พระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมและประเพณีชุมชน จังหวัดสุรินทร์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.13คำสำคัญ:
พระสงฆ์กับการพัฒนา, ประเพณีท้องถิ่น, วัดผักไหมพุทธวาส จังหวัดสุรินทร์บทคัดย่อ
พระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมและประเพณีชุมชน จังหวัดสุรินทร์ ที่มีต่อการอนุรักษ์ มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านความเชื่อ ได้แก่ พิธีกรรมแกลมอ พิธีเรียกขวัญ พิธีกรรมเซ่นไหว้ปูตา ของชาวไทยกูยกับการนำมาผสมผสานในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริม อนุรักษ์ รักษาสืบสานในงานประเพณีประจำปีของวัดผักไหมพุทธวาส ตำบลผักไหม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ให้ความสำคัญด้านชุมชนและสังคมปัจจุบันมีความตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ รักษา ดูแล และให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ที่ยังเหลืออยู่และประเพณีที่สำคัญอื่น ๆ และยังเป็นการส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านทางศาสนา การอนุรักษ์ รักษา สืบสาน ประเพณีท้องถิ่นจึงได้รับความสนใจเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวและมรดกทางวัฒนธรรมในชุมชนพื้นที่ มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ตำนาน เรื่องเล่า ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ความสำคัญ และได้มีการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมสืบเนื่องมาเป็นเวลาหลายยุคสมัย การส่งเสริมด้านการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นด้านศาสนา ชุมชนชาวกูย คุณค่าพบว่าทำให้เกิดเอกลักษณ์ประจำถิ่นอาจเป็นสิ่งมีความรู้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศาสนา สิ่งที่ได้ทำให้เกิดรายได้แก่ชุมชน เป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนเป็นอย่างสร้างสรรค์ ด้านประเพณี วัฒนธรรมประวัติความเป็นมาให้หลากหลายมิติ คุณค่าผู้เข้ามาร่วมในงานบุญประเพณีได้รับการพัฒนาในด้านจิตใจ ทำให้ได้รับความรู้ เป็นการช่วยควบคุมจิตและพฤติกรรมได้ในระดับหนึ่ง ทำให้เกิดในด้านสุนทรียศาสตร์ด้วยทางหนึ่งในการท่องเที่ยวและจิตใจที่เอิบอิ่ม บทบาทของวัดพบว่ามีความสำคัญทำให้เกิดพลังในด้านต่าง ๆ ทำให้ผู้คนได้ปฏิบัติตาม คล้อยตาม เห็นตาม มีความเชื่อในความคุณงามความดี โดยเฉพาะด้านการดำเนินชีวิต ทำให้บุคคลเว้นข้อห้าม ปฏิบัติตามระเบียบ กฎ กติกา ของสังคม ชุมชน และแนวทางในการดำเนินชีวิต
Downloads
References
กฤษนันท์ แสงมาศ และยโสธารา ศิริภาประภากร. (2560). งานแซนอาหยะจูยประจำปีที่มีต่อปราสาทบ้านโพธิ์ศรีธาตุตำบลเกาะแก้วอำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 การวิจัยทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาความหลากหลายทางวัฒนธรรมในอีสานใต้. 20 มีนาคม 2560. หน้า 249-260. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์.
กิติยา พฤกษากิจ และบุญสม เกษประดิษฐ์. (2561). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา ตำบลจันทเขลม อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 10(1) : 246-257.
จิตร ภูมิศักดิ์. (2556). ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ชนนิยม.
ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2559). อิทธิพลทางความเชื่อกับรูปแบบวิถีการดำเนินชีวิตพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ต่ออายุของชาวไทยเขมรสุรินทร์. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ราชมงคลสุรินทร์วิชาการ ครั้งที่ 8 “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย 4.0”. 22-23 ธันวาคม 2559. หน้า D-109-116. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์.
ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2561). คติคำสอนเครื่องประกอบพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ของชาวไทยเขมรสุรินทร์. วารสารมหาจุฬาคชสาร. 9(1) : 73-83.
ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเทพบริบาลแห่งชนเผ่ากับกลุ่มชาวไทยกวย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวนัมฏองแหรกพุทธศาสตรปริทรรรศน์. 4(2) : 7-12.
ยโสธารา ศิริภาประภากร และคณะ. (2560). คุณค่าคำสอนในพิธีกรรมแซนกะโม๊ยของกลุ่มชนชาวไทยกวย-ส่วย บ้านศาลาสามัคคี ตำบลบ้านชบ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ นวัตกรรมเทคโนโลยีวิชาการ “วิจัยจากองค์ความรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”. 25-26 ธันวาคม 2560. หน้า C-297-303. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์.
ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2561). โฎนตาวัฒนธรรมประเพณีของชาวไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์. วารสารหาดใหญ่วิชาการ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ (หาดใหญ่วิชาการ). 16(2) : 237-249.
สำเริง อินทยุง, ยโสธารา ศิริภาประภากร และสุริยา คลังฤทธิ์. (2562). แซนพนมพิธีกรรมบูชาภูเขาของกลุ่มชาวไทยเขมร บ้านตะโก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. ในการประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ “เวทีวิจัยและศิลปวัฒนธรรมศึกษา” ครั้งที่ 2. 23 สิงหาคม 2562. หน้า 374-378. สถาบันวิจัยและพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุริยา คลังฤทธิ์, ยโสธารา ศิริภาประภากร และภัสสร มิ่งไธสง. (2561). แซนพนม : ภูมิปัญญาเขมรโบราณมิติความสัมพันธ์ระหว่างคนสิ่งศักดิ์สิทธิ์และสิ่งแวดล้อม กรณีชุมชนรอบเขาพนมรุ้ง. วารสารวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. 41(2) : 177-194.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Yasothara, S. (2017). The Ethic Value in Galmore Ceremony of Thai-Kui Ethnic group : Baan Nongdum, Samrongthap District, Surin Province, Thailand. International Conference on Evolving Trends in Social Sciences and Business Studies. ANI Akademika Nusa Internasional Association of Social Sciences and Humanities (ETSBSAPRIL) Volume 02, Issue 04, April 24-25, 2017. Bali, Indonesia.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 สุริยา คลังฤทธิ์, ยโสธารา ศิริภาประภากร, สำเริง อินทยุง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.