“พิธีแกลมอ” : สายสัมพันธ์ทางสังคมและจิตวิญญาณของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยกูย

ผู้แต่ง

  • ยโสธารา ศิริภาประภากร รองผู้อำนวยการสำนักงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสุรินทร์ แห่งที่ 2 วัดป่าโยธาประสิทธิ์ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • สุริยา คลังฤทธิ์ นักวิชาการอิสระ บ้านศาลาสามัคคี ตำบลชบ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.21

คำสำคัญ:

พิธีกรรมแกลมอ, สายสัมพันธ์, สังคม, จิตวิญญาณ, กลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยกูย

บทคัดย่อ

         “พิธีแกลมอ” : สายสัมพันธ์ทางสังคมและจิตวิญญาณของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยกูย                                  ได้แสดงปรากฏให้เห็นในรูปแบบ ด้านสายสัมพันธ์ด้านสังคม และสายสัมพันธ์ด้านจิตวิญญาณของชนกลุ่มนี้ที่ปรากฏในพิธีกรรม เป็นภาวะรูปแบบโครงสร้างทางสังคมของชาวไทยกูยที่มีต่อดวงวิญญาณบรรพบุรุษ ได้อาศัยรูปแบบพิธีกรรมเป็นจุดประสานและเชื่อต่อสื่อสาร ที่รวมเป็นสังคมและยังกลายเป็นการมีส่วนร่วมทางด้านจิตวิญญาณ ดังนั้น พิธีสื่อสารถึงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ เป็นส่วนหนึ่งในการเชื่อมระบบสัมพันธ์ทางสังคมและจิตวิญญาณของกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวไทยกูยเข้าไว้ด้วยกันอย่างเข้มแข็ง จุดนี้ถือเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ความเกิดการเกื้อกูลและแบ่งปันความรัก จนกลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ในสังคมปัจจุบัน สายสัมพันธ์เป็นสิ่งที่กำลังบ่งบอกถึงพื้นฐานความมั่นคง ความรักและร่วมกันรักษาโดยเห็นคุณค่าประโยชน์ของพิธีกรรม การเข้าศึกษาถึงระบบโครงสร้างภายในที่ซ่อนอยู่เพื่อถอดออกมาให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาต่อไปได้ “พิธีแกลมอ” เป็นพิธีกรรมที่สำคัญของชาวไทยกูย เป็นพิธีบูชาผีบรรพบุรุษในตระกูลในสายเลือด และเป็นพิธีกรรมแห่งการรักษา ยังมีการทำนายและพยากรณ์ กลุ่มชนนี้ยังให้ความสำคัญมากในพิธีกรรมนี้ ดังนั้น สายสัมพันธ์ทางสังคมและจิตวิญญาณ เป็นการบอกถึงระบบโครงสร้าง ระหว่าง มนุษย์ พิธีกรรม ดวงวิญญาณ และการเกื้อกูล เป็นต้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

กฤษนันท์ แสงมาศ และยโสธารา ศิริภาประภากร. (2562). พิธีแซนอาหยะจูยประจำปีของปราสาทบ้านโพธิ์ศรีธาตุ ตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์. 4(1) : 110 - 124.

บูรณ์เชน สุขคุ้ม. (2562). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของกลุ่มชาติพันธุ์กูยในเขตอีสานตอนล่าง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 7(6) : 1570 - 1583.

พระธรรมโมลี, ยโสธารา ศิริภาประภากร, กฤษนันท์ แสงมาศ และสำเริง อินทยุง. (2561). อัตลักษณ์การแต่งกายเข้าสู่พิธีกรรม “แกลมอ” ของชาวไทยกูย. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์. 3(2) : 123 - 131.

พระอำนวย มงฺคลิโก, พระอนุชา อภิชาโน, ธีรชัย สมใจ, ยโสธารา ศิริภาประภากร, เกริกวุฒิ กันเที่ยง และสุริยา คลังฤทธิ์. (2565). การศึกษาพิธีกรรมความเชื่อหมอช้างของกลุ่มชาวไทยกูย จังหวัดสุรินทร์. วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล. 11(2) : 58 - 69. DOI : https://doi.org/10.14456/acj.2022.12.

ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2559). การสืบเชื้อสายทางวัฒนธรรมด้วยพิธีกรรม : พิธีกรรมแกลมอของชาวไทยกูย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “ราชมงคลสุรินทร์ ครั้งที่ 8”. วันที่ 22 – 23 ธันวาคม 2559. หน้า D 537 – D 542. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์.

Dhammamolee, Siripaprapagon, Y., Pratoomkaew, S.. (2017). Belief in Sacred Power of Thai-Kui People in Surin Province. In the 6th University of Malaya Discourse And Society International Conference: UMOS 2017. December 5 - 6, 2017. page 4. Malaysia : University of Malaya.

Siripaprapagon, Y and Suwannaphong, W.. (2017). Knowledge on Illness Treatment using Galmore Ceremonythrough Health Care System of Thai-Kui Group Thailand. In the 6th University of Malaya Discourse AndSociety International Conference: UMOS 2017. December 5 - 6, 2017. page 60. Malaysia : University of Malaya.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-06-2023

How to Cite

ศิริภาประภากร ย., & คลังฤทธิ์ ส. (2023). “พิธีแกลมอ” : สายสัมพันธ์ทางสังคมและจิตวิญญาณของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยกูย. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(3), 89–100. https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.21