การบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะศูนย์กลางการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวและไมซ์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน 4 จังหวัด ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • บุญเพ็ง สิทธิวงษา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.1

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, เมืองอัจฉริยะ, การท่องเที่ยวและไมซ์, อนุลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะศูนย์กลางการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวและไมซ์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน 4 จังหวัด ประเทศไทย       2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะศูนย์กลางการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวและไมซ์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน 4 จังหวัด ประเทศไทย และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะศูนย์กลางการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวและไมซ์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน 4 จังหวัด ประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี, จังหวัดหนองคาย. จังหวัดบึงกาฬ, และจังหวัดเลย จำนวน 400 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 12 คน โดยวิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

         ผลการศึกษาพบว่า : 1. ระดับการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะศูนย์กลางการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวและไมซ์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน 4 จังหวัด ประเทศไทย ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน พบว่า ระดับการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะศูนย์กลางการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวและไมซ์ อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.09 S.D.=.18) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการค้า อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.09 S.D.=.17) ด้านการท่องเที่ยว อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.08 S.D.=.27) และด้านการลงทุน อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.05 S.D.=.28) ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะศูนย์กลางการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวและไมซ์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน 4 จังหวัด ประเทศไทย โดยรวมทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะX2 ด้านพลเมืองอัจฉริยะX4 และด้านการบริหารภาครัฐอัจฉริยะX7 ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .738 -.441 และ -.602 ตามลำดับ และ 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะศูนย์กลางการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวและไมซ์ ควรมีการบริการการค้าหลังการขาย มีการสร้างความคุ้นเคย ความสนใจรมีอาคารหรือกลุ่มของอาคารที่มีการพัฒนาพื้นที่แบบมิกซ์ยูสและพื้นที่ศูนย์การค้า ผลิตภัณฑ์ที่ขายในศูนย์การค้าที่มีความทันสมัย ในการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนมีการประชาสัมพันธ์การค้าที่นักลงทุนเข้ามาพัฒนาเมือง โดยใช้การสร้างเครือข่ายหรือการสร้างช่องทางการสื่อสารต่างๆ การจัดการค่าเดินทางไปยังสถานที่ในการอำนวยความสะดวกและการติดต่อเพื่อสร้างความหลากหลายที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกการชี้แจงขั้นตอนตลอดการพัฒนาการมุ่งเน้นการสนับสนุนการท่องเที่ยวในการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะศูนย์กลางการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวและไมซ์อย่างมีประสิทธิผล

Downloads

Download data is not yet available.

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

จารุวรรณ ประวันเน. (2563). กระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ: กรณีศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น. Local Administration Journal. 13(3) : 267-284.

เจนณรงค์ พันธุ์จันทึก และฌาน เรืองธรรมสิงห์. (2562). การพัฒนาเมืองขอนแก่นให้เป็นเมืองอัจฉริยะ: พัฒนาการและความก้าวหน้า. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล ครั้งที่ 5. หน้า 581-592.

ภาฝัน จิตต์มิตรภาพ และคณะ. (2565). ปัจจัยขับเคลื่อนความสำเร็จในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจังหวัดภูเก็ต. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 14(1) : 188-202.

สมิตา เต็มเพิ่มพูน, อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี และดนุวศิน เจริญ. (2563). ปัจจัยความสำเร็จที่ส่งผลต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของสาธารณรัฐประชาชนจีน: กรณีศึกษา นครเซี่ยงไฮ้. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 14(3) : 165-179.

อารยะ ปรีชาเมตตา, พรเทพ เบญญอภิกุล, เฉลิมพงษ์ คงเจริญ, วรรณวิภางค์ มานะโชติพงษ์, ธร ปีติดล และ Bui Thi Minh Tam. (2561). พลวัตการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไทยในเชิงพื้นที่กับปัญหาความเหลื่อมล้ำ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-01-2024

How to Cite

สิทธิวงษา บ. (2024). การบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะศูนย์กลางการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวและไมซ์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน 4 จังหวัด ประเทศไทย. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 2(1), 1–18. https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.1