. (2020). Infographics and Their Application in the Educational Process. International Journal of Emerging Technologies in Learning (iJET). 13(15) : 63-80.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.