ประสิทธิผลการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: บทเรียนจากต่างประเทศและแนวทางสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย

ผู้แต่ง

  • กิตตินันท์ กระจ่างพันธุ์ นักศึกษาปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • นพวรรณ วิเศษสินธุ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • สิทธิชัย ฝรั่งทอง อาจารย์ ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลการจัดเก็บภาษี, ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

         การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นรูปแบบการปกครองที่สำคัญอย่างยิ่งในสภาพสังคมปัจจุบัน มีหน้าที่ในการบริหารทรัพยากรภายในท้องถิ่น ดูแลและบำบัดทุกข์บำรุงสุข บำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม และให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน โดยยึดหลักการที่ว่า ประชาชนต้องได้รับการบริการสาธารณะที่ดีขึ้น มีคุณภาพมาตรฐาน การบริหารจัดการขององค์กรต้องมีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และมีความรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการ อย่างไรก็ตาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสบปัญหาการจัดเก็บรายได้ไม่เพียงพอสำหรับท้องถิ่นที่จะนำไปใช้จ่ายในการดำเนินการ ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มที่ ซึ่งปัญหาของการจัดเก็บรายได้ท้องถิ่น คือ ปัญหาที่เกิดจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และปัญหาที่เกิดจากประสิทธิผลในการ จัดเก็บรายได้ นอกเหนือจากนั้นยังมีปัญหาจากการที่ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจกฎหมายภาษี ไม่เข้าใจขั้นตอน ไม่ให้ความร่วมมือในการเสียภาษี ไม่เห็นถึงประโยชน์ในการนำเงินเสียภาษีไปพัฒนาท้องถิ่น ยิ่งไปกว่านั้นวิธีการจัดเก็บภาษีของท้องถิ่นยังไม่ได้รับการพัฒนาให้สามารถจัดเก็บได้อย่างครบถ้วน ทั่วถึง เมื่อศึกษาบทเรียนจากต่างประเทศ จึงทำให้ได้ข้อเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างประสิทธิผลการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยที่ว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรให้ความสำคัญกับการจัดตั้งงบประมานด้านการประชาสัมพันธ์ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ เพื่อสร้าง ความรู้ สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนทุกครัวเรือน มีเอกสารการประชาสัมพันธ์เป็นแผ่นพับ แผ่นป้าย รวมถึงมีระบบออนไลน์ เว็บไซต์ เฟสบุ๊ก หอกระจายข่าวชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข่าวสารอย่างทั่วถึง รวมถึงการพิจารณาเพิ่มอัตรากำลังเจ้าที่ตามตำแหน่งหน้าที่ให้เพียงพอ และต้อง ส่งเสริมให้มีมาตรการ สร้างแรงจูงใจ ให้สิ่งตอบแทนแก่ประชาชนที่มาเสียภาษีตามกำหนด มาเสียภาษี ครบถ้วน จัดให้มีส่วนลดหย่อนภาษี หรือมีรางวัลให้แล้วแต่กรณี เป็นต้น

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2565). พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2565, จาก http://www.dla.go.th/work/faq1.pdf.

จิรศักดิ์ รอดจันทร์. (2559). วิธีการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ: ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปวิธีการเสียภาษี โดยการประเมินตนเอง. สุทธิปริทัศน์, 30(ฉบับพิเศษ), 253-265.

จิราภรณ์ รังคสิริ และสวัสดิ์ วรรณรัตน์. (2562). องค์ประกอบหลักการจัดเก็บภาษีที่ดีของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 265-273.

จีระพร ลาสุดี และยอดชาย สุวรรณวงษ์. (2563). การประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพการบริหาร การเงินการคลังของโรงพยาบาลภาครัฐในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(1), 523-531.

ชัย แช่มช้อย, รัฐบุรุษ คุ้มทรัพย์ และมาลีรัชต์ ฉานสูงเนิน. (2564). แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการ วิจัย และนวัตกรรม สมธ. (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 1(2), 49-60.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และคณะ. (2551). การคลังท้องถิ่น: รวมบทความวิจัยเพื่อเพิ่มพลังให้ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

ดาวนภา เกตุทอง. (2563). การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 3(2), 46-57.

ตุลา มหาพสุธานนท์. (2554). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ: พีเอ็น เค แอนด์ สกายพริ้นติ้ง.

ถวัลย์รัฐ วรเทพพุฒิพงษ์. (2540). นโยบายสาธารณะ: ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ.กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ทวีชัย มีลาภ และศิริญญา ดุสิตนานนท์. (2560). กรณีศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการประเมินภาษีและ การบริหารการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศไทย กับการประเมินภาษีและการบริหารการจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน (อสังหาริมทรัพย์) ของมลรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา. การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 12 ปีการศึกษา 2560 (หน้า 1335-1343). ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

พนิต ธีรภาพวงศ์. (2550). ภาษีบริษัทข้ามชาติ : International business taxation. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

พิทักษ์พงษ์ ชัยคช. (2564). การศึกษาปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในจังหวัดตรัง. วารสาร วิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 107-113.

เพ็ญนภา ยันต์ชมพู และเสาวมาศ เถื่อนนาดี. (2554). การพัฒนาศักยภาพในการขับเคลื่อนการ ดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5, 38(1), 1-11.

ยศธร ทวีพล, สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์, รัฐศิรินทร์ วังกานนท์ และนภเรฯ สัจจรักษ์ ธีระฐิติ. (2560). ระบบ การคลังท้องถิ่นญี่ปุ่น: บทเรียนจากประเทศพัฒนาแล้ว. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2565, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/japanese/article/download/165108/119584/.

ยุทธนา ศรีสวัสดิ์. (2565). ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง 2565. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2565, จาก https://www.itax.in.th/pedia/ภาษีที่ดิน

ลันตา อุตมะโภคิน. (2553). ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: ก้าวต่อไปของการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของ ประเทศไทยอย่างมีประสิทธิผล. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565, จาก https://www. senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/S%E0%B9%88ub_Jun/3journal/b125%20jul_7_5.pdf.

สกนธ์ วรัญญวัฒนา. (2553). โครงการพัฒนาขีดความสามารถการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมในการกระจายอำนาจของส่วนราชการและภาคประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สิริพัฒถ์ ลาภจิตร และจิรศักดิ์ บางท่าไม้. (2561). แนวทางการพัฒนาการจัดเก็บภาษีขององค์กรบริหารส่วนตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20, 199-213.

อำนวย สังข์ช่วย. (2564). ปัญหาอุปสรรคและผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษี ตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่ง

ปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(3), 287-300.

Jain, P. (2000). Japan’s Local Governance at the Crossroads: The Third Wave of Reform. Canberra: Australia-Japan Research Centre.

Nazarian, A., Atkinson, P., & Foroudi, P. (2021). Factor affecting organizational effectiveness in

independent hotel- The case of Iran. Journal of Hospitality and Tourism Management, 46, 293-303.

Peterson, E., & Plowman, E. G. (1989). Business Organization and Management. Homewood, Illinois: Richard D. Irwin.

Steers, R. M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22, 45-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29