ฟูนัน : นัยของการสื่อความหมายระหว่าง “อาณาจักรกับยุคสมัยโบราณ”
DOI:
https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.41คำสำคัญ:
การสัมมนาอารยธรรม, พนมดงรัก, อาณาจักรฟูนัน, ขอมโบราณ, ภูเขาบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อประยุกต์หลักพุทธธรรมสร้างทัศนวิสัยสำหรับการศึกษาอารยธรรมฟูนัน (2) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “ฟูนัน” (3) เพื่อศึกษาข้อมูล “ฟูนัน” เชิงพื้นที่และเชิงยุคสมัย เป็นการศึกษาจากเอกสาร และฟังวีดีทัศน์ ของนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ที่ร่วมสมัยกับยุคฟูนัน แล้วนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณาวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า การประยุกต์หลักพุทธธรรมสร้างทัศนวิสัยสำหรับการศึกษาอารยธรรมฟูนัน ให้ยึดหลักกาลามสูตร หลักการสร้างปัญญา 3 หลักโยนิโสมนสิการ การสืบสาวหาเหตุปัจจัย หลักไตรลักษณ์ เป็นแว่นขยายมองประวัติศาสตร์ฟูนันดินแดนโบราณนั้น ช่วยเสริมสร้างวางท่าทีการศึกษาประวัติศาสตร์ที่เหมาะสม เกิดการระมัดระวังไม่เอียงไปหาศรัทธาจริต เน้นศึกษาที่ไม่ต้องให้บรรลุความเชื่อ แต่ควรมุ่งวัฒนธรรมการสืบสวน ไต่สวน เปรียบเทียบ ค้นหาความน่าจะเป็น ต่อเนื่องตลอดไปโดยไม่รู้จบ พบว่า มีการบันทึกคำว่า “ฟูนัน” แล้วให้ความหมายว่า “พนม” บ่งชี้ถึงสังคมที่เลือกใช้ภูเขาเป็นสถานที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์สำหรับการสร้างศูนย์กลางความศรัทธาและอำนาจการปกครอง บนดินแดนที่กว้างใหญ่ระบุว่ามีการตั้งชุมชนของผู้คนหลากเผ่าพันธุ์ กระจัดกระจายอยู่ทั่วภูมิภาค มีการถ่ายทอดวิทยาการต่าง ๆ ต่อเนื่องจากยุคก่อนประวัติศาสตร์และมีความพยายามภายในด้วยความสามารถแห่งกลุ่มชนของตนบนดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ แต่ละชุมชนปกครองตนเอง สัมพันธ์กันแบบเสมอภาค ลักษณะแบบรัฐไม่รวมศูนย์ ซึ่งดูจะมีบรรยากาศที่คล้ายคลึงกันกับชุมชนทวารวดีซึ่งเป็นสังคมยุคหลังต่อมา แม้ดำเนินอยู่ในยุคต้นประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยึดมั่นวัฒนธรรมภายในของตนเองขณะที่มีติดต่อแลกเปลี่ยนอารยธรรมอินเดียตั้งแต่ก่อนคริสตกาล ชาวอินโดจีนแห่งนี้ก็ยอมรับปรับใช้อย่างผสมผสานแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมอย่างกล้าหาญ “ฟูนัน” ได้ช่วยอธิบายถึงอารยธรรมขอมโบราณ ปัจจุบันชาวกัมพูชามีเชื่อว่าบรรพบุรุษของเขาเป็นชาวอินเดียที่มาแต่งงานกับหญิงผู้นำหัวหน้าชาวบ้านพื้นถิ่นแล้วมีการก่อบ้านแปลงเมืองอยู่ล่วงถึงปัจจุบัน พบว่า นักวิชาการต่าง ๆ ได้นำเสนอ “ฟูนัน” “สังคมที่ใช้ภูเขาเป็นภูนิเวศน์ศูนย์รวมศรัทธาและอำนาจของชนชั้นผู้นำ” โดยกล่าวถึงดินแดน ที่ตั้ง หลักฐานด้านโบราณคดี สังคม วัฒนธรรม วรรคดี เศรษฐกิจ การค้าขาย การคมนาคม การศึกษา อย่างหลากหลาย ซึ่งสามารถสรุปองค์ประกอบได้ 2 หลัก คือ เชิงพื้นที่และเชิงยุคสมัย และข้อมูลมีความเหมาะเป็นการศึกษาเชิงวิจัยพัฒนาสติปัญญาผู้สนใจทุกท่าน
Downloads
References
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). ประวัติพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดี สุรเตโช) ป.ธ.9 ราชบัณฑิต. (2550). ศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2541). พุทธธรรม ฉบับปรุงปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 55. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ถางซุ่ยหยาง และอู๋เซิ่งหยาง. (2559). การศึกษาความหมายทางวัฒนธรรมจากตำนานการสถาปนาอาณาจักรฟูนัน. วารสารศิลปกรรมบูรพา. 19(1) : 29-43.
พระธรรมโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ), พระมหาโชตินิพิฐพนธ์ สุทฺธจิตฺโต, บัญญัติ สาลี และวิโรจน์ ทองปลิว. (2563). พนมดงรัก: พื้นที่หลากหลายภาษาและ วัฒนธรรม. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทัศน์. 7(1) : 53-70.
สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. (2561). แนวคิดใหม่เกี่ยวกับพัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองโบราณอู่ทอง. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11(2) : 2885-2899.
อภินันท์ สงเคราะห์. 2544. สถาบันกษัตริย์เขมรโบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13. สารนิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). Fou - Nan, Le = อาณาจักรฟูนัน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://bit.ly/๓waAg๙O. สืบค้น 17 มกราคม 2566.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.