เสื่อก๊กกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ยโสธารา ศิริภาประภากร รองผู้อำนวยการสำนักงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสุรินทร์ แห่งที่ 2 วัดป่าโยธาประสิทธิ์ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • สุริยา คลังฤทธิ์ นักวิชาการอิสระ บ้านศาลาสามัคคี ตำบลชบ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
  • สำเริง อินทยุง นักวิชาการอิสระ บ้านตะโก ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
  • ชัยนะรินทร์ ทับมะเริง คณะเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.34

คำสำคัญ:

ทรัพยากรการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, เสื่อก๊ก, จังหวัดบุรีรัมย์

บทคัดย่อ

         บทความเรื่อง เสื่อก๊กกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาทรัพยากรการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์เสื่อก๊ก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจาก เอกสาร รายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องมีแบบสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย การลงพื้นที่การศึกษา ศึกษาขั้นตอนการทอ ผู้ให้ข้อมูลหลักรวมทั้งสิ้น 10 คน วิธีการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์ เป็นต้น

ผลการศึกษาพบว่า อาณาบริเวณรอบบริบทภูเขาพนมรุ้ง มีอรยธรรมทางประวัติศาสตร์ ตำนาน ความเชื่อพิธีกรรมและศาสนา มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บริบทโดยรวมมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ โบราณสถานปราสาทพนมรุ้ง อโรคยาศาลาหนองบัวราย อโรคยาศาลาโคกเมือง ธรรมศาลา (ที่พักคนเดินทางสมัยโบราณ) ปราสาทเมืองต่ำ เป็นพื้นที่อาศัยของกลุ่มชนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีหัตถกรรมทอมือ เป็นผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนของชุมชนแถบนี้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เสื่อก๊ก ได้แก่ 1) ด้านลวดลาย 2) ด้านความคิดสร้างสรรค์ 3) อิงประวัติศาสตร์ 4) สัญลักษณ์อำนาจและโชคดี ได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของชุมชน และเป็นฐานทางวัฒธรรมที่มีผลต่อการท่องเที่ยวของชุมชนเป็นผลิตภัณฑ์ ที่สามารถสร้างการท่องเที่ยวและเป็นส่วนเสริมการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี สร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เสื่อก๊ก คือ แปรสภาพจากลักษณะเดิมเป็นกระบวนการผลิต เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค สร้างแรงดึงดูดแก่ผู้ที่ต้องการ (1) การบริการ                                           (2) การออกแบบ ช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจต่อสินค้า การสร้างมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ 1) การเล่าเรื่อง 2) กระบวนการผลิต 3) ทักษะการออกแบบ 4)ความหมาย 5) อิงประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น  เป็นความสำคัญ ในการเข้าถึงข้อมูลพื้นฐาน ที่มีต่อการการพัฒนาชุมชนและส่งเสริมช่องทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และประเพณีประจำปี เป็นต้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2536). ผ้าเอเชียมรดกร่วมทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับสำนักส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญเลี้ยง ฉิมมาลี. (2550). คำสอนมุขปาฐะที่สะท้อนจากลายผ้าทอมือของกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรเอเชียติกในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำแม่โขง. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ยโสธารา ศิริภาประภากร, พระสําเริง อินทยุง, สุพัตรา วะยะลุน, สุทัศน ประทุมแกว และสุริยา คลังฤทธิ์. (2562). การสงเสริมดานการทองเที่ยวตามเสนทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา : กรณีการทองเที่ยวเชิงวัฒนธรรมดานศาสนา วัดโยธาประสิทธิ์ ตําบลนอกเมือง อําเภอเมืองสุรินทรจังหวัดสุรินทร. ในการประชุมวิชาการระดับชาติการทองเที่ยวและการโรงแรมร่วมสมัย ครั้งที่ 6 “ทองเที่ยวโรงแรม รวมเสริม รวมสราง รวมสมัย”. 6 มิถุนายน 2562. หน้า 278 -286. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2561). โฎนตาวัฒนธรรมประเพณีของชาวไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์. วารสารหาดใหญ่วิชาการ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ (หาดใหญ่วิชาการ). 16(2) : 237-249.

เริงฤทธิ์ วัฒนศึกษา. (2533). การเปลี่ยนแปลงการผลิตผ้าไหม : ศึกษาเฉพาะกรณีเขตสุขาภิบาลชนบทอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. ปริญญานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ศิริญญา หาญไชยชนะ. (2545). เส้นสายลายไหม. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2545). รูปแบบศิลปะและการจัดการผ้าทอที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งและการพึ่งตนเองของชุมชนท้องถิ่น : ศึกษากรณีผ้าไหมแพรวาสายวัฒนธรรมผู้ไทจังหวัดกาฬสินธิ์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2023

How to Cite

ศิริภาประภากร ย., คลังฤทธิ์ ส., อินทยุง ส., & ทับมะเริง ช. (2023). เสื่อก๊กกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(5), 83–96. https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.34