ทวารวดี: การกระจายตัวของชุมชนแรกเริ่มในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผู้แต่ง

  • พระอธิการอำพน จารุโภ (ดาราศาสตร์) นักศึกษาหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระครูปริยัติกิตติวรรณ (ได้ทุกทาง) นักศึกษาหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระเสกสรรค์ ฐานยุตฺโต (ศรีทน) นักศึกษาหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.40

คำสำคัญ:

ทวารวดี, ชุมชนแรกเริ่ม, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บทคัดย่อ

         บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้ 1) เพื่อการนิยามศัพท์: ทวารวดี 2) เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการของทวารวดี 3) เพื่อศึกษาการปกครองในยุคทวารวดี 4) เพื่อศึกษาสภาพสังคมและเศรษฐกิจในยุคทวารวดี โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงเอกสารและภาคสนามแล้วนำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์ผลการศึกษาพบว่า

         คำว่า “ทวารวดี” พบจากจารึกในเหรียญเงินที่ระบุข้อความว่า“ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ”แปลว่าบุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึงเมืองท่า เป็นปากประตูทางการค้าขายอาจเทียบได้กับคำว่า “ทวารกา” เป็นชื่อเมืองของพระกฤษณะในเรื่องมหาภารตยุทธกับคำว่า “โถโลโปตี้” ในสมุดบันทึกของพระภิกษุเหี้ยนจังหรือคำอื่น ๆ ที่เสียงคล้ายคลึงกัน เช่นจวนโลโปติ เชอโฮโปติ และโถวเหอ เป็นต้น

         ทวารวดีเป็นชุมชนโบราณแรกเริ่มในดินแดนของประเทศไทย ช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16                    ซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม ศิลปะ สถาปัตยกรรม ของอินเดียเข้ามา เกิดมีความเจริญรุ่งเรืองมากสันนิษฐานว่า เมืองที่น่าจะเป็นศูนย์กลางของทวารวดี คือ เมืองโบราณนครปฐม เมืองโบราณอู่ทองและเมืองโบราณศรีเทพ

         การปกครองในยุคทวารวดี แม้ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่ก็สามารถสันนิษฐานได้ว่าอาณาจักรทวารวดีน่าจะมีรูปแบบการปกครองด้วยกษัตริย์ ซึ่งมีร่องรอยในจารึกบนฐานพระพุทธรูป                    จากวัดจันทึก ระบุด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 ระบุถึงพระเทวี                   เจ้าแห่งทวารวดี และแผ่นทองแดงจารึกอักษรขอมโบราณ ที่เมืองอู่ทอง ระบุถึง พระเจ้าหรรษวรมัน                    กับพระเจ้าอีศานวรมัน ว่าคือ พระราชาแห่งทวารวดี

         สภาพสังคมและเศรษฐกิจในยุคทวารวดี แต่เดิมคนส่วนใหญ่จะนับถือวิญญาณ พราหมณ์ฮินดูต่อมาภายหลังมีการนับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทและมหายานเพิ่มขึ้น และมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการค้าขาย เช่น ปลูกข้าว ค้าขายลูกปัดแก้ว เป็นต้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมศิลปากร. (2529). จารึกในประเทศไทย เลม 1 อักษรปลลวะ หลังปลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12-14. กรุงเทพฯ : หอสมุดแหงชาติ กรมศิลปากร.

ดี จี อี ฮอลล์. (2549). ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : สุวรรณภูมิ-อษาคเนย์ภาคพิสดาร. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ดุจฤดี คงสุวรรณ์. (2543). พัฒนาการสังคมไทย. บ้านจอมยุทธ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.baanjomyut. com/library_2/ development_of_society/02.html. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2566.

ทวีศักดิ์ ทองทิพย์. (2559). ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม : ประวัติศาสตร์ เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและหลักพุทธธรรมในประเทศไทย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธิติพงศ์ มีทอง. (2562). อารยธรรมทวารวดีในประวัติศาสตร์เมืองโบราณคูบัว. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 9(2) : 3-18.

บังอร ปิยะพันธ์. (2537). ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.

บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ และเรไร นัยวัฒน์. (2550). ทุ่งตึกเมืองท่าการค้าโบราณ. ภูเก็ต : สำนักศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต.

ผาสุก อินทราวุธ. (2548). สุวรรณภูมิจากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระครูโสภณวีรานุวัตร, พระครูวิบูลเจติยานุรักษ์ และเอกมงคล เพ็ชรวงษ์. (2562). ประวัติศาสตร์และคุณค่าทางอารยธรรมสมัยทวารดี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากรสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะศาสตร์. 12(4) : 606-623.

พิริยะ ไกรฤกษ์. (2523). ศิลปทักษิณกอนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

พิริยะ ไกรฤกษ์. (2533). ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ จำกัด.

มานพ นักการเรียน และบานชื่น นักการเรียน. (2564). ทวารวดี: มิติทางความเชื่อและศาสนา. สิรินธรปริทรรศน์. 22(1) : 254-263.

ยอซ เซเดส์. (2472). ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2 จารึกกรุงทวารวดี เมืองละโว้ และเมืองประเทศราชขึ้นแก่กรุงศรีวิชัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.

ยอซ เซเดส์. (2504). ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 จารึก ทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้. พิมพ์ครั้งที่ 2 (แก้ไขใหม่). กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (2558). ทวารวดีในอีสาน. กรุงเทพฯ : มติชน.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2562). ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุงใหม่). นนทบุรี : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.

สมเกียรติ โลห์เพชรัตน์. (2556). ศิลปะลพบุรีและศิลปะทวารวดีในประเทศไทย วิเคราะห์เปรียบเทียบศิลปะเขมรในประเทศกัมพูชากับศิลปะลพบุรีในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

สมศักดิ์ รัตนกุล. (2509). รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถาน เมืองเก่าอู่ทอง. เอกสารรายงาน. สุพรรณบุรี : กรมศิลปากร จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง. (อัดสำเนา).

สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. (2557). การค้าระหว่างประเทศสมัยทวารวดี: มุมมองจากงานโบราณคดีเมืองนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 34(1) : 9-29.

สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. (2559). โบราณคดีเมืองนครปฐม : การศึกษาอดีตของศูนย์กลางแห่งทวารวดี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 1 ราชบุรี. (2541). คูบัว: ความสัมพันธ์กับชุมชนทวารวดีในบริเวณใกล้เคียง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

สุภัทรดิศ ดิศกุล. (2528). ศิลปะในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์.

สุรีรัตน์ ตั้งพรประเสริฐ. (2533). ประติมากรรมรูปเคารพและรูปบุคคล ที่บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี ที่มารูปแบบและแนวทางกำหนดอายุโดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับประติมากรรมจากแหล่งอื่น ๆ. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์. (2503). ชุมชนโบราณคดี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ เขษมบรรณกิจ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-11-2023

How to Cite

จารุโภ (ดาราศาสตร์) พ., (ได้ทุกทาง) พ., ฐานยุตฺโต (ศรีทน) พ., & สะอาดเอี่ยม ธ. (2023). ทวารวดี: การกระจายตัวของชุมชนแรกเริ่มในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(6), 65–84. https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.40