การศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • อรุณี ปราบพยัคฆ์ สำนักงานอธิการบดี กองกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • กฤษณา พัฒเพ็ง สำนักงานอธิการบดี กองกลาง งานบริหารทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ทินนิกร เสมอโชค คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.26

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์, บุคลากร

บทคัดย่อ

         การวิจัยเชิงปริมาณนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ และ2) เปรียบเทียบระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 191 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test และ F-test

         ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับวัความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิโดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ( =3.97,S.D=0.32) โดยพิจารณารายด้านแล้ว พบว่า ด้านขั้นตอนกระบวนการมากที่สุด ( =4.08 ,S.D=0.49 รองลงมา คือ ด้านประสิทธิภาพของระบบ ( =4.05,S.D=0.54)และด้านฟังก์ชันและคุณสมบัติ ( =3.95,S.D=0.46) ตามลำดับ และ2) ผลเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ โดยใช้สถิติ t-test  ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ด้านเพศ และด้านงบประมาณ พบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ขึ้นอยู่กับเพศของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามงบประมาณ พบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ แตกต่างกันขึ้นอยู่กับงบประมาณของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  การเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้สถิติ ANOVA ประกอบด้วย อายุของพนักงาน กลุ่มพนักงาน และประเภทพนักงาน พบว่า ประเภทพนักงานที่ต่างกันมีความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการจำแนกตามระยะเวลาในการปฏิบัติงาน พบว่า ระยะเวลาในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันกับความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนกพิชญ์ ครุฑคง. (2563). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรจากการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ณริศรา กุนนากุล. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

นภดล แข็งการนา. (2562). การพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ สาหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://aritc-qa.nsru.ac.th/aritckm/wp-content/uploads/2020/12/r2r-golf.pdf. สืบค้น 15 ธันวาคม 2566.

บุณยวีร์ วัชรโชคชัยพงษ์. (2553). ความรู้ความเข้าใจและความคิดเห็นต่อระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่เทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง. สารนิพนธ์ รป.ม (วิชาการปกครองท้องถิ่น), วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ราชกิจจานุเบกษา. (2548). ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ. (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 (ฉบับประกาศและงานทั่วไป). เล่ม 112, ตอน พิเศษ 99ง. หน้า 1-31.

ศุภญา ทองเชื้อ. (2557). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในการนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ. (2566). รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. [ออนไลน์]. เข้าถึได้จาก : http://www.ldd.go.th/Web_Govit/e_Government/e-Government.pdf. สืบค้น 12 พฤษภาคม 2566

สารภี สหะวิริยะ. (2562). ปัญหาการใช้งานระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-document) ของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุธาทิพย์ จงจิตต์. (2561). ประสิทธิผลการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Doc) กรณีศึกษา : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-08-2024

How to Cite

ปราบพยัคฆ์ อ., พัฒเพ็ง ก., & เสมอโชค ท. (2024). การศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 2(4), 71–90. https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.26