“ผ้าซิ้นตีนแดง” ทรัพยากรที่ส่งเสริมทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ยโสธารา ศิริภาประภากร รองผู้อำนวยการสำนักงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสุรินทร์ แห่งที่ 2 วัดป่าโยธาประสิทธิ์ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • สุริยา คลังฤทธิ์ นักวิชาการอิสระ บ้านศาลาสามัคคี ตำบลชบ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
  • สำเริง อินทยุง นักวิชาการอิสระ บ้านตะโก ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
  • ชัยนะรินทร์ ทับมะเริง คณะเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.25

คำสำคัญ:

ทรัพยากร, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, ผ้าซิ้นตีนแดง, อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

บทคัดย่อ

         ผ้าซิ้นตีนแดง ทรัพยากรที่ส่งเสริมทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ วัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาทรัพยากรและการส่งเสริมการท่องเที่ยว ผ้าซิ้นตีนแดง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ดำเนินการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร วิจัย และมีแบบสัมภาษณ์และสังเกตการณ์ ลงพื้นที่บริการและกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการค้า และนักท่องเที่ยว จำนวน 9 คน

          การศึกษาพบว่า ในพื้นที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญด้านศาสนสถานโบราณ  ได้แก่ ปราสาทพนมรุ้ง และ ปราสาทเมืองต่ำ ที่มีประวัติศาสตร์ทางการเมือง การปกครอง และศาสนา กับวัฒนธรรมท้องถิ่น มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พื้นที่เหล่านี้ได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้จากกลุ่มนักท่องเที่ยว การบริการที่เป็นอัตลักษณ์และสร้างความโดดเด่นที่มีส่วนส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้แก่ ผ้า-ซิ้น-ตีน-แดง เป็นหัตถกรรมชุมชน ผ้ามีลักษณะปลายขอบสีแดงสด ทำให้ผ้าแต่ละผืนมีความโดดเด่นสวยงาม สร้างความสนใจให้กับนักท่องเที่ยว และเป็นอัตลักษณ์ประจำถิ่นที่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์และการออกแบบในรูปแบบต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ลวดลายของผ้ายังสื่อการให้ความหมาย ทางปรัชญาชีวิต วิถีชีวิต และความเป็นมงคล  แนวทางการสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ผ้า และพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้เกิดความโดดเด่น ได้แก่                                  1) พัฒนาด้านลวดลายบนผืนผ้า ได้แก่ ปราสาทและลวดลายดอกบัว นางอัปสรา 2) พัฒนาด้านการใช้สีบนผืนผ้า 3) อิงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ 4) นำเสนอสัญลักษณ์ที่สื่อถึงอำนาจและโชคดี แนวทางสร้างผลิตภัณฑ์นี้อาจกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของชุมชนและเป็นจุดเด่นที่เสริมการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี  แนวทางการสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ แปรสภาพจากลักษณะเดิมเป็นกระบวนการผลิต เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค สร้างแรงดึงดูดแก่ผู้ที่ต้องการ (1) การบริการให้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ (2) การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจต่อสินค้า การสร้างมูลค่าเพิ่ม (3)  มีเล่าเรื่อง ตำนาน (4) เสนอกระบวนการผลิต (5) ทักษะการออกแบบ (6) การให้ความหมายลวดลาย (7) อิงประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น มีต่อการการพัฒนาชุมชนและสร้างแนวทางการส่งเสริมช่องทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามแหล่งท่องเที่ยวของพื้นที่ เป็นต้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2536). ผ้าเอเชียมรดกร่วมทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับสำนักส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เริงฤทธิ์ วัฒนศึกษา. (2533). การเปลี่ยนแปลงการผลิตผ้าไหม : ศึกษาเฉพาะกรณีเขตสุขาภิบาลชนบทอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. ปริญญานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ยโสธารา ศิริภาประภากร, พระสําเริง อินทยุง, สุพัตรา วะยะลุน, สุทัศน ประทุมแกว และสุริยา คลังฤทธิ์. (2562). การสงเสริมดานการทองเที่ยวตามเสนทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา : กรณีการทองเที่ยวเชิงวัฒนธรรมดานศาสนา วัดโยธาประสิทธิ์ ตําบลนอกเมือง อําเภอเมืองสุรินทรจังหวัดสุรินทร. ในการประชุมวิชาการระดับชาติการทองเที่ยวและการโรงแรมร่วมสมัย ครั้งที่ 6 “ทองเที่ยวโรงแรม รวมเสริม รวมสราง รวมสมัย”. 6 มิถุนายน 2562. หน้า 278 -286. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริญญา หาญไชยชนะ. (2545). เส้นสายลายไหม. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2545). รูปแบบศิลปะและการจัดการผ้าทอที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งและการพึ่งตนเองของชุมชนท้องถิ่น : ศึกษากรณีผ้าไหมแพรวาสายวัฒนธรรมผู้ไทจังหวัดกาฬสินธิ์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุริยา คลังฤทธิ์. (2562). อัตลักษณ์ภูมิปัญญาลวดลายผ้าไหมพื้นเมืองกลุ่มชาติพันธุ์เขมรเมืองสุรินทร์. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ๊. 7(1) : 186-188.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-08-2023

How to Cite

ศิริภาประภากร ย., คลังฤทธิ์ ส., อินทยุง ส., & ทับมะเริง ช. (2023). “ผ้าซิ้นตีนแดง” ทรัพยากรที่ส่งเสริมทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(4), 53–66. https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.25