การศึกษาบทบาทและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสังคมของพระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)

ผู้แต่ง

  • ยโสธารา ศิริภาประภากร รองผู้อำนวยการสำนักงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสุรินทร์ แห่งที่ 2 วัดป่าโยธาประสิทธิ์ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • สุริยา คลังฤทธิ์ นักวิชาการอิสระ บ้านศาลาสามัคคี ตำบลชบ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
  • เกริกวุฒิ กันเที่ยง วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • น้ำฝน จันทร์นวล วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.28

คำสำคัญ:

บทบาทการเผยแผ่, วิธีการเผยแผ่, พระพุทธศาสนา, การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม, พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)

บทคัดย่อ

         การศึกษาเรื่องการศึกษาบทบาทและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสังคมของพระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาบทบาทและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) (2) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)  เป็นการศึกษาเชิงเอกสารที่มีข้อมูลเกี่ยวข้อง ผลพบว่า

  1. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) เป็นศิษย์สำคัญรูปหนึ่งของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบูรพาจารย์วงการพระธุดงค์กรรมฐานรูปแรกของภาคอีสาน  ท่านสั่งสอนอบรมศิษย์ถึงการประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามข้อวัตรที่สำคัญของพระสงฆ์สายวัดป่า  ท่านจะเน้นการสอนในเรื่องการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน คือ หลักสติปัฎฐาน 4 คือ การพิจารณากาย การพิจารณาเวทนา  การพิจารณาจิต  และการพิจารณาธรรม  ยังเน้นสอนหลักการทำสติตามรู้ความคิดให้สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน คือ  ให้สามารถทำสติตามรู้การ ยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม  ทำ พูด คิด  เป็นการฝึกสติสมาธิได้ทุกอิริยาบถ หลักคำสอนใช้ศีล 5 เป็นหลักคำธรรมสำคัญเป็นหลักประกันความปลอดภัยของสังคม  เป็นเครื่องควบคุมการประพฤติปฏิบัติทาง กาย ทางวาจา ทางใจ ให้ดีงาม สังคมสามารถที่จะมีความสุข เย็นและมีความสงบเย็นเมื่อมีศีล 5 บริบูรณ์ นอกจากนั้นท่านยังมีปฏิภาณในการตอบปัญหาธรรมะแก่พุทธบริษัท  ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และบุคคลทั่วไป พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) ท่านมีรูปแบบการเผยแผ่หลายวิธี  เช่น การบรรยาย ธรรม  การสนทนา  การถามและตอบปัญหาธรรมะ  การอบรมจิตภาวนาแก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา  เน้นการปฏิบัติหน้าที่ของชาวพุทธ มีทั้งในรูปแบบของหนังสือ เทปและแผ่นซีดี 
  2. วิธีการประยุกต์หลักพุทธธรรมมาใช้ในการสอนของพระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) ก่อนท่านจะสอนการปฏิบัติพระกรรมฐาน ผู้เข้าปฏิบัติจะต้องเข้าถึงพระรัตนตรัย ทำกายและใจให้สงบระงับมีความบริสุทธิ์โดยหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ภาวนา เป็นที่ตั้ง ต่อจากนั้นจึงสอนวิธีการปฏิบัติเน้นการฝึกสติเป็นสำคัญ กำหนดรู้จิตของเราอยู่ตลอดเวลา  กำหนดรู้จิต  เรียกว่าปฏิบัติสมาธิในท่านั่งแต่เวลาเรายืนกำหนดจิตของเรา  เรียกว่า  ปฏิบัติสมาธิในท่ายืน  เมื่อเรามีสติกำหนดรู้จิตของเราเรียกว่าปฏิบัติสมาธิในท่านอน  เรียกว่า ปฏิบัติสมาธิในท่านอน  เวลาเดินจงกรมเรามีสติกำหนดรู้จิตของเราเรียกว่าปฏิบิติสมาธิในท่าเดิน  ยืน เดิน นั่ง นอน นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

คัมภีร์พระไตรปิฏก, วิ.ม. (ฉบับบาลี) 4/32/27 วิ.ม. (ไทย) 4/32/40.; องฺ. ปญฺจก. (ไทย) 22/125/205.; ที.ม. (ไทย) 10/216/ 164.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. (2535). ศีล สมาธิในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2520). พุทธศาสนาในเอเชีย. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.

พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย). (2544). ฐานิยปูชา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย). (2544). ธรรมปฏิบัติและตอบปัญหาการปฏิบัติธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หอรัตนชัย.

พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย). (2544). ฐานิยปูชา 2538. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2540). หลักการสอน. กรุงเทพฯ : โอ เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-08-2024

How to Cite

ศิริภาประภากร ย., คลังฤทธิ์ ส., กันเที่ยง เ., & จันทร์นวล น. (2024). การศึกษาบทบาทและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสังคมของพระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย). วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 2(4), 105–124. https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.28