การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาเศษส่วนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเน้นยุทธวิธีวาดภาพร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา

ผู้แต่ง

  • จิรายุส เรืองศักดิ์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ปนัดดา สังข์ศรีแก้ว คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.22

คำสำคัญ:

ความสามารถในการแก้ปัญหา, ยุทธวิธีในการแก้ปัญหา, กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเน้นยุทธวิธีการวาดภาพร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยากับเกณฑ์ ร้อยละ 80 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาเศษส่วนก่อนและหลัง ใช้โดยเน้นยุทธวิธีวาดภาพร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1                                          ผลการวิจัย พบว่า 1. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเน้นยุทธวิธีการวาดภาพร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่ตั้งไว้โดยขั้นตอนที่สูงที่สุดคือ ขั้นที่ 1 ขั้นทำความเข้าใจปัญหา มีค่าเฉลี่ย 95.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.84 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2. ทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาเศษส่วน โดยเน้นยุทธวิธีการวาดภาพร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา หลังเรียน (   = 35.92, S.D. = 1.51 ) สูงกว่าก่อนเรียน (   = 13.92, S.D. = 1.24 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการสร้างเครื่องมือวิจัย : แนวทางการนำไปใช้อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์.

นางนิจวดี เจริญเกียรติบวร. (2558). เอกสารความรู้คณิตศาสตร์ "ยุทธวิธีช่วยคิดคณิตศาสตร์" เล่ม 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.

ปานพระจันทร์ จันทร์พรหม. (2565). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 8(1) : 327-243.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2531). หลักการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศึกษาพร.

วรรณิกา อ่อนน้อม และดุจเดือน ไชยพิชิต. (2564). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(6) : 200-214.

วรางคณา สำอางค์, พรชัย ทองเจือ และผ่องลักษม์ จิตต์การูญ. (2560). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดโพลยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 11(1) : 52-61.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : 3-คิวมีเดีย.

อริษา คำโหมด และสิทธิพล อาจอินทร์. (2562). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา (Polya). วารสารศึกษาศาสตร ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 13(2) : 95-105.

Anderson, K. B., & Pingry, R. E. (1973). Problem–solving in mathematics: Its theory and practice. Washington, DC : The National Council of Teachers of Mathematics.

Polya, G. (1967). How to Solve It. New Jersey : Princeton University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-08-2024

How to Cite

เรืองศักดิ์ จ., & สังข์ศรีแก้ว ป. (2024). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาเศษส่วนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเน้นยุทธวิธีวาดภาพร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 2(4), 1–16. https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.22