การศึกษาพระสงฆ์กับกระบวนการสร้างอัตลักษณ์พลังศรัทธากับการพัฒนาชุมชน กรณีหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ยโสธารา ศิริภาประภากร นักวิชาการอิสระ/รองผู้อำนวยการสำนักงานสำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าโยธาประสิทธิ์ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • สุริยา คลังฤทธ์ นักวิชาการอิสระ บ้านศษลาสามัคคี ตำบลบ้านชบ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
  • พระครูสังฆรักษ์คุณ สุภาจาโร นักวิชาการอิสระ
  • เกริกวุฒิ กันเที่ยง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • น้ำฝน จันทร์นวล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.18

คำสำคัญ:

พระสงฆ์, อัตลักษณ์พลังศรัทธา, หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) อัตประวัติของหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญที่มีต่อการพัฒนาชุมชนในเขตตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ (2) กระบวนการสร้างอัตลักษณ์พลังศรัทธากับการพัฒนาชุมชน หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ กลุ่มผู้รู้  กลุ่มผู้ปฏิบัติ กลุ่มทั่วไป จำนวน 25 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ การสำรวจ การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูล ภาคสนาม ผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลที่สร้างขึ้นได้แก่  แบบสำรวจเบื้องต้น แบบสังเกต  แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พรรณาวิเคราะห์

         ผลการวิจัยพบว่า หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ เดิมนามว่า สุวรรณหงษ์ ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเป็นพระสงฆ์ที่มีผู้คนนับถือมากทั้งในและต่างประเทศ มีผู้คนเดินทางเข้ามากราบสักการะในแต่ละวันอย่างมากมายและได้บูชาสัญลักษณ์ของท่านเพื่อนำติดตัวไปด้วยท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีผู้คนให้ความเคารพนับถือมากมายแม้นปัจจุบันท่านได้มรณะภาพไปแล้ว แต่พุทธบริษัทก็ยังรักษาร่างสังขารเอาไว้เพื่อกราบไหว้บูชาภายในวิหารและมีผู้คนเดินทางเข้ากราบสักการะบูชา

          กระบวนการสร้างอัตลักษณ์พลังศรัทธากับการพัฒนาชุมชน พบว่า (1) ด้านพิธีกรรม มีการสร้างวัตถุมงคล มีการประกอบพิธีกรรมด้านต่างๆ เพื่อสงเคราะห์ (2) ด้านการพัฒนาชุมชน พบว่า ท่านได้สร้างถนน -สะพาน ขุดสระน้ำในบริชุมชน สร้างฝาย/เขื่อนกั้นน้ำ  ทำให้ชาวบ้านมีที่ทำกินอุดมสมบูรณ์ มีการจำหน่ายผลผลิตจากชุมชน และมีหลักประกันจากการมีรายได้ สามารถเข้าแหล่งอาหารเลี้ยงชีพ ด้านการสงเคราะห์ชุมชน ได้ให้ทุนการศึกษาสำหรับพระสงฆ์ ผู้สนใจการศึกษา ผู้มีฐานะยากจน ผู้ด้อยโอกาส สร้างศูนย์อบรมสำหรับเด็กก่อนเกณฑ์  สร้างอาคารที่พักสำหรับผู้ป่วย ซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ บริจาคที่ดิน เงินให้กับสถานพยาบาลและชุมชน (3) ด้านการเผยแผ่ธรรมะ พบว่ามีการเทศนาอบรม สั่งสอนด้วยการสอดแทรกข้อคิด คติธรรม ปฏิบัติตัวให้เห็น                (4) ด้านการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี พบว่า ได้มีส่วนช่วยในการ สืบสานประเพณีวัฒนธรรมที่มีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่ให้ขาด ชุมชนเข้าร่วมประเพณีกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือได้ว่าท่านได้สืบสานวัฒนธรรมประเพณีให้อยู่กับชุมชน เป็นต้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมการศาสนา. (2526). กิจกรรมของวัดซึ่งเป็นที่เลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน. กรุงเทพฯ : กองแผนงาน กรมการศาสนา.

จุไรรัตน์ บุญที่สุด. (2556). บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคมกรณีศึกษาพระเทพรัตนกวี (สุรินทร์ ชุตินธโร) วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ชำเลือง วุฒิจันทร์. (2526). การพัฒนากิจการคณะสงฆ์และกิจการพระศาสนาเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต). (2541). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2546). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.

พระมหานฤพนธ์ น้อยโนนงิ้ว. (2549). บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม : กรณีศึกษาพระรัตนกวี รองเจ้าคณะจังหวัดเลยรูปที่ 1 ฝ่ายมหานิกาย. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

พิสิฎฐ์ บุญไชย และทรงคุณ จันทจร. (2516). ศาสนาพุทธ : สถานภาพ บทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงใน สังคมอีสาน. มหาสารคาม : สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2532). พระบาฬีลิปิกรม. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. (2558). เล่มที่ 20. ศาสนาและความเชื่อในประเทศไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=20&chap=1&page=t20-1-infodetail04.html. สืบค้น 22 มีนาคม 2558.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์. (2556). ประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดสุรินทร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.m-culture.go.th/surin/ewt_news.php?nid=304&filename=index. สืบค้น 15 กันยายน 2560.

หลวงเทพดรุณานุศิษฏ์. (2560). ธาตุปปทีปิกา. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย. อำเภอปราสาท. แผนที่อำเภอปราสาท. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://surin108.com/web/2009/07. สืบค้น 20 กันยายน 2561.

Stryker, Sheldon & Anne Statham. (1985). "Symbolic Interaction and Role Theory," in Handbook of Social Psychology, edited by G. Lindzey and E. Aronson. pp. 311-378. New York : Random House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2024

How to Cite

ศิริภาประภากร ย., คลังฤทธ์ ส., สุภาจาโร พ., กันเที่ยง เ., & จันทร์นวล น. (2024). การศึกษาพระสงฆ์กับกระบวนการสร้างอัตลักษณ์พลังศรัทธากับการพัฒนาชุมชน กรณีหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ จังหวัดสุรินทร์. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 2(3), 47–66. https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.18