การศึกษาภาวะผู้ตามของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ทิพวรรณ ถิ่นอุดม สำนักงานอธิการบดี กองกลาง งานบริหารทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • กฤษณา พัฒเพ็ง สำนักงานอธิการบดี กองกลาง งานบริหารทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ทินนิกร เสมอโชค คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.20

คำสำคัญ:

ภาวะผู้ตาม, บุคลากร, สายสนับสนุนวิชาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 2) ศึกษาแบบภาวะผู้ตามของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ และ 3) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับแบบภาวะผู้ตามของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยได้แก่บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ จำนวน 118 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย  ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ พบว่า เพศหญิงร้อยละ 61.02 ซึ่งมีอายุ  41 – 50 ปีร้อยละ 50.85 เป็นกลุ่มพนักงานประจำมหาวิทยาลัย ร้อยละ 83.05 ประเภททั่วไป ร้อยละ 50 ได้รับการจ้างจากงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ร้อยละ 78.81 และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 6-10 ปี ร้อยละ 42.37 2) ภาวะผู้ตามของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ พบว่า ระดับความคิดเห็นภาวะผู้ตามของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ( = 3.87 : S.D.= 0.64)   3) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับแบบภาวะผู้ตามของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ พบว่า ภาวะผู้ตามของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิขึ้นอยู่กับเพศและงบประมาณการจ้างของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งอายุของบุคลากร กลุ่มพนักงาน และประเภทพนักงานที่ต่างกันไม่แตกต่างกันกับภาวะผู้ตามของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

References

กุลตรียา ไชยพร และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2564). ภาวะผู้นำ ภาวะผู้ตาม และอิทธิพลกำกับของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 8(1) : 50-64.

ธัญพร จี๋มะลิ และวิจิตรา ศรีสอน. (2567). ภาวะผู้ตามกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ. 7(2) : 216-223.

นวนจันทร์ หัสดง. (2563). ภาวะผู้ตามกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน:กรณีศึกษา บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. รายงานการวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปรเมศวร์ ยศปัญญา, ปิยะกุล จันทะคุณ, มานพ ณัฐาศิริพร รุ่งนิรัญ กระฉ่อน และจุฑาธิป ประดิพัทธ์นฤมล. (2565). ภาวะผู้ตามกับการทำงานในองค์การ. วารสารการบริหารงานนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8(9) : 284-295.

พิชญ์สินี มะโน. (2562). ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงใน ยุค digital disruption ต่อการศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 18(1) : 1-6.

วีรเชษฐ์ มั่งแว่น. (2562). ภาวะผู้ตามที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อิมรอน ลีและ. (2562). แบบภาวะผู้ตามของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Kelley, R. (1992). The Power of Followership: How to create leaders people want to follow and followers who lead themselves. New York : Doubleday.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024

How to Cite

ถิ่นอุดม ท., พัฒเพ็ง ก., & เสมอโชค ท. (2024). การศึกษาภาวะผู้ตามของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 2(3), 83–102. https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.20