การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้สื่อประสมร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • ศรัญญา เวินชุม คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ปวีณา ขันธ์ศิลา คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • สุวรรณวัฒน์ เทียนยุทธกุล คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.36

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว, ปัญหาเป็นฐาน, คำสำคัญ (Keywords) : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว, ปัญหาเป็นฐาน, สื่อประสม

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้สื่อประสมร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้สื่อประสมร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้สื่อประสมร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 3 ชนิด ได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน 2. แบบทดสอบสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน โดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบใช้สื่อประสมร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75/75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้สื่อประสมร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้แบบใช้สื่อประสมร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.5 3) ความพึงพอใจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้สื่อประสมร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน อยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

References

กัญจน์วิภา ใบกุหลาบ. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

จุฑาทิพย์ เรืองงาม, แสงเดือน เจริญฉิม, พินดา วราสุนันท์, กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล และวิทยา ซิ้มเจริญ. (2562). การพัฒนาสื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. 3(2) : 30-42.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติและการวิจัย. อมรการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2554). วิจัยการเรียนการสอน. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์.

พวงรัตน์ ทวีรตน์. (2540). การสร้างและพัฒนาและทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรต ประสานมิตร.

วริศรา อ้นเกษ และวิเชียร ธำรงโสตถิสกุล. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(2) : 285-296.

วิชุดา วงศ์เจริญ. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2555). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

Rohendi, D., Septian, S. and Sutarno, H. (2017). The Use of Geometry Learning Media Based on Augmented Reality for Junior High School Students. IOP Conference Series: Materials Science and Engineering, Volume 306, 2nd International Conference on Innovation in Engineering and Vocational Education. 25–26 October 2017, Manado, Indonesia. DOI 10.1088/1757-899X/306/1/012029

W. Alex Edmonds and Tom D. Kennedy Kennedy. (2013). An Applied Guide to Research Designs: Quantitative, Qualitative, and Mixed Methods. Sage Publications

Wen Lin-Ya, Lung Tseng-Chih and Jui Chiang-Po. (2017). The Effect of Blended Learning in Mathematics Course. EURASIA Journal of Mathematics Science and Technology Education. 13(3) :741-770; DOI 10.12973/eurasia.2017.00641a

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-11-2023

How to Cite

เวินชุม ศ., ขันธ์ศิลา ป., & เทียนยุทธกุล ส. (2023). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้สื่อประสมร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(6), 1–18. https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.36