การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิค KWDL

ผู้แต่ง

  • กิตติพิชญ์ จันทรวีระกุล คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ปวีณา ขันธ์ศิลา คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ประภาพร หนองหารพิทักษ์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การแก้โจทย์ปัญหา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เทคนิค KWDL

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดแบบฝึกทักษะในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิค KWDL ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดแบบฝึกทักษะพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิค KWDL และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหนองผ้าอ้อม จำนวน 13 คน ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดแบบฝึกทักษะในการแก้โจทย์ปัญหา แบบประเมินคุณภาพแบบฝึกทักษะ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ประสิทธิภาพ (E1 / E2) และ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกทักษะในการแก้โจทย์ปัญหาในการทดลองกับกลุ่มเป้าหมายพบว่า มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 74.44/73.84 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจมีต่อการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.92 ซึ่งมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

References

จิระพันธุ์ ปากวิเศษ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องการคูณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่ : ทฤษฎีแนวปฏิบัติและผลการวิจัย. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

ซัฟฟียะห์ สาและคณะ. (2559). การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค K W D L เรื่องค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดวงสมร ดอนจันไพร. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง กฎเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการนับ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค K W D L. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นวลอนงค์ บุญฤทธิ์พงศ์. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุดทอง.

ปรียาณ์ภัสนากร สุ่มมาตย์. (2562). การจัดเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร.

วิมลรัตน์ ศรีสุข. (2551). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยการบูรณาการรูปแบบการสร้าง มโนทัศน์กับรูปแบบการแปลง เพื่อสร้างความรู้ทางคณิตศาสตร์ และความสามารถทางการคิด แบบอุปนัยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจลักษณ์ ภูสามารถและคณะ. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค K W D L ของนักเรียนชั้นประถมศึกาาปีที่ 5. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสารคาม.

เพิ่มพร บรรดาศักดิ์. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้แบบฝึกทักษะด้วยเทคนิค KWDL และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ไกรวิทย์ ทาระจันทร์. (2563). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้เทคนิค K W D L. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา. 3(2) : 134-142.

Ogle, D.M. K-W-D-L Teaching Model that Develop Active Reading of Expository Text. Reading Teacher. 39 : 564-570 ; February 1986.

Shaw, J. M., et al. (1997). Cooperative Problem Solving: Using K-W-D-L as an Organizational Technique. Teaching Children Mathematics. 3(39). 482 - 486.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2024