การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอน SSCS ร่วมกับบาร์โมเดลกับการเรียนแบบปกติ

ผู้แต่ง

  • มลธิกานตร์ แข็งแรง คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ประภาพร หนองหารพิทักษ์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ปวีณา ขันธ์ศิลา คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.17

คำสำคัญ:

การแก้โจทย์ปัญหารูปแบบการสอน SSCS, บาร์โมเดล, แบบปกติ

บทคัดย่อ

จากสภาพการเรียนการสอนในชั้นเรียนพบว่านักเรียนไม่สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาได้ ไม่มีความรู้ ความเข้าใจว่าควรเริ่มต้นกระบวนการแก้ปัญหาอย่างไร การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ            1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอน SSCS ร่วมกับบาร์โมเดล 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน โดยการเรียนแบบปกติ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอน SSCS ร่วมกับบาร์โมเดลกับการเรียนแบบปกติ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอน SSCS ร่วมกับบาร์โมเดล กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสี่แยกสมเด็จ จำนวน 70 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง จำนวนกลุ่มละ 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอน SSCS ร่วมกับบาร์โมเดลและแผนการจัดการเรียนแบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน (t-test)

         ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอน SSCS ร่วมกับบาร์โมเดล 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนหลังได้รับการเรียนแบบปกติ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอน SSCS ร่วมกับบาร์โมเดลสูงกว่าการเรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ 4)  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอน SSCS ร่วมกับบาร์โมเดล อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก(x ̅=4.24, S.D.=0.85)

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรองทอง ไคริรี. (2554). แบบฝึกหัดการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้รูปบาร์โมเดล (Bar Model) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ : ธุรกิจเป็นทีม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่ม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

กัญญาภรณ์ สีนินทิน. (2556). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ในหัวข้อการประยุกต์ใช้ โดยการ จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ทักษิณ เวียงยา. (2553). รายงานการใช้นวัตกรรม ฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.pre1.obec.go.th/pre1/Project/abstrack_taksin.pdf. สืบค้น 20 ธันวาคม 2566.

ธันยพัฒน์ พันธ์พำนัก และนงลักษณ์ วิริยะพงษ์. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลอง SSCS เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในรายวิชา ความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Humanities, Social Sciences and Art. 12(4) : 338-354.

ประสิทธิ์ พลศรีพิมพ์. (2542). คณิตศาสตร์สำหรับครูประถม. มหาสารคาม : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ปิยะธิดา พัฒนาสำราญ และชานนท์ จันทรา. (2564). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดย ใช้รูปแบบ sscs ร่วมกับการใช้ตัวแทนที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 36(1) : 96-107.

ศิริลักษณ์ ใชสงคราม. (2562). การพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT ร่วมกับบาร์โมเดล (Bar Model). วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศุภลักษณ์ ภูสุวรรณ์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องสมการเชิงเส้นกับการแก้ปัญหาตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดสุทธารามโดยใช้เทคนิคบาร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรัชน์ อินทสังข์. (2558). การสอนแก้ปัญหาโดยใช้ Bar Modal. สภาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).

อภิณห์พร มานิ่ม. (2557). การใช้รูปแบบ SSCS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหา ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 . วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Shepardson Pizzini & S Abell. (1989). A Rationale for and the Development of a Problem Solving Model of Instruction in Science Education. Science Education. 73(5) : 523-534.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2024

How to Cite

แข็งแรง ม., หนองหารพิทักษ์ ป. ., & ขันธ์ศิลา ป. . (2024). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอน SSCS ร่วมกับบาร์โมเดลกับการเรียนแบบปกติ. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 2(3), 31–46. https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.17