ความรู้ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในวิถีชีวิตใหม่ของบุคลากร สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • ชลวิทย์ จิตมาน สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.30

คำสำคัญ:

การรู้จักใช้เทคโนโลยี, เทคโนโลยีดิจิทัล, ชีวิตวิถีใหม่, ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความรู้ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในวิถีชีวิตใหม่ของบุคลากรสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในวิถีชีวิตใหม่ของบุคลากรสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาความรู้ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในวิถีชีวิตใหม่ของบุคลากรสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 103 คน จากการเทียบตารางของเครจซี่และมอร์แกน โดยในการวิจัยใช้แบบสอบถาม (questionnaires) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลในตอนที่ 1 ผู้วิจัยใช้วิธีแจกแจงความถี่ และคำนวณหาค่าร้อยละ (percentage) การวิเคราะห์ข้อมูลในตอนที่ 2 และตอนที่ 3 วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลหาค่าคะแนนเฉลี่ยจากระดับการยอมรับ

ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรของสำนักหอสมุดกลาง ที่ตอบแบบสอบถามจะมีอายุระหว่าง 30-39 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 37.86 รองลงมาคือ อายุ 40-49 ปี คิดเป็นร้อยละ 29.13 และอายุ 50-60 ปี คิดเป็นร้อยละ 17.48 โดยมีบุคลากรจากฝ่ายบริการสารสนเทศตอบแบบสอบถามมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 26.21 รองลงมาคือ บุคลากรจากสำนักงานเลขานุการ คิดเป็นร้อยละ 24.27 และบุคลากรจากฝ่ายห้องสมุดวิทยาเขตบางนาคิดเป็นร้อยละ 17.48 และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรมากที่สุดคือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คิดเป็นร้อยละ 37.85 รองลงมาคือ สมาร์ทโฟน คิดเป็นร้อยละ 34.26 และใช้โน๊ตบุ๊ค คิดเป็นร้อยละ 17.93 โดยมีความถี่ในการเข้าใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลสูงสุดเฉลี่ย 7-9 ชั่วโมง/วัน คิดเป็นร้อยละ 33.01 รองลงมาคือ 4-6 ชั่วโมง/วัน คิดเป็นร้อยละ 31.07 และ 10-12 ชั่วโมง/วัน คิดเป็นร้อยละ 17.47

         ซึ่งพบว่า บุคลากรมีความรู้ทักษะความเข้าใจและการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล อยู่ในระดับ มาก ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ระดับ 4.09 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า บุคลากรสามารถเลือกใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Twitter, Instagram, YouTube, Tiktok ได้ถูกต้องและเหมาะสมในการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ 4.34 รองลงมาคือ บุคลากรมีความสามารถในการเข้าถึงแหล่งการใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสมที่ค่าเฉลี่ย 4.33 และบุคลากรสามารถสร้าง ย้าย คัดลอก กำหนดค่าของแฟ้มข้อมูล จัดระเบียบไฟล์/แฟ้มข้อมูล บน USB/Flash Drive หรือพื้นที่ออนไลน์ต่าง ๆ และสามารถใช้แฟ้มข้อมูลได้อย่างถูกต้องที่ค่าเฉลี่ย 4.32 จากการเปรียบเทียบความรู้ทักษะด้านเทคโนโลยีของบุคลากร พบว่า บุคลากรสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มีเพศต่างกัน
มีความรู้ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลไม่แตกต่างกัน และ บุคลากรสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่สังกัดหน่วยงานต่างกันมีความรู้ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในวิถีชีวิตใหม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญและบุคลากรสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความรู้ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในวิถีชีวิตใหม่ของบุคลากรสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ไม่แตกต่างกัน ซึ่งจากผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพความรู้ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหงต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ, ณิชนันทน์ ศิริไสยาสน์ และโชติ บดีรัฐ. (2563). “New Normal” วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19 : การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 4(3) : 371-386.

ธัญลักษณ์ จำจด. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (digital Literacy) ของครู กศน.ตำบล สังกัด สำนักงาน กศน.จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรีภัทร เกตุมงคลพงษ์, เกียรติ บุญยโพ, กุลประวีณ์ ศิริภูริพลังกร และไพรัตน์ สาอุดม. (2563). ปัจจัยการยอมรับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากรในบริษัท เอกชน กรุงเทพมหานคร ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 4(3) : 141-156.

พรรัตน์ แสดงหาญ. (2563). การปรับตัวในการทำงานที่บ้านของผู้ปฏิบัติงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในช่วงวิกฤตโควิด-19. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. 9(2) : 14–33.

สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2563). รายงานประจำปี 2563. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดกลาง.

Best, J. W. (1997). Research in education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall.

Krejcie, R. V. & Morgan, E. W. (1970). Educational and psychological measurement. New York : McGraw-Hill.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 2 : 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2023

How to Cite

จิตมาน ช. (2023). ความรู้ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในวิถีชีวิตใหม่ของบุคลากร สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(5), 15–32. https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.30