การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชน “ปราสาทบ้านไพล” จังหวัดสุรินทร์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.32คำสำคัญ:
การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชน, ปราสาทบ้านไพล, จังหวัดสุรินทร์บทคัดย่อ
บทความนี้เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม “ปราสาทบ้านไพล” อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ พบว่าปราสาทบ้านไพล เป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ชุมชนมีคติความเชื่อที่มีต่อเทพเจ้าและดวงวิญญาณที่มีผลต่อการให้คุณและโทษ ชุมชนแถบนี้มีกิจกรรมพิธีบูชาประจำปีจะจัดขึ้นในช่วงเดือน มีนาคม-เมษายน ของทุกปี ด้านรูปแบบกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้ 1) กำหนดพื้นที่จัดกิจกรรมและวัน เวลา 2) ภาคีเครือข่ายด้านผู้เข้าร่วมในพิธีกรรมชุมชน 3) เครื่องบูชาและดนตรีพื้นบ้านร่วมในพิธีกรรม เป็นต้น แนวทางการส่งเสริมเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชน มีดังนี้ 1) เส้นทางการเข้าถึงปราสาทบ้านไพล 2) เอกสารรายละเอียดเกี่ยวกับปราสาทและการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว 3) ศิลปะการแสดงพื้นบ้านเพื่อส่งเสริม การรับรู้เกี่ยวกับฐานคติมาจากความเชื่อ ศาสนาพรามหณ์ ฮินดู และ ประวัติศาสตร์และฐานคติของชุมชน 4) ส่วนร่วมของโรงเรียนหรือชุมชนในการแสดงและนำศิลปะการร่ายรำช่วงพิธีกรรมบูชาประจำปี และกระตุ้นให้โรงเรียน และชุมชนได้ช่วยกันออกแบบศิลปะการแสดง การมีส่วนร่วมและเสริมหลักสูตรในสถานศึกษา จัดให้พื้นที่เป็นที่เรียนรู้นอกชั้นเรียน 5) ด้านประวัติศาสตร์ทำให้ทราบและรับรู้ประวัติความเป็นมา เพื่อสร้างจุดน่าสนใจและเป็นแนวทางที่มีต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชน เป็นต้น
Downloads
References
ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2556). แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://tourism-dan1.blogspot.com. สืบค้น 22 ธันวาคม 2562.
พระปลัดสุดฤทธิ์ ธนสาโร และยโสธารา ศิริภาประภากร. (2563). ศาสนากับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อการส่งเสริมเส้นทางแสวงบุญสู่วัดไพรพัฒนา จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 4(1) : 79-92.
ภัสสร มิ่งไธสง, สุริยา คลังฤทธิ์ และยโสธารา ศิริภาประภากร. (2561). แซนพนม: ภูมิปัญญาเขมรโบราณมิติความสัมพันธ์ ระหว่างคน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และสิ่งแวดล้อม กรณีชุมชนรอบเขาพนมรุ้ง. วารสารวิจัยสังคม. 41(2) : 90-98.
ยโสธารา ศิริภาประภากร และสำเริง อินทยุง. (2561). อัตลักษณ์ของปราสาทขอมกับการพัฒนาชุมชนในจังหวัดสุรินทร์. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ “ราชมงคลสุรินทร์ ครั้งที่ 9”. 29–31 สิงหาคม 2561. หน้า 452–461. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์.
ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2563). การศึกษาจุดยุทธศาสตร์เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับการพัฒนาระหว่างราชอาณาจักรไทยและกัมพูชา. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 4(1) : 53-66.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). พจนานุกรมพุทธศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศิริพร สุเมธารัตน์. (2535). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสุรินทร์. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
สุริยา คลังฤทธิ์, ยโสธารา ศิริภาประภากร และฉัตราภรณ์ จันทร์แจ่มธารี. (2562). การจัดการส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่มชาวกูย. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 3(1) : 177-194.
อมรา พงศาพิชญ์. (2541). วัฒนธรรมศาสนาและชาติพันธุ์ : วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.