ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการประกันชีวิตของกลุ่ม Generation Y ของ Money Diaries

ผู้แต่ง

  • กรกนก รื่นรักษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • ณัฏฐณิชา เรืองรองลักขณา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • นิรุชา ร้อยอำแพง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • ปฐมพร เกาะสกุล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • ทัชชกร สัมมะสุต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.16

คำสำคัญ:

การรับรู้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินและประกันชีวิต, ปัจจัยด้านแรงจูงใจ, ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือ, อินฟูเอนเซอร์, บล็อกเกอร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยด้านจิตวิทยา ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านแรงจูงใจ (Motivation)  2) ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือ (Reliability) ปัจจัยด้านอิทธิพลของ social  media influencer ได้แก่ 1) ด้านแรงบันดาลใจ (Inspiration) 2) ด้านการอ้างอิง (Referent) ที่ส่งผลต่อการรับรู้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการประกันชีวิตของกลุ่ม Generation Y ของ Money Diaries  เป็นวิธีการวิจัยแบบสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) มีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่ม Generation Y เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และทดสอบโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปแบบทางสถิติ SPSS (Statistical Package for Social Sciences foe Windows) โดยผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านเเรงจูงใจ ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือ ปัจจัยด้านแรงบันดาลใจ ปัจจัยด้านการอ้างอิง ซึ่งเป็นตัวแปรตามที่มีค่าอำนาจพยากรณ์ (R^2) =0.569 คิดเป็น 56.9% เมื่อกำหนดค่า P-Value ไม่เกิน 0.05 และพยากรณ์ตัวแปรต้นส่งผลต่อตัวแปรตามโดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย (B) พบว่าตัวแปรที่สามารถใช้หรือมีอิทธิพลต่อการรับรู้ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การประกันของกลุ่ม Generation Y ของ Money Diaries อันดับแรก คือ ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือ (β = 0.531, P = 0.000) อันดับถัดมาคือ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ (β = 0.367, P = 0.000)  ตามลำดับและตัวแปรที่ไม่สามารถพยากรณ์ได้หรือมีอิทธิพลแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติต่อการรับรู้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการประกันชีวิตของกลุ่ม Generation Y ของ Money Diaries คือ ปัจจัยด้านแรงบันดาลใจ (β =-0.031, P = -0.514)  และปัจจัยด้านการอ้างอิง (β =0.088, P = 1.624)

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรุงเทพธุรกิจ (2563). ความสุขก็มีราคา! วิจัยพบ“เจนY”ใช้เงิน”ซื้อความสุข“ราคาแพงกว่าคนวัยอื่น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1100334. สืบค้น 15 มกราคม 2566.

จริยา แก้วหนองสังข์. (2564). อิทธิพลของบุคคลผู้มีชื่อเสียง (Influencer) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำหอม ของผู้บริโภควัยทำงาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2548). การวางแผนและการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชูเกียรติ ประมูลผล. (2538). หลักการประกันชีวิตภาคทฤษฎี. ในชูเกียรติ ประมูลผล (ผู้บรรยายวิชาประกันภัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). หลักการประกันชีวิตภาคทฤษฎี. สำนักงานหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรรณพร บุญทศ, อดิศักดิ์ สิงห์สีโว และสมบัติ อัปมระกา. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบนิเวศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดใช้เทคนิคการสร้างแรงบันดาลใจ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9(4) : 107-125.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). กลยุทธ์การตลาด การบริหารการตลาด และกรณีตัวอย่าง. กรุงเทพฯ : ดวงกมลสมัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2549). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ : บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

ศุภรัตน์ ถนอมแก้ว, เกษราภรณ์ สุตตาพงค์ และยุวดี ลีเบ็น. (2559). กลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจในแต่ละช่วงวัยของพนักงานในองค์การ. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 14(1) : 3-4.

ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน. (2562). การลงทุน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.1213.or.th/th/others/investments/Pages/investments.aspx. สืบค้น 15 มกราคม 2566.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.). (2567). การประกันชีวิต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.oic.or.th/th/consumer. สืบค้น 20 มกราคม 2566.

พิบูล ทีปะปาล. (2545). หลักการตลาดยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.

Breves, P., Liebers, N., Abt, M., & Kunze, A. (2019). The perceived fit between Instagram influencers and the endorsed brand: How influencer-brand fit affects source credibility and persuasive effectiveness. Journal of Advertising Research. 59(4) : 440-454.

Holloway, J. Christopher. (2002). The Business of Tourism. Harlow: Pearson Education Limited.

Kotler, Philip. (2003). Marketing Management. 11"h ed. New Jersey. Prentice-Hall.

Maslow, Abraham. (1970). Motivation and Personality. New York : Harper and Row.

Domjan, M. (1996). The Principles of Learning and Behavior Belmont. California: Thomson Wadsworth.

Lovell, R. B. (1980). Adult Learning. New York : Halsted Press Wiley&Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2024

How to Cite

รื่นรักษา ก., เรืองรองลักขณา ณ., ร้อยอำแพง น., เกาะสกุล ป., & สัมมะสุต ท. . (2024). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการประกันชีวิตของกลุ่ม Generation Y ของ Money Diaries. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 2(3), 17–30. https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.16