ความน่าเชื่อถือของการรายงานข่าวสารในยุค Big Data

ผู้แต่ง

  • เขมนิจ มาลาเว วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ความน่าเชื่อถือของการรายงานข่าว, ยุค Big Data, รูปแบบการรายงานข่าว

บทคัดย่อ

รูปแบบการรายงานข่าวในยุค Big data ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบในเรื่องของความทันต่อเหตุการณ์และการตอบสนองความต้องการอันไม่จำกัดของผู้เสพสาร สื่อหลายสำนักจึงแข่งกันนำเสนอข่าวโดยละเลยการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนนำเสนอ ทำให้พบรูปแบบการรายงานข่าว 8 ประเภทที่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของข่าว ดังนี้ 1. การนำเสนอข่าวที่ละเมิดสิทธิ์ผู้ที่ตกเป็นข่าว 2. การสร้างผู้ตกเป็นข่าวให้กลายเป็น ‘ตัวละคร’ ให้คนติดตาม 3. การไลฟ์สด (Live) ขัดขวางการทำงานของรัฐและก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่ตกเป็นข่าว 4. การนำเสนอข่าวเกินจริง ทำให้เกิดความตื่นตระหนกและเข้าใจผิด 5. การแชร์ข่าวต่อโดยขาดการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนนำเสนอ 6. การเสนอข่าวโดยใช้การพาดหัวข่าวเชิงคลิกเบท (Click-bait) 7. สื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษานอกบัลลังก์ 8. การเสนอข่าว โดยใช้อารมณ์ ไม่เป็นธรรม มีการบิดเบือนข้อเท็จจริง
ดังนั้นการย้ำเตือนให้นักวารสารศาสตร์ตระหนักถึงคุณค่าที่แท้จริงของการเป็นสื่อ คือ การคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ด้าน คือ ความถูกต้องของข้อมูล ความโปร่งใส ความสมดุลหรือความเป็นกลาง ความสมบูรณ์ของข้อมูล และการนำเสนอมีความเป็นมืออาชีพ จึงเป็นเรื่องสำคัญ

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). เปิดสถิติคนไทยเสพติด ‘ออนไลน์ โซเชียล’ สูงติดอันดับโลก. สืบค้น 21 กันยายน 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/tech/950958

ข่าวสด. (2564). เผยคนไทยท่องโลกผ่านมือถือ อันดับ 3 ของโลก เฉลี่ยวันละ 5 ชั่วโมง. สืบค้น 21 กันยายน 2564, จาก https://www.khaosod.co.th/economics/news_6545573

เทียนทิพย์ เดียวกี่. (2559). จริยธรรมและจรรยาบรรณสื่อในการนำเสนอข่าวยุคดิจิทัล. วารสารสื่อสารและการจัดการ นิด้า ปีที่ 2 (ฉบับที่ 2). สืบค้นจาก https://gscm.nida.ac.th/public-action/Journal/Vol.2-59/8.pdf

เทียนทิพย์ เดียวกี่ และบุหงา ชัยสุวรรณ. (2561). จริยธรรมนักข่าวพลเมืองในการนำเสนอข่าวเด็กผ่านสื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 11 (ฉบับที่ 2). สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/140255.

นรภัทท์ อร่ามเรือง. (2560). การกำหนดประเด็นข่าและการตอบสนองของผู้ชมผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ กรณีศึกษา รายการข่าวเที่ยงวันทันเหตุการณ์ สถานีโทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นจาก http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/2773

วัฒณี ภูวทิศ. (2560). ผู้สื่อข่าวกับการใช้ประโยชน์และความน่าเชื่อถือของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อรายงานข่าวสาร. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 9 (ฉบับที่ 7). สืบค้นจาก file:///C:/Users/Administrator/Downloads/92644-Article%20Text-230120-1-10-20170714.pdf

วิริยาภรณ์ ทองสุข. (2559). การวิเคราะห์การนำเสนอข่าวเชิงคลิกเบทของเว็บไซต์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นจาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5707010400_4890_3781.pdf

สำนักข่าวอิสรา. (2559). ‘เนชั่น’ ขอโทษแล้ว! ปมใช้ข้อมูลปลอมทำข่าวกระเป๋าแบรนด์ดัง. สืบค้น 14 กันยายน 2564, จาก https://www.isranews.org/isranews-news/45336-nation_45336dd.html.

Beartai. (2559). พฤติกรรม ไลฟ์ ออนไลน์ ไร้เซ็นเซอร์ ที่เด็กและเยาวชนต้องระวัง. สืบค้น 14 กันยายน 2564, จาก https://www.beartai.com/article/tech-article/97060

Mango Zero. (2560). สรุปปรากฎการณ์ 1 เดือน #สรยุทธLive ผ่าน Facebook ยอดผู้ชมออนไลน์พุ่งแซงสื่อเก่า. สืบค้น 14 กันยายน 2564, จาก https://www.mangozero.com/1-month-ago-sorayuth-live-phenomenon/

Marketeer. (2020). พฤติกรรมคนไทยเข้าถึงบนโลกออนไลน์อย่างไร. สืบค้น 21 กันยายน 2564, จาก https://marketeeronline.co/archives/165179

The standard. (2561). จั๊ด ธีมะ ประกาศลาจอ ‘เช้าวันใหม่’ ปมแสดงความคิดเห็นประเทศกูมี. สืบค้น 14 กันยายน 2564, จาก https://thestandard.co/thema-left-bluesky/

A gallup/Knight foundation survey. (2018). Indicators of News Media Trust. Gallup. September 9, 2021, Retrieved from https://knightfoundation.org/reports/indicators-of-news-media-trust/

American Press Institute. (2016). The meaning of trust in news. September 9, 2021, Retrieved from https://www.americanpressinstitute.org/publications/reports/survey-research/ the-meaning-of-trust-in-news/

We are social. (2021). 60 Percent of the world’s population is now online. September 28, 2021, Retrieved from https://wearesocial.com/blog/2021/04/60-percent-of-the-worlds-population-is-now-online

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23