การมีส่วนร่วมของประชาชนบ้านเชียงสง ต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.19คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, บ้านเชียงสง, การบริหารงาน, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงาน และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนบ้านเชียงสงต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ รูปแบบของการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายคือ 1) ผู้นำชุมชน 2) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 3) ประชาชนและปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 12 ท่าน โดยการใช้แบบสัมภาษณ์แบบเฉพาะเจาะจงในการเก็บรวบรวมข้อมูล การสังเกต และการจดบันทึก เพื่อได้มาซึ่งข้อมูลเพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์ โดยการนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ จัดระเบียบแยกแยะส่วนต่าง ๆ เพื่อหาคำตอบตามประเด็นปัญหาการวิจัย แล้วนำมาสรุปความหรือสังเคราะห์ข้อความ
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ในด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ คือมี การเข้าร่วมประชุม ทำประชาคม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเสนอความต้องการไปประกอบโครงการหรือแผนพัฒนาท้องถิ่น ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ได้แก่ การเข้าไปเป็นจ้างเหมาบริการตามโครงการต่าง ๆ มีการทำประชาคมเพื่อปฏิบัติตามแผนงานหรือโครงการ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประประโยชน์ มีการนำเสนอข้อมูลขั้นพื้นฐานของชุมชนเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมิน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาสำหรับการจัดทำแผนพัฒนาชุมชน 2) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนบ้านเชียงสงต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ประชาชนควรจะมีบทบาทในการเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะ พิจารณา และการตัดสินใจให้มากขึ้น ในด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ประชาชนควรมีส่วนร่วมในการคัดเลือกผู้ปฏิบัติงานหรือร่วมปฏิบัติงานเอง อาจจะไม่ใช่ในทุกโครงการ เพราะบางโครงการนั้นจะต้องใช้ผู้มีความรู้เฉพาะด้านผู้ชำนาญการ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประประโยชน์ ประชาชนควรได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการให้ความร่วมมือในการประชาคมสำหรับการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมในการประเมินประชาชนควรมีการร่วมตรวจสอบ ติดตามโครงการตามที่ได้มีส่วนร่วมในการประชาคม ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน ทำให้การบริหารงานปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีการใช้จ่ายงบประมาณที่คุ้มค่าและตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่สำหรับแผนพัฒนาท้องถิ่นให้มากที่สุด
Downloads
References
ชัยรัตน์ มาสอน, ชาญชัย ฮวดศรี และสุรพล พรมกุล. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(1) : 336-354.
ธนิต อภิชาตวาณิช. (2565). แผนพัฒนาชุมชนบ้านเชียงสง ตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์.
แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570. (2566). องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์.
พระมหาอากาย ฐิตธมฺโม (ผดุงชาติ), ธิติวุฒิ หมั่นมี และเกียรติศักดิ์ สุขเหลือง. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 5(1) : 253-268.
วารุต มาลาแวจัทร์ และวราภรณ์ เทพสัมฤทธิ์พร. (2559). แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 12(1) : 103-122.
สิทธิ์ธนัชท์ วารุณสหรัชภณ. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานปกครองส่วนท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 เอื้องคำ ศาลางาม, พิษณุ ธรรมมีภักดิ์, รจนา จันทร์หยวก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.