การบริหารจัดการความขัดแย้งมิติสิ่งแวดล้อม (Conflict Mapping) : กรณีศึกษาฝุ่น PM 2.5 จังหวัดเชียงรายและจังหวัดเชียงใหม่
DOI:
https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.34คำสำคัญ:
การจัดการความขัดแย้งมิติสิ่งแวดล้อม, แผนที่ความขัดแย้ง, วิกฤตฝุ่น PM2.5, จังหวัดเชียงราย, จังหวัดเชียงใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดย วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์เหตุการณ์ความขัดแย้งมิติทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อไปออกแบบและสร้างระบบการจัดเก็บฐานข้อมูลและสำรวจข้อมูลแผนที่ความขัดแย้งอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ความขัดแย้ง (analyzing a conflict situations) ได้อย่างทันท่วงที 2) เพื่ออธิบายวิกฤตฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ 3) เพื่อนำฐานข้อมูลความขัดแย้งด้านฝุ่น PM2.5 พัฒนาสู่รูปแบบแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ และระบบเตือนภัยความขัดแย้งรุนแรง (Violence –Conflict Early Warning System Database) มีระบบแจ้งเตือน (warning system) สำหรับเฝ้าระวังสถานการณ์ความขัดแย้ง (monitoring conflict situations) ให้กับสังคมไทย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยเป็น 4 กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและประชาชนที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาข้อมูลวิเคราะห์เหตุการณ์ความขัดแย้งเรื่องฝุ่น PM2.5 พบว่าเป็นปัญหาเรื่องมาตรการการจัดการทั้งภายในและภายนอกประเทศ 2 ) ปรากฏการณ์วิกฤตฝุ่น PM2.5 เชียงใหม่และเชียงรายมีการบริหารจัดการที่แตกต่างกันโดยจังหวัดเชียงรายมีภาคประชาสังคมที่เข้มแข็งในการจัดการได้ดี 3) ฐานข้อมูลความขัดแย้งด้านฝุ่น PM2.5 สามารถพัฒนาสู่รูปแบบแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ และระบบเตือนภัยความขัดแย้งรุนแรง (Violence –Conflict Early Warning System Database) ได้ซึ่งข้อเสนอแนะคือการทำงานฐานข้อมูลร่วมกันทั้งแนวระนาบและแนวดิ่งของภาครัฐและภาคประชาชนจะเป็นประโยชน์มาก
Downloads
References
ธีรวัฒน์ รังแก้ว. (2564). ‘สภาลมหายใจ’ สรุปบทเรียนการท างาน 1 ปีแก้ปัญหาไฟป่าและฝุ่นควันในเมือง “แม่โจ้” โชว์ผลงานหนุนชาวบ้านเพาะเห็ดป่าแก้ปัญหาเผ่าป่า 20,000 ไร่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://web.codi.or.th/20210606-24684/. สืบค้น 5 ธันวาคม 2566.
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสำรสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.), สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ. (2563). รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ปี 2563. กรุงเทพฯ : สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน).
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสำรสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.), สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ. (2564). รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ปี 2564. กรุงเทพฯ : สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน).
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสำรสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.), สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ. (2565). รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ปี 2565. กรุงเทพฯ : สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน).
สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล. (2566). วิจัยแผนที่ความขัดแย้งการสำรวจแผนที่ข้อมูลประเด็นความขัดแย้งในประเทศไทย (Conflict Mapping Thailand) ระยะที่ 5. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
American Sociology Association. (2020). What is sociology. [Online]. Available : https://www.asanet.org/about-asa/asa-story/what-sociology. Retrieved 25 December 2023.
Bright, L. S. (2001). The Conflict mapping chart. [Online]. Available : https://bit.ly/3fKTZlU. Retrieved 25 December 2023.
Department of Geography and Environmental Science. (n.d.). Geographic data models. [Online]. Available : http://www.geography.hunter.cuny.edu/~jochen/GTECH361/lectures/lecture05/concepts/03%20-%20Geographic%20data%20models.html. Retrieved 25 December 2023.
Global Peace Index (GPI). (n.d.). [Online]. Available : https://thereaderwiki.com/en/Global_Peace_Index. Retrieved 20 December 2023.
Goldwyn, R., & Chigas, D. (2013). Monitoring and evaluating conflict sensitivity: Methodological challenges and practical solutions. [Online]. Available : http://www. smallarmssurvey.org/fileadmin/docs/M-files/CCRVI/CCVRI-Monitoring-and-evaluating-conflict-sensitivity-challenges-and-solutions.pdf. Retrieved 20 December 2023.
Wehr, P. (2019). Conflict regulation. routledge. [Online]. Available : https://bit.ly/2Z7OZBx. Retrieved 15 December 2023.
World Justice Project. (2020). Rule of law index 2020. [Online]. Available : https://worldjusticeproject.org/sites/default/files/documents/WJP-ROLI-2020-Online_0.pdf. Retrieved 15 December 2023.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.