ซอฟต์พาวเวอร์ไทย : ความเข้าใจ อุปสรรค และโอกาสการพัฒนาในเวทีโลก
คำสำคัญ:
ซอฟต์พาวเวอร์, อุปสรรค, โอกาสในเวทีโลก , ทรัพยากรทางวัฒนธรรมบทคัดย่อ
ด้วยสังคมไทยมีความตื่นตัวให้ความสนใจเรื่องซอฟต์พาวเวอร์มากขึ้น อันเป็นผลสืบเนื่องให้ผู้คนเริ่มตั้งคำถามถึงความเข้าใจที่ถูกต้องและทิศทางการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่เวทีโลก ผู้เขียนจึงสนใจทำการศึกษาเกี่ยวกับความเข้าใจ อุปสรรค และโอกาสการพัฒนาของซอฟพาวเวอร์ไทย จากการศึกษาพบว่า สังคมไทยยังไม่มีความเข้าใจที่เพียงพอเกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานและขาดการร่วมมือกับภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีโอกาสในการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ให้เป็นที่รู้จักในเวทีโลก ด้วยการที่ประเทศไทยมีทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่มีเสน่ห์และมีคุณค่า คนไทยเป็นคนที่มีมารยาทดีและเป็นมิตร สังคมไทยเป็นสังคมที่ยอมรับความหลากหลายทางเพศ และมีคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะในการสื่อสารและมีเสน่ห์ในการนำเสนออย่างสร้างสรรค์ ดังนั้น เพื่อสร้างโอกาสที่ยั่งยืนให้กับซอฟต์พาวเวอร์ไทยในการเติบโตสู่สากล ทุกภาคส่วนควรร่วมมือกันและปรับปรุง โดยผู้เขียนมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. หน่วยงานที่มีอำนาจควรทำการทบทวนหรือศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์และจัดการอบรมให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง 2. รัฐบาลควรจัดตั้งหน่วยงานระยะยาวเพื่อดูแลและรับผิดชอบซอฟต์พาวเวอร์ไทย 3. ควรคัดเลือกบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญมาจากทุกภาคส่วนเพื่อร่วมให้ความคิดและสนับสนุนในการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไทย 4. ควรมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินงานของหน่วยงานที่ดูแลเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ เข้าใจ และสามารถเข้าถึงการสนับสนุนช่วยเหลือของรัฐบาล 5. รัฐบาลควรเริ่มต้นด้วยโครงการที่มีนโยบายต้นแบบโดยการเลือกทรัพยากรวัฒนธรรมไทยที่มีศักยภาพที่สุดและวางแผนการสื่อสารอย่างชัดเจนเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจลึกซึ้งเพิ่มเติม 6. ควรมีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) รวมถึงสื่อใหม่ (New media) เข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์และเผยแพร่คอนเทนต์เกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์ 7. ควรมีวิธีการประเมินผลโครงการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์อย่างเป็นรูปธรรมและแม่นยำ
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2564). กางเกงช้างฟีเวอร์ สู่5 กางเกงซอฟต์พาวเวอร์สุดฮิตในโซเชียล. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/judprakai/1117390
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว. (2565). ซอฟต์พาวเวอร์คืออะไร ในมุมมองของเศรษฐศาสตร์. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/columnist/1000787
ชำนาญ จันทร์เรือง. (2561). ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft power) คืออะไร?. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2021/10/95654
เดลินิวส์ออนไลน์. (2566). เปิด 6 พลัง ‘ซอฟต์พาวเวอร์’ ทรงอิทธิพลระดับโลกที่คนไทยต้องไปให้ถึง. สืบค้นจาก https://www.dailynews.co.th/news/2136943/
ธีวินท์ สุพุทธิกุล. (2567). Soft power ที่คุณฝันถึงและข้อคำนึงบางประการ. สืบค้นจาก https://www.the101.world/soft-power-misconceptions/
นิศรา ชัยเขียว. (2566). การจัดการความรู้ด้าน Soft Power ของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ภัคจิรา มาตาพิทักษ์. (2566). ซอฟต์พาวเวอร์สู่การเซนเซอร์: ย้อนมองพัฒนาการสื่อบันเทิงสไตล์พรรคคอมมิวนิสต์จีน. สืบค้นจาก https://www.the101.world/china-entertainment-industry/
มติชนสุดสัปดาห์. (2566). วิวาทะ Soft Power ของต้องเต ดราม่าที่ไม่น่าเป็นดราม่า. สืบค้นจาก https://www.matichonweekly.com/column/article_725914
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2565). SOFT POWER ที่เป็นมากกว่าการขายของ มุมมองฉบับรัฐศาสตร์. สืบค้นจาก https://tu.ac.th/thammasat-020565-soft-power
รัตนพร รักการค้า. (ม.ป.ป.). Soft Power More Powerful. สืบค้นจาก https://tatreviewmagazine.com/article/soft-power-more-powerful/
วิมลรักษ์ ศานติธรรม. (2565). Soft Power พลังแห่งการสร้างสรรค์. วิจัยปริทัศน์, 27, 10.
วิลาสิณี ฉายรัตน์ตระกูล. (2567). แนวทางการผลิตสารคดีเพื่อเป็นซอฟต์พาวเวอร์ไทยสำหรับเผยแพร่ในตลาดต่างประเทศ. Research Focus, 1(2), 1-3.
สำนักข่าว TODAY (2566). ‘แพทองธาร’ เผยโดนวิจารณ์เข้าใจ ‘ซอฟต์พาวเวอร์’ จริงไหม ยก ‘ช็อกมินต์’ เป็นกระแสตัวอย่าง. สืบค้นจาก https://workpointtoday.com/ingshin-softpower/#google_vignette
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (ม.ป.ป.) Soft power เครื่องมือสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทย. สืบค้นจาก https://www.cea.or.th/th/single-research/cea-soft-power
สุชยา พฤกษ์บำรุง. (2565). Soft Power ความอ่อนที่สร้างอิทธิพลไม่ธรรมดา. สืบค้นจาก https://www.dtn.go.th/th/content/category/detail/id/1541/cid/1223/iid/2575
สันทัด โพธิสา. (2566). Soft power คืออะไร? รวมเหล่า “ของไทย” ปังจริงในหมู่ชาวต่างชาติ. สืบค้นจาก https://www.thaipbs.or.th/now/content/491
เอกรงค์ ปั้นพงษ์. (2566). พลังการสื่อสารผ่านแนวคิดอำนาจละมุน (Soft power) ของประเทศญี่ปุ่นในหนังสือการ์ตูนยอดตีพิมพ์อันดับ 1 ของโลก “วันพีช”. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 27(2), 51-64.
Foreign policy magazine. (n.d.). The Rise and Fall of Soft Power. Retrieved from https://foreignpolicy.com/2018/08/20/the-rise-and-fall-of-soft-power/
Marketeer Online. (2023). Anime Soft Power ที่สร้างรายได้ให้กับญี่ปุ่น. สืบค้นจาก https://marketeeronline.co/archives/318765
MacDonald, A. (2017). Soft power today: Measuring the effects. Retrieved from https://www.britishcouncil.org/research-insight/soft-power-today-measuring-effects
Ohnesorge, H. W. (2021). Soft Power: The Forces of Attraction in International Relations. Chinese Political Science Review, (7), 596–597. Retrieved from https://doi.org/10.1007/s41111-021-00182-5
Henny, P. S. (2022). What We Talk About When We Talk About Soft Power. International Studies Perspectives, 23(1), 94–111. Retrieved from https://doi.org/10.1093/isp/ekab007
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.