การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ดนัย ลามคำ คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • แสงอุษา ภู่มงคลสุริยา คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ปรีชา หอมประภัทร คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.8

คำสำคัญ:

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, จังหวัดอุดรธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรและระดับปัญหาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และปัญหาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เครื่องมือที่ใช้ศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี รวม 234 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Independent Sample) และ F-test (One Way ANOVA) ผลการศึกษา พบว่า ระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในระดับมากที่สุด ระดับปัญหาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในระดับมากที่สุด ผลเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พบว่า บุคลากรที่มีเพศ ระดับการศึกษา อายุงาน สถานภาพการรับราชการ และสังกัดหน่วยงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ผลเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อระดับปัญหาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พบว่า บุคลากรที่มีเพศ ระดับการศึกษา อายุงาน สถานภาพการรับราชการ และสังกัดหน่วยงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับปัญหาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2560). การปกครองท้องถิ่นว่าด้วยทฤษฎี แนวคิด และหลักการ. กรุงเทพฯ : บริษัท ส. เอเซียเพรส จำกัด.

เชาว์ โรจนแสง. (2544). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ. เอกสารชุดวิชาการจัดการองค์การและทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 11. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฏฐิรา เจริญบุญ. (2549). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2542). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวิริยสาส์น.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2543). การบริหารทรัพยากรมนุษย์แนวทางใหม่. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

ปราโมทย์ อินสว่าง. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://saving.egat.co.th/news/member-news/1049/1049-04.pdf. สืบค้น 11 ตุลาคม 2557.

สมาน รังสิโยกฤษฎ์. (2530). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : สวัสดิการสำนักงาน ก.พ.

สายทิพย์ รัตนสารี. (2553). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลเมืองอุทัยธานี อำเภอเมือง จังหวัด อุทัยธานี. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุทัย อู่อรุณ. (2552). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขต อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Gilley, J. W. and Eggland,S.A. (1990). Principles of Human Resource Development. New York: Addison-Wesley.

Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-04-2023

How to Cite

ลามคำ ด. ., ภู่มงคลสุริยา แ., & หอมประภัทร ป. (2023). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(2), 1–14. https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.8