อิทธิพลทางตรง ทางอ้อม และผลรวมของความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล 4

ผู้แต่ง

  • พิชศาล พันธุ์วัฒนา คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.30

คำสำคัญ:

ความขัดแย้ง, เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล 4, ประชาชน, อิทธิพล

บทคัดย่อ

โดยทั่วไปการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการให้บริการประชาชนอาจเกิดความขัดแย้งได้จากหลากหลายปัจจัย ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเลือกใช้แนวทางที่เหมาะสมกับปัจจัยนั้นเพื่อลดหรือขจัดความขัดแย้ง การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการหลีกหนี การยอมตาม การบูรณาการ การใช้อำนาจ การประนีประนอม และความขัดแย้ง  (2) อิทธิพลทางตรง ทางอ้อม และผลรวมของการหลีกหนี การยอมตาม การบูรณาการ การใช้อำนาจ การประนีประนอมที่มีต่อความขัดแย้ง โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยแบบเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพตะวันออกที่เคยใช้บริการและมีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล 4 บนสถานีตำรวจจำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วยสถิติพรรณนาได้แก่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และเทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง

         ผลการวิจัยพบว่า (1) ประชาชนส่วนใหญ่พึงพอใจค่อนข้างมากกับแนวทางการใช้วิธีการยอมตาม (𝑥̅ = 3.47 จากคะแนนเต็ม 5 / S.D. = 0.57) และการประนีประนอม (𝑥̅ = 3.56 / S.D. = 0.58) ใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้ง และไม่ค่อยพึงพอใจกับการใช้อำนาจเพื่อลดความขัดแย้ง (𝑥̅ = 2.44 / S.D. = 0.14) (2) แนวทางการใช้อำนาจมีอิทธิพลทางตรงต่อความขัดแย้งมากที่สุด (ß = .877) ส่วนแนวทางการประนีประนอมมีอิทธิพลทั้งทางอ้อม (ß = 1.558) และผลรวม     (ß = 2.426) มากที่สุดต่อความขัดแย้ง ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ให้บริการประชาชนบนสถานีตำรวจจำต้องใช้อำนาจตามบทบาทหน้าที่ หากแต่ไม่ให้เกินขอบเขตระหว่างการให้บริการประชาชน ต้องปฏิบัติตนตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของตำรวจที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด กรณีเกิดข้อขัดแย้งกับประชาชน ตำรวจต้องเลือกใช้วิธีการประนีประนอมเพื่อลดหรือขจัดความขัดแย้งนั้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

ธนัสถา โรจนตระกูล. (2562). การจัดการความขัดแย้งเชิงสร้างสรรค์. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6(2) : 14-27.

ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติเรื่อง การกำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครองของส่วนราชการ (ฉบับที่ 29) พ.ศ.2563. (2563). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 177 ตอนพิเศษ 205 ง. หน้า 151-162.

ศรีเสด็จ กองแกน. (2566). การจัดการความขัดแย้ง. วารสารส่งเสริมและพัฒนาวิชาการสมัยใหม่. 1(2) : 36-49.

สิญาธร นาคพิน และวิลาวัณย์ สมบูรณ์. (2562). การบริหารความขัดแย้งในองค์กรภาครัฐยุคประเทศไทย 4.0. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 6(2) : 21-47.

สีดา สนศรี. (2564). การจัดการความขัดแย้ง: ความเข้าใจพื้นฐานและกรณีศึกษา. วารสารการเมืองและการปกครอง. 11(2) : 245-256.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2566). แผนปฏิบัติราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติราย 5 ปี พ.ศ. 2566 -2570. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ตำรวจ.

สำนักงานปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. (2566). การแบ่งพื้นที่เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://office2.bangkok.go .th/ard/?Page_id=4048. สืบค้น 26 ธันวาคม 2566.

สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ. (2566). สรุปผลการประเมินการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจปีงบประมาณ 2565. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตำรวจ.

อาภาสิริ สุวรรณานนท์ และฉัตรชัย มหาคีตา. (2562). การประเมินประสิทธิผลของสถานีตำรวจและความเชื่อมั่นของประชาชนในการปฏิบัติการตำรวจปี 2560. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย. 11(3) : 159-181

อภิณะฎา ใสไหม พระปราโมทย์ วาทโกวิโท และอดุลย์ ขันทอง. (2566). รูปแบบการพัฒนาผู้ประนีประนอมในคดีอาญาต้นแบบโดยพุทธสันติวิธี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 11(3) : 1160-1172.

เอื้องฟ้า เขากลม เจนจิรา จันทร์อินทร์ และศิริรักษ์ ยกเส้ง. (2566). การจัดการความขัดแย้งของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสักทอง. 29(1) : 137-146.

Harris, J.E. (2022). Application of Path Analysis and Structural Equation Modeling in Nutrition and Dietetics. Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics. 121(11) : 154-168.

Hilaire, J.S. (2023). Managing Policy and Reform in an Era of American Police Conflict Who Will Guard the Guardians?. New York, NY.

Kundi, Y.M., Badar, K., Sarfraz, M., & Ashraf, N. (2023). Interpersonal conflict as a barrier to task performance: the mediating role of workplace deviance and the moderating role of emotional intelligence. International Journal of Conflict Management. 34(1) : 67-80.

Liao, Q., & Pandeli, J. (2023). When workplace humour turns into conflict: exploring HR practices in the case of conflict management, Employee Relations. 45(5) : 1275-1298.

Modise, M.J. (2023). Realizing the goals of law and order, Police authority and increasing police professionalism. International Journal of Innovative Science and Research Technology. 5(3) : 2389-2391.

Nyimbili, F., & Nyimbili, L. (2024). Types of Purposive Sampling Techniques with Their Examples and Application in Qualitative Research Studies. British Journal of Multidisciplinary and Advanced Studies. 5(1) : 90-99.

Owsiak, A., Diehl, P.F., & Goertz, G. (2023). Managing complexity: addressing the civil conflict component of international-civil militarized conflicts (I-CMCs). International Journal of Conflict Management. 35(1) : 192-214.

Özden, M. (2023). Active participation or legal obligation? A qualitative study of the effectiveness of participatory methods designed for local participation. Quality & Quantity. 58 : 559–580.

Roebianto, A., Savitri, L., Sriyanto, A.S., & Syaiful, L.A. (2023). Content validity: Definition and procedure of content validation in psychological research. TPM – Testing. 30(1) : 5-18.

Shahzadi, S., & Sallah, M. (2023). Relationship between conflict types and conflict management strategies during online teaching: A co-relational study. Journal of Development and Social Sciences. 4(3) : 403–411.

U.S. Department of Health and Human Services. (2022). The Belmont Report: Ethical Principles and Guidelines for the Protection of Human Subjects of Research. [Online]. Available : https://www.hhs.gov/ohrp/regulations-and-pol icy/belmont-report/index.html. Retrieved 27 December 2023.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-09-2024

How to Cite

พันธุ์วัฒนา พ. (2024). อิทธิพลทางตรง ทางอ้อม และผลรวมของความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล 4. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 2(5), 15–34. https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.30