การพัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง “หลับใน ภัยเงียบอันตรายถึงชีวิต”

ผู้แต่ง

  • สุพรรสา ชูพลาย คณะวิทยาการจัดการ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • มณีรัตน์ ชะม้อย คณะวิทยาการจัดการ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • แอนนา พายุพัด คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ธัญพร ศรีดอกไม้ คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการสร้างสรรค์ดิจิทัลคอนเทนต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ประทับใจ อภิสิทธิ์สุขสันติ คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชัน, การหลับใน, อันตรายถึงชีวิต

บทคัดย่อ

         การจัดทำวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา และประเมินคุณภาพ สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง "หลับใน ภัยเงียบอันตรายถึงชีวิต" เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย  1) สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง "หลับใน ภัยเงียบอันตรายถึงชีวิต" 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดีย  ด้านเนื้อหา และด้านสื่อมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านสื่อมัลติมีเดีย จำนวน 5 ท่าน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

         ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง "หลับใน ภัยเงียบอันตรายถึงชีวิต"ประกอบด้วย ด้านเนื้อหา ด้านการนำเสนอข้อมูล ด้านตัวอักษรและข้อความ ด้านภาพนิ่ง ด้านเสียงและภาษา และด้านภาพเคลื่อนไหว การประเมินคุณภาพสื่อการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง "หลับใน ภัยเงียบอันตรายถึงชีวิต" มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.56 อยู่ในระดับดี

References

ขวัญนภา เจริญจิตร และสมพงษ์ คำตัน. (2561). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่อง “มารู้จักหมู่โลหิตกันเถอะ”. โครงการพิเศษทางคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

นวลฉวี ศรีไชย และยศวีร์ ร่องจิก. (2561). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่อง “วิธีขับขี่ให้ปลอดภัยช่วงฝตก”. โครงการพิเศษทางคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พบแพทย์. (2559). สัญญาณของการหลับใน. สืบค้นจาก https://www.pobpad.com/หลับใน-สัญญาณอันตรายของ.

มูลนิธิไทยโรดส์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2562). หลับในขณะขับรถ อันตรายที่ต้องระวัง. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/Content/49631-หลับในขณะขับรถ%20อันตรายที่ต้องระวัง20.html.

สำนักเครือข่ายลดอุบัติเหตุ. (2565). ง่วงหลับในภัยเงียบอันตรายถึงชีวิต. สืบค้นจาก http://www.accident.or.th/index.php/2017-09-02-12-34-47/category/49-2018-08-17-06-51-27?download=305:2018-08-27-03-35-44.

สำนักอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวง. (2565). สรุปผลการดำเนินงานด้านอำนวยความสะดวกปลอดภัย ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565. สืบค้นจาก https://bhs.doh.go.th/files/Carnival/New%20Year/report_newyear65.pdf.

Dazzlersoft. (2017). ความหมายของมัลติมีเดีย และการนำไปใช้งาน. สืบค้นจาก https://www.dazzlersoft.com/ความหมายของมัลติมีเดีย.

Easy Insure Broker. (2018). 10 วิธีป้องกันการหลับในขณะขับรถที่ใครๆ ก็ทำได้. สืบค้นจาก https://www.easyinsure.co.th/news/?p=3458.

Poopian, D. (2011). ความรู้เบื้องต้นสื่อมัลติมีเดีย. สืบค้นจากhttps://sites.google.com/site/nongpatpoo/hnwy-thi-1.

TeaC. (2564). อาการหลับใน เป็นอย่างไร? ทำไม? คนขับรถต้องระวัง. สืบค้นจากhttps://news.trueid.net/detail/gYOnPA4GB9Jy.

Vaughan. (1993). Multimedia: Making It Work, Ninth Edition 9th Edition. McGraw-Hill Education.

Wanajaro, P. (2559). ประโยชน์ของมัลติมีเดีย. สืบค้นจาก https://km.phuket.psu.ac.th/archives/1476.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28