“เขาพระอังคาร” แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมด้านพระพุทธศาสนา บ้านเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.27คำสำคัญ:
เขาพระอังคาร, แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, พระพุทธศาสนา, อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งเน้นประโยชน์ของแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมด้านพระพุทธศาสนา บ้านเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ การไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์และเสริมความเป็นสิริมงคล การได้รับความรู้ ด้านประวัติศาสตร์ความเป็นมา ความสําคัญรวมถึงการถ่ายทอดมรดกด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น นอกจากนี้ยัง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สําคัญเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยวและวัฒนธรรมได้ เขาพระอังคารเป็นพื้นที่มีผู้คนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวมากมายทําให้เกิดความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ประจําท้องถิ่นของจังหวัดบุรีรัมย์ และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวจากการเผยแพร่ไปตามสื่อต่างๆ เมื่อวิเคราะห์คุณค่าบทบาทที่ได้จากการท่องเที่ยวที่มีต่อชุมชน
พบว่าความเชื่อของนักท่องเที่ยวมีต่อศาสนาและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเกิดผลในด้านเศรษฐกิจชุมชนและเกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมด้านศาสนาและศิลปะได้โดยมีพื้นที่การท่องเที่ยวเป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยน คุณค่าจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านศาสนา พบว่า ทําให้เกิดเอกลักษณ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศาสนา ทําให้เกิดรายได้แก่ชุมชน เกิดความโดดเด่นของพื้นที่สามารถพัฒนาสร้างสรรค์ในด้านวัฒนธรรมและศาสนา และประวัติความเป็นมาได้ ผู้เที่ยวเกิดความศรัทธาเลื่อมใส และยังมีส่วนช่วยควบคุมจิตใจและพฤติกรรมได้ คุณค่าด้านอิทธิพลในการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงศาสนา พบว่า มีความสําคัญทําให้เกิดพลังต่อจิตใจ ทําให้ผู้คนได้ปฏิบัติตามคําสอน เป็นแนวทางปฏิบัติตนตามแบบอย่างที่ดี โดยเฉพาะด้านการดําเนินชีวิต ทําให้บุคคลเว้นข้อห้าม ปฏิบัติตามระเบียบได้เป็นอย่างดี
Downloads
References
กฤษนันท์ แสงมาศ, ยโสธารา ศิริภาประภากร, สุทัศน์ ประทุมแก้ว, สุริยา คลังฤทธิ์ และสําเริง อินทยุง. (2561). การพัฒนาระบบ GPS เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมปราสาทโบราณจังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์.
ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2536). ผ้าเอเชียมรดกร่วมทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับสำนักส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2552). ชีวิตที่ดีงาม : หลักการทั่วไปของการปฏิบัติธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/a_fruitful_and_harmonious_life_the_basic_principles_of_dhamma_practising.pdf. สืบค้น 14 มิถุนายน 2563.
ยโสธารา ศิริภาประภากร, พระสําเริง อินทยุง, สุพัตรา วะยะลุน, สุทัศน์ ประทุมแก้ว และสุริยา คลังฤทธิ์. (2562). การส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวตามเส้นทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา : กรณีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านศาสนา วัดโยธาประสิทธิ์ ตําบลนอกเมือง อําเภอเมืองสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์. ในการประชุมวิชาการระดับชาติการท่องเที่ยวและการโรงแรมร่วมสมัย ครั้งที่ 6 “ท่องเที่ยวโรงแรม ร่วมเสริม ร่วมสร้าง ร่วมสมัย”. 6 มิถุนายน 2562. หน้า 278 -286. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เริงฤทธิ์ วัฒนศึกษา. (2533). การเปลี่ยนแปลงการผลิตผ้าไหม : ศึกษาเฉพาะกรณีเขตสุขาภิบาลชนบทอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. ปริญญานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
วนิดา ขําเขียว. (2558). การทองเที่ยวเชิงแสวงบุญทางพระพุทธศาสนา อําเภอไชยา จังหวัดสุราษฎรธานี. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 11(21) : 123-134.
ศิริญญา หาญไชยชนะ. (2545). เส้นสายลายไหม. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.
ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2545). รูปแบบศิลปะและการจัดการผ้าทอที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งและการพึ่งตนเองของชุมชนท้องถิ่น : ศึกษากรณีผ้าไหมแพรวาสายวัฒนธรรมผู้ไทจังหวัดกาฬสินธิ์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์. (2559). สรุปโครงการสงเสริมการท่องเที่ยวเสนทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา จังหวัดสุรินทร์ ประจําปีงบประมาณ 2558. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.m-culture.go.th/surin/images/Book/Sawangboon.pdf. สืบค้น 14 มิถุนายน 2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.