ปัจจัยการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นัทธ์หทัย ตันสุหัช อาจารย์ สาขาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การสื่อสารการตลาดออนไลน์, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, ชุมชนม่อนปิ่น

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวมายังแหล่งท่องเที่ยว ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 400 คน ใช้วิธีสุ่มตามสะดวก สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

         ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีเหตุผลในการซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน เพราะต้องการอยากบริโภคเอง/ทดลองใช้ มากที่สุด แหล่งข้อมูลข่าวสารผลิตภัณฑ์ชุมชนส่วนใหญ่มาจาก เพื่อน/คนรู้จัก ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวเคยซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ และในแต่ละวันมีพฤติกรรมการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ต่อวัน มากกว่า 5 ครั้ง/วัน สื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวมากที่สุด คือ Facebook ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การโฆษณาออนไลน์ การสร้างเนื้อหาโดยผู้ใช้ และการมีปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ ตามลำดับ

             

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การใช้ SPSS for Windowsในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

กฤษณ์กรวิชญ์ จันทขันธ์สกุล. (2560). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ของผู้บริโภค. ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2563). Transform SMEs ไทย สู่ Thailand 4.0. กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.

จักรภัทร เครือฟัก และรุจโรจน์ แก้วอุไร. (2564). สื่ออินโฟกราฟิกกับการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อรับมือกับภาวะวิกฤติโควิด-19. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 17(1), 47-66.

ชลธิศ บรรเจิดธรรม และนิตนา ฐานิตธนกร. (2559). การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์การแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร และความเหมาะสมของตนเองส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องหนังของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ในการประชุมวิชาการนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ณัฐพงศ์ เจริญดีทรัพย์สิริ, ศิริรัตน์ โกศการิกา และยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2561). การสื่อสารทางการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ตราสินค้า และส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าออนไลน์. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 15(23), 15-34.

ทิพย์สุดา ทาสีดำ และคณะ. (2560). การเพิ่มมูลค่าสินค้าเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนของกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง และกลุ่มทอเสื่อกกและผือ บ้านท่าก้อน อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ธิดาใจ จันทนามศรี. (2560). เนื้อหาและรูปแบบในการสื่อสารผ่านสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อสร้างการ รับรู้และจดจำบนเฟซบุ๊กแฟนเพจของอินโฟกราฟิก ไทยแลนด์. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นาซียะฮ์ มะหมัด, สุภาพร ดิสวัสดิ์ และโกมลมณี เกตตะพันธ์. (2565). การโฆษณาผ่านสื่อประเภทวิดีโอที่

ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์. (2560). พาณิชย์ยกระดับมาตรฐาน OTOP จากภูมิปัญญาไทยเชื่อมท่องเที่ยวเพิ่มรายได้สู่ชุมชน. สืบค้นจาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469404975.

ภัคจิรา ชูขำ. (2564). ปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทอาหารผ่านการรีวิวจากสื่อออนไลน์. ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภาคภูมิ ศรีศักดานุวัตร และ วิมลพรรณ อาภาเวท. (2565). การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน เจดี เซ็นทรัล. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร. พระนคร, 7(1), 79-88.

เมธี ราหุรักษ์ และสุรัตน์ โคอินทรางกรู. (2564). ผลกระทบของการโฆษณาออนไลน์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ (JISB), 7(1), 64-73.

วิไลภรณ์ สำเภาทอง. (2561). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์และการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจผลิตภัณฑ์เวชสำอาง. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิไลภรณ์ ศรีไพศาล. (2559). ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายด้วย Infographic. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.

วีรพร สุพจน์ธรรมจารี และปรีดา ศรีนฤวรรณ. (2561). การโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ผานอุปกรณ์พกพา เพื่อเพิ่ม การมีส่วนร่วมกับตราสินค้าของผู้บริโภค ความภักดีต่อตราสินค้า และความตั้งใจซื้อ: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารการจัดการ หมาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 7(3), 114-130.

วารุณี สุนทรเจริญนนท์. (2557). สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการสร้างสรรค์ไม่ยากอย่างที่คิด. สืบค้นจาก http://www.amexteam.com/resources/helper/editor/upload/knowle dge/1/01_.pdf.

ศิริพร วชิรโสวรรณ. (2563). อิทธิพลของการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมในรายการรีวิวอาหารในช่องยูทูป ต่อความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารของผู้ชมรายการ. วิทยานิพนธ์ตามหลกัสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการตลาด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุพาดา สิริกุตตา. (2557). แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มของแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวของจังหวัด สิงห์บุรี ประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17(17), 215-230.

Bygrave and Zacharakis. (2008). Entrepreneurship, New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28