การศึกษาปัจจัยที่มีต่อความพึงพอใจการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • อารีรัตน์ วัฒยุ สำนักทะเบียนอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
  • เกษมชัย สายเสมา สำนักทะเบียนอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
  • รสริน ฟอมไธสง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • วิจิตรา โพธิสาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.2

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, การให้บริการ, สำนักทะเบียนอำเภอประโคนชัย, จังหวัดบุรีรัมย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะประชากรศาสตร์และความ          พึงพอใจการให้บริการสำนักทะเบียนอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีต่อความพึงพอใจการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ และภูมิลำเนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มาใช้บริการสำนักทะเบียนอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.925 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิง ได้แก่ สถิติเปรียบเทียบ t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ประชากรศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 21 - 40 ปี อาชีพส่วนใหญ่เป็นอาชีพเกษตรกร ส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ นอกจากนี้ได้ศึกษาระดับความคิดเห็นความพึงพอใจการให้บริการสำนักทะเบียนอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ระดับค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และผลการเปรียบเทียบปัจจัยลักษณะประชากรศาสตร์จำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ และภูมิลำเนา ที่ต่างกันมีผลต่อส่งผลต่อความพึงพอใจการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ไม่แตกต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

คณะกรรมการอํานวยการศูนย์ราชการสะดวก. (2559). คู่มือการรับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

ธพล กลยาณีย์ และจิตติ กิตติเลิศไพศาล. (2557). ทัศนคติของประชาชนต่อการบริการของสํานักทะเบียน ที่ว่าการอําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารการบริหารปกครอง. 3(2) : 162-172.

นุชิดา ทับศรี และศิริพงษ์ ทองจันทร์. (2560). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของสํานักทะเบียน อําเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารช่อพะยอม. 28(1) : 153-163.

บุรฉัตร จันทร์แดง,เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และสัญญา เคณาภูมิ. (2562). กรอบแนวคิดการวิจัยเชิงพฤติกรรมศาสตร์. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 8(1) : 49-60.

สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2556). พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=301551 &ext=pdf. สืบค้น 29 มกราคม2566.

สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2558). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=640806&ext=pdf. ส ื บ ค ้ น 2 9 มกราคม 2566.

สํานักงานจังหวัดบุรีรัมย์. (2565). ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดบุรีรัมย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.buriram.go.th/downloads/buriram-gen.pdf. ส ื บ ค ้ น 2 9 ม ก ร า ค ม 2566.

สิทธิกร สมบูรณ์พร้อมมสามารถ อัยการ และชาติชาย อุดมมงคล.(2564). คุณภาพให้บริการของสํานักทะเบียนอําเภอศรีสงคราม. วารสารบัณฑิตศึกษา. 18(80), 127–134.

สุรภา เอมสกุล และธนัสถา โรจนตระกูล. (2565). คุณภาพการให้บริการของสํานักทะเบียนอําเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(7) : 1-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-02-2023

How to Cite

วัฒยุ อ., สายเสมา เ., ฟอมไธสง ร., & โพธิสาร ว. (2023). การศึกษาปัจจัยที่มีต่อความพึงพอใจการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(1), 15–30. https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.2