ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม GeoGebra เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
DOI:
https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.22คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, GeoGebra, พื้นที่ผิวและปริมาตรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม GeoGebra ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม GeoGebra 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม GeoGebra กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม GeoGebra แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ และการทดสอบค่า t ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม GeoGebra เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ 81.69 / 82.71 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม GeoGebra หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้ใช้โปรแกรม GeoGebra เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร อยู่ระดับมาก โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.45 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.07
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. (2557). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว).
ธราทิตย์ เกตุหอม และไพรัชช์ จันทร์งาม. (2565). ผลการใช้ โปรแกรม Geogebra ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบเปิดที่มีต่อทักษะเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. Journal of Education Buriram Rajabhat University. 2(2) : 45-58.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพรัชช์ จันทร์งาม และอนล สวนประดิษฐ์. (2564). การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) โดยใช้โปรแกรม GeoGebra เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการวิเคราะห์เชิงตัวเลขสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. Journal of Education Buriram Rajabhat University. 1(1) : 55-66.
วราภา วงษานนท์ และนฤมล ศักดิ์ปกรณ์การต์. (2557). การใช้โปรแกรม Geogebra ประกอบการเรียนรู้ในการแก้โจทย์ปัญหาเรื่องรูปเรขาคณิตสามมิติและปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพยา. สักทอง :วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.). 20(2) : 75-84.
วิไลวรรณ สีแดด. (2559). การศึกษาความเข้าใจเรื่อง เวกเตอร์ในสามมิติ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปี ที่ 5 ผ่าน GeoGebra Applet. ภาควิชาคณิตศาสตร์ สถิติ และคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สรรเสริญ อินทร์ศิริ, สุมา แท่นนิล, อิสราภรณ์ ทองสมนึก, และปิยวัฒน์ เนียมมาลัย. (2565). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบเปิด (Open Approach) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ด้วยโปรแกรม GeoGebra ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเขาย้อยวิทยา. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา. 6(2) : 14-24.
สุนทรีย์ วงศานาม.(2560). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นตรงโดยใช้ The Geometer’s Sketchpad เป็นเครื่องมือประกอบการเรียนรู้ .วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ไอริณ ถาวรนันท์, รักพร ดอกจันทร์ และอภิสิทธิ์ ภคพงศ์พันธุ์. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น โดยใช้โปรแกรม GeoGebra เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประจวบวิทยาลัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22(2) : 317-330.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.