ผลลัพธ์การสอนเศรษฐศาสตร์ที่บูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมทักษะดิจิทัลแห่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
เศรษฐศาสตร์, กระบวนการคิดเชิงออกแบบ, ทักษะดิจิทัล, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการสอนเศรษฐศาสตร์ที่บูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมทักษะดิจิทัลแห่งอนาคตของนักเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อศึกษาผลลัพธ์การสอนเศรษศาสตร์ด้วยการประเมินทักษะดิจิทัลแห่งอนาคตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 2) แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการทางสังคมศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสมผสาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยมากกว่า 0.5 สามารถนำไปใช้ได้ 2) ผลการประเมินทักษะอนาคตหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับดี ( =2.66, SD=0.48) และผลการส่งเสริมทักษะอนาคตหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ในภาพรวมอยู่อยู่ในระดับดี ( =2.73, SD=0.42) จึงสรุปได้ว่าแผนการสอนเศรษฐศาสตร์ที่บูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบสามารถส่งเสริมทักษะดิจิทัลแห่งอนาคตของผู้เรียนได้
Downloads
References
ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2564). ปัญญาการสอนสังคมศึกษา. เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์จำกัด.
ประหยัด พิมพา. (2561). การศึกษาไทยในปัจจุบัน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 7(1) : 424-249.
พระครรชิต อิสฺสโร. (2560). หลักการและเทคนิคการการเขียนแผนการสอนวิชาภาษาอังกฤษตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 5(1) : 41-60.
ภานุรุจ บุรีนอก. (2565). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิจารณ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การเรียนรู้ร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรม. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิภาพรรณ พินลา และ วิภาดา พินลา (2561). การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Hasso Plattner Institute of Design at Stanford University. (2009). bootcamp bootleg. California: Stanford d.School.
Qing Yu, Kun Yu & Rongri Lin. (2022). Design thinking and student learning: A meta-analysis. PLOS ONE. 17(5) : 1-12.
Trilling, B. and Fadel, C. (2552). 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times. San Francisco: Jossey-Bass.
Wannapaisan, C. (2020). Social Studies Research: Principles and Applications. Bangkok: Danex Intercorporation Company Limited.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.