ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและการสืบสานงานหัตถศิลป์ดินเผาบ้านช่างปี่
DOI:
https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.5คำสำคัญ:
การพัฒนาท้องถิ่น, เครื่องปั้นดินเผาบ้านช่างปี่, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้เขียนเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เพื่อชี้ให้เห็นถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยในด้านการบริการวิชาการ โดยบทความนี้เป็นการนำเสนอผลจากการดำเนินโครงการสืบสานงานหัตถศิลป์ดินเผา บ้านช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สู่ยุคดิจิทัลไทยแลนด์ 4.0 ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 โดยวัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้คือ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาด้านเครื่องปั้นดินเผาของจังหวัดสุรินทร์ ให้คงอยู่และเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน อีกทั้งเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้จากชุมชนสู่สถานศึกษาในพื้นที่ ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยกลุ่มโอทอปนวัตวิถีบ้านช่างปี่ และนักเรียนจากโรงเรียนบ้านช่างปี่ รวม 30 คน ผลจากการดำเนินโครงการพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนสามารถปั้นและขึ้นรูปเครื่องปั้นดินเผาได้ และผลงานเครื่องปั้นดินเผาทั้งหมดจากการการโครงการ ได้นำมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของกิจกรรมและผลงานของผู้เข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้ การจัดโครงการครั้งนี้ได้มีการนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ ทั้งสื่อออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อโทรทัศน์ ถือเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงและบทบาทของมหาวิทยาลัยในอีกทางหนึ่ง
Downloads
References
จักรพงษ์ เจือจันทร์ และคณะ. (2564). สืบสานงานหัตถศิลป์ดินเผาบ้านช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์ : สำนักพิมพ์รุ่งธนเกียรติ.
เด็กรักป่าสตูดิโอ. (2564). ลมหายใจบ้านช่างปี่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://fb.watch/6o27UB-zAl/. สืบค้น 18 มกราคม 2566.
แนวหน้า. (2562). นายช่าง ‘เมืองเจียงแป็ย’รื้อฟื้นภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่7. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.naewna.com/likesara/423211.
สืบค้น 18 มกราคม 2566.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. (2564). แผนยุทธศาสตรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร (พ.ศ. 2563 – 2565) ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. (2566). ประวัติความเป็นมา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://srru.ac.th/about/history. สืบค้น 18 มกราคม 2566.
โรงเรียนบ้านช่างปี่. (2564). 1 พ.ค 64 โรงเรียนบ้านช่างปี่ ออกอากาศรายการโทรทัศน์ รอบทิศ
ถิ่นไทย การส่งเสริมนักเรียนทำกิจกรรมเครื่องปั่นดินเผา สถานีโทรทัศน์ ช่อง NBT.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.facebook.com/watch/ ?v=451826689447109
สืบค้น 18 มกราคม 2566.
สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2562). ชาวบ้านช่างปี่ จ.สุรินทร์ สืบสานภูมิปัญญาบรรพบุรุษ
ทำเครื่องดินเผาคุณภาพดี รูปทรงดั้งเดิมจากที่ค้นพบในอโรคยาศาล พร้อมเชิญชวน
นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อสินค้าและเยี่ยมชมปราสาทโบราณ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG190516151840515 .
สืบค้น 18 มกราคม 2566.
สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2564). นักวิชาการเผยโครงการสืบสานหัตถศิลป์ดินเผาบ้าน
ช่างปี่ในยุคไทยแลนด์ดิจิทัล 4.0 จะช่วยให้เด็กรักและภูมิใจในพื้นถิ่น สามารถสืบสานต่อยอดได้ในอนาคต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG210223110443978. สืบค้น 18 มกราคม 2566.
สำนักงานที่ประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2561). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) (ฉบับปรับปรุง 11 ตุลาคม 2561).
กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 จักรพงษ์ เจือจันทร์, ณภัทชา ปานเจริญ, พุฒิพงษ์ รับจันทร์, พัชราภรณ์ เกลียวแก้ว
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.