รูปแบบการสื่อสารในการสร้างภาพลักษณ์ของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • เอกกร มีสุข หลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วิทยาธร ท่อแก้ว หลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กานต์ บุญศิริ หลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.39

คำสำคัญ:

รูปแบบการสื่อสาร, ภาพลักษณ์, ผู้นำทางการเมือง, การเมืองท้องถิ่น

บทคัดย่อ

         ภาพลักษณ์ผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ต่อกันโดยตรงกับภาพลักษณ์องค์กรอย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้เปรียบเหมือนเงาสะท้อนของกันและกันที่ส่งผลทำให้ประชาชนเกิดทัศนะคติ ความรู้สึก เกิดภาพจำ และแสดงออกหรือกระทำพฤติกรรมกรรมกับตัวของผู้นำทางการเมืองและองค์กรในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ซึ่งการสื่อสารทางการเมืองนอกจากเป็นเครื่องมือในการบริหารงานแล้วยังเป็นเครื่องมือในการสร้างภาพลักษณ์ทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นโดยอาศัยรูปแบบการสื่อสารภาพลักษณ์เพื่อนำเสนอสู่สายตาประชาชน

         บทความวิชาการนี้มีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการสื่อสารของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ การสร้างภาพลักษณ์ของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นอาศัยการสื่อสารเชิงภาพลักษณ์ การนำเสนอภาพลักษณ์ของผู้นำท้องถิ่น และช่องทางการสื่อสารภาพลักษณ์ของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างข้อสรุปให้เป็นรูปแบบการสื่อสารในการสร้างภาพลักษณ์ของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น ประกอบด้วย                            1) รูปแบบการสื่อสาร 2) รูปแบบการสร้างภาพลักษณ์ 3) รูปแบบการนำเสนอภาพลักษณ์ และ                              4) ช่องทางการสื่อสารภาพลักษณ์ของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นใช้เป็นรูปแบบการสื่อสารในการสร้างภาพลักษณ์ทางการเมืองที่ต้องผนวกกับการบริหารองค์กรและปฏิบัติหน้าที่เพื่อนำไปสู่ความไว้วางใจ ความนิยม เชื่อมั่น ศรัทธาของประชาชนในพื้นที่ และการรักษาเสถียรภาพทางการเมืองของตน

Downloads

Download data is not yet available.

References

เกรียงไกร เจริญผล. (2560). คุณลักษณะผู้นำทางการเมืองสีเขียวภายใต้หลักการกระจายอำนาจ. ในการประชุมสัมมนาทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ครั้งที่ 10. ระหว่างวันที่ 29-31 พฤษภาคม 2560 ณ โรงแรมวารี จอมเทียน บีช พัทยา จังหวัดชลบุรี. หน้า 354-360. สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.

เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ. (2533). การสร้างและการรักษาภาพพจน์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชนินธร ม้าทอง. (2560). แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารทางการเมือง (Political Communication Concept). วารสารคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2(1) : 163-167.

ชัยนันท์ นันทพันธ์. (2534). การสื่อสารสถาบันกับการสร้างภาพพจน์ : กรณีศึกษาการเคหะ แห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ นท.ม. (การสื่อสารมวลชน) กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นันทพร วงษ์เชษฐา. (2562). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ทางการเมือง. ใน ชุดวิชากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ (หน่วยที่ 15). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นันทพร วงษ์เชษฐา. (2564). การสื่อสารทางการเมือง. ปทุมธานี : คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มนัสชนก สุรชัยกุลวัฒนา. (2557). รูปแบบการสื่อสารเพื่อการสร้างภาพลักษณ์ของผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (e-JODIL). 4(1) : 35-46.

ยุทธพร อิสรชัย. (2561). แนวคิดการสื่อสารทางการเมือง. ใน ชุดวิชาการวิเคราะห์การเมือง (หน่วยที่ 8). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2549). การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัลลภ ลำพาย. (2561). แนวคิดและกระบวนการสื่อสารทางการเมือง. ใน การสื่อสารทางการเมือง. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป. (2558). เอกสารประกอบการสัมมนาในโครงการ “การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อร่างรัฐธรรมนูญ’’. สถาบันพระปกเกล้า และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สิงห์ สิงห์ขจร. (2560). การสื่อสารเพื่อสร้างความนิยมของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2559). ทฤษฎีการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ระเบียงทอง.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2545). แนวความคิดในการหาเสียงเลือกตั้ง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ประสิทธิ์ภัณฑ์ แอนด์ พริ้นติ้ง.

สหรัฐ ศักดิ์ศิลปชัย. (2561). การประชาสัมพันธ์ของกองสารนิเทศในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด: การวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ : บริษัทธีรฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด.

อริสา เหล่าวิชยา. (2556). ภาพลักษณ์นักการเมือง. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 33(2) : 58.

เอกกร มีสุข. (2562). รูปแบบการสื่อสารผลดำเนินงานตามนโยบายพัฒนาท้องถิ่นด้วยเฟซบุ๊กของเทศบาลตำบลเขานิพันธ์ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ข่าวเด็ด. (2020). นิเทศฯ มสธ.รุกรูปแบบการสื่อสารพัฒนาท้องถิ่น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.77kaoded.com/news/korphai/1573082. สืบค้น 27 เมษายน 2565.

Berlo, D. 1960. The Process of Communication. New York : Holl, Reneheart and Winston. Inc.

McNair, B. (2018). An Introduction to Political Communication. 6nd edition. London and New York : Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-11-2023

How to Cite

มีสุข เ., ท่อแก้ว ว., & บุญศิริ ก. (2023). รูปแบบการสื่อสารในการสร้างภาพลักษณ์ของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(6), 45–64. https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.39