บทบาทผู้นำชุมชนในการอนุรักษ์โบราณสถาน กรณีศึกษา พระธาตุน้ำคำ วัดป่าพรหมประทาน บ้านงิ้ว หมู่ที่ 10 ตำบลโนนชัยศรี อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
DOI:
https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.18คำสำคัญ:
บทบาท, ผู้นำชุมชน, การอนุรักษ์โบราณสถาน, พระธาตุน้ำคำบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบทบาทผู้นำชุมชนในการอนุรักษ์พระธาตุน้ำคำ 2. วิเคราะห์ปัญหา และอุปสรรคบทบาทผู้นำชุมชนในการอนุรักษ์พระธาตุน้ำคำ 3. เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคบทบาทผู้นำชุมชนในการอนุรักษ์พระธาตุน้ำคำ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม คือ 1) ผู้ใหญ่บ้าน 2) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 3) คณะกรรมการหมู่บ้าน 4) ประชาชน 5) ปราชญ์ชาวบ้าน แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสาร วรรณกรรม และแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาพบว่า บทบาทผู้นำชุมชนในการอนุรักษ์โบราณสถานพระธาตุน้ำคำ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านบทบาทในอุดมคติผู้นำที่ดีต้องมาจากการเลือกตั้ง และผู้นำที่ต้องมีความสามารถในหลาย ๆ ด้าน เพื่อที่มีความสามารถในการดูแลและปกป้องประชาชนในหมู่บ้านให้มีความสุข 2) ด้านบทบาทที่บุคคลเข้าใจ ผู้นำต้องมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคได้ดี เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนรุ่นใหม่ได้ปฏิบัติตาม ปราถณาดีต่อคนอื่นเมื่อเวลามีปัญหาผู้นำต้องหยึดถือความถูกต้อง 3) ด้านบทบาทที่แสดงออกจริง ผู้นำบางคนไม่สามารถดูแลลูกบ้านได้ บางคนตึงเกินไป บางคนหย่อนเกินไป ไม่มีความพอดี ดังนั้นการจะปกครองลูกบ้านได้ต้องมีความยืดหยุ่นต้องมีประสบการณ์ในการทำงานกับคนอื่น มีประสบการณ์ในงานทำงานมากพอเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
Downloads
References
เฉลา ประเสริฐสังข์. (2560). ภาวะผู้นำทางการศึกษา. จันทบุรี : สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี.
ณัฎฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2554). การสื่อสารในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิตย์ สัมมาพันธ์. (2546). ภาวะผู้นำ : พลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : อินโนกราฟฟิกส์.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544) . ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์.
วรุตม์ สุนนทราช. (2555). การพัฒนาภาวะผู้นำ. [ ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://bit.ly/3vJHzEA. สืบค้น 25 เมษายน 2565.
วิเชียร วิทยอุดม. (2553). ภาวะผู้นา : ฉบับก้าวล้ายุค. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์.
สวนา พรพัฒน์กุล. (2550). ความสำนึกในหน้าที่พลเมืองของเด็กไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
สรวุฒิ แก้วปุ๋ย. (2560). ภาวะผู้นำและการจูงใจที่มีส่งผลต่อประสิทธิผลของงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา.
สกุลกานต์ โกสีลา. (2561). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหาร สถานศึกษากับความพึงพอใจในการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จังหวัดพะเยา. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา.
ปรียา พรหมจันทร์. (2542). การพัฒนาชุมชน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.scribd.com/pongdach/d/2 6833571. สืบค้น 21 เมษายน 2565.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ : ส.เอเชียเพรส.
admin bee. (2565). โบราณสถานคืออะไร., [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.misc.today/2022/03/archaeological-site.html. สืบค้น 10 เมษายน 2565.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 ณรงค์ศักดิ์ สายแวว, พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.