หน่วยงานทางปกครองกับการบริการสาธารณะ
DOI:
https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.7คำสำคัญ:
หน่วยงานทางปกครอง, การบริการสาธารณะ, ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองบทคัดย่อ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 3 กำหนดให้กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครองเป็น “หน่วยงานทางปกครอง” ซึ่งบทบาทสำคัญของหน่วยงานทางปกครองคือการจัดทำบริการสาธารณะ โดยส่วนราชการในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองโดยสภาพก็จะต้องจัดทำบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในภารกิจที่ไม่สามารถมอบให้องค์กรรูปแบบอื่นเข้ามาดำเนินการแทนได้ แต่หากรัฐจำเป็นต้องดำเนินกิจกรรมการบริการสาธารณะด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม ก็จะมีการตราพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาเพื่อจัดตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นมาโดยมีส่วนราชการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน หรือหากบางภารกิจซึ่งเป็นการบริการสาธารณะทางสังคมและวัฒนธรรม และต้องการความอิสระคล่องตัวในการทำงานโดยไม่มุ่งแสวงหากําไร รัฐอาจจัดตั้งหน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการและไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ หรือในรูปแบบองค์การมหาชนเพื่อจัดทำบริการสาธารณะ รวมไปถึงการมอบหมายให้องค์กรเอกชนหรือองค์กรวิชาชีพใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครองแทนรัฐในการจัดทำบริการสาธารณะด้วยเช่นกัน
อนึ่ง ภารกิจการจัดทำบริการสาธารณะอาจไม่ได้สัมพันธ์ไปกับนิยามของหน่วยงานทางปกครองตามนัยยะนี้ทั้งหมด เพราะนิยามของหน่วยงานทางปกครองดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องของการจัดระเบียบบริหารราชการของรัฐเพื่อให้มีการบังคับบัญชา ควบคุม หรือกำกับดูแลการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ใช้อำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายในการจัดทำบริการสาธารณะ
Downloads
References
กรพจน์ อัศวินวิจิตร. (2559). หลักนิติธรรมกับการบริการสาธารณะของรัฐ. เอกสารวิชาการส่วนบุคคล (Individual Study) หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 4 วิทยาลัยรัฐธรรมนูญู สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
นคร ณ ลำปาง. (2545). รูปแบบการบริการสาธารณะและคุณภาพของบุคลากรในหน่วยงานของรัฐ. ในคำบรรยายประกอบการประชุมสัมมนาวิชาการและการบริหารงานวิจัยประจำปี 2545 วันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2545. เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2560). หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับบริการสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.
พนารัตน์ มาศฉมาดล. (2563). กฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542. (2542, ตุลาคม 1). ราชกิจจานุเบกษา, 116(94ก).
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. (2542, พฤศจิกายน 17). ราชกิจจานุเบกษา, 48(114ก).
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534. (2534, กันยายน 4). ราชกิจจานุเบกษา, 108(156พิเศษ).
พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542. (2542, กันยายน 24). ราชกิจจานุเบกษา, 116(9ก).
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2559). มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ : นวัตกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. เอกสารอัดสำเนา.
สถาบันพระปกเกล้า. (ม.ป.ป.). หน่วยงานทางปกครอง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=หน่วยงานทางปกครอง. สืบค้น 4 ธันวาคม 2565.
สิทธิพร สลางสิงห์ และสิริพันธ์ พลรบ. (2563). การนำหลักบริการสาธารณะมาใช้ในคดีปกครอง. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 10. วันที่ 27 พฤศจิกายน 2563. หน้า 601-617. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ. (2558). หลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2563). รัฐวิสาหกิจไทยแหล่งรายได้รัฐบาลหรือภาระงบประมาณของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วรฉัตร วริวรรณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.