การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนบ้านร่อนทอง ตำบลร่อนทอง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.2คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การพัฒนาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนบ้านร่อนทอง ตำบลร่อนทอง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนบ้านร่อนทอง ตำบลร่อนทอง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการใช้แบบสัมภาษณ์แบบเจาะจงเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการสังเกตุการณ์และการจดบันทึก มาสรุปผลการวิจัย ผู้วิจัยได้คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายคือ (1) ผู้นำศาสนา (2) กลุ่มผู้นำชุมชน (3) กลุ่มประชาชนผู้มีส่วนได้เสียในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน รวมทั้งหมด 12 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน (1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใช้ทรัพยากรของชุมชนร่วมกับส่วนงานท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน (2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ประชาชนในชุมชน มีการประชาคม ร่วมวางแผนและประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอ (3) การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ประชาชนในชุมชน มีส่วนร่วมพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชน และร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน (4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล ประชาชนในชุมชน มีส่วนร่วมกับส่วนงานท้องถิ่น ในการติดตามผลประเมินผล การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน อย่างสม่ำเสมอ 2) แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน (1) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ประชาชนควรให้ความสำคัญ ต่อการเข้ามามีส่วนร่วม เสนอแนะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมตัดสินใจร่วมกันกับส่วนงานท้องถิ่น เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชน (2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ประชาชนในชุมชนควรมีส่วนร่วมในการวางแผนและคัดเลือกผู้ปฏิบัติงานหรือร่วมปฏิบัติงาน เพราะประชาชนในชุมชนย่อมเข้าใจและรู้ถึงปัญหาต่างๆของชุมชนได้เป็นอย่างดี (3) การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ประชาชนควรเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชน และร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น จากการพัฒนาร่วมกัน (4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล ประชาชนควรมีการร่วมตรวจสอบและติดตามผลจากการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนร่วมกับส่วนงานท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอ
Downloads
References
กาญจนา สุคัณธสิริกุล. (2556). การพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี.
ธันยชนก ปะวะละ, นริศรา คําสิงห์, อมร โททํา และชัยธวัช ศิริบวรพิทักษ์. (2560). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนกับสิ่งแวดล้อม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ของตําบลกําพี้ อําเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2564–2565. (2564). สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
วชิรวัชร งามละม่อม. (2559). ทฤษฎีการมีส่วนร่วม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://learningofpublic.blogspot.com/2016/02/blog-post_79.html. สืบค้น 4 มีนาคม 2566.
วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุพิชญา บุญคำ และวิจิตรา ศรีสอน. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของชุมชนเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
โอปอล์ รังสิมันตุชาติ และทิพาพร โพธิ์ศรี. (2564). การพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วม ของชุมชนท้องถิ่นคอรุม จังหวัดอุตรดิตถ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.