การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนหลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 บ้านใหม่ ตำบลตระแสง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.4คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การพัฒนาชุมชน, การแพร่ระบาดโรคโควิด 19บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพศักยภาพและแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนชุมชนบ้านใหม่ ตำบลตระแสง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้นำชุมชน ประชาชนทั่วไปและนักวิชาการ โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย ได้แก่การศึกษาเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนรวม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำข้อมูลมาสรุปและเสนอแนะ
ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพและศักยภาพและแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านใหม่ ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 3 ตำบลตระแสง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มีครัวเรือนทั้งหมด 252 ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น 1,071 คน จำแนกเป็นชาย 560 คน และหญิง 511 คน รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปีอยู่ที่ 100,000/คน/ปี อาชีพของคนในชุมชนส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ การทำเตาอั้งโล่ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณและการแสดงเรือมตรดที่เป็นการแสดงวัฒนธรรมของชาวบ้านในประเพณีสงกรานต์ ปราชญ์ชาวบ้าน คือ นายสาทิตย์ ฉ่ำชื่นใจ และคุณยายท่วม แก้วสมนึก ซึ่งเป็นปราชญ์ทางด้านเรื่องเตา/เครื่องปั้นดินเผา ประเพณีที่สำคัญ คือ ประเพณีสงกรานต์ (รำเรือมตรด) ซึ่งทางชาวบ้านใหม่เล่าว่า การแสดงเรือมตรดนี้มีมาตั้งแต่สมัย โบราณแล้ว เป็นการสืบทอดกันมาจะจัดขึ้นทุก ๆ วันสงกรานต์ เพื่อเป็นการขอทุนงบประมาณ ในการไปจัดกิจกรรมทำบุญในวันสงกรานต์ และแซนโฎนตา เดือน เดือน 10 อยู่ในช่วง เดือนสิงหาคม-ตุลาคมของทุก ๆ ปี กิจกรรมโดยสังเขป เป็นประเพณีที่แสดงถึงการกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้วโดยการทำบุญอุทิศส่วน และเป็นการร่วมตัวของญาติพี่น้องที่ไปอยู่ต่างจังหวัดได้กลับถิ่นบ้านเกิดของ ตัวเองและเป็นการเชิญชวนเยาวชนในหมู่บ้านเข้าวัด และ 2) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านใหม่ ตำบลตระแสง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 2) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 3) ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และ 4) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล
Downloads
References
ปรเมธี วิมลศิริ. (2560). ขับเคลื่อนแผนฯ 12 สู่อนาคตประเทศไทย. วารสารเศรษฐกิจและสังคมสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.54(2):2-6.
วชิราวรรณนิลเกตุ.(2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นกรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนต าบลบ้านเดื่อ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย.การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานโยบายสาธารณะบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรางคณาวัฒโย. (2540). แนวทางการทำแผนพัฒนาชุมชนโดยวิธีการมีส่วนร่วมของประชาชน:กรณีศึกษาสุขาภิบาลเจ้าเจ็ด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์สถาปัตยศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการผังเมืองบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิษณุ หยกจินดา.(2557).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่างตำบลทับไทร อำเภอโป่งนำร้อน จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.
สุกัลยา ประจิตร และโชติ บดีรัฐ. (2565).ผลกระทบและแนวทางแก้ไขของภาครัฐกับสถานการณ์โควิด-19. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
เสกสรรค์ สนวา, ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี และวิไลลักษณ์ ขาวสอาด. (2561).คุณลักษณะของผู้น า องค์การภาครัฐสมัยใหม่.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.1(2):402-403.
เสรีพงศ์พิศ. (2550).เศรษฐกิจพอเพียง.กรุงเทพฯ:เจริญวิทย์.
เอกสารคู่มือว่าด้วยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์.(2535). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์.[Online].เข้าถึงได้จาก:https://www.prachuapkhirikhan.go.th/_2018/files/com_rules/2019-06_00cc19742731f4d.pdf. สืบค้น 26 มกราคม 2566.
Phramaha Prakasit Sirimedho (Thitipasitthikron).(2013). Participation of People in Community Development of Sufficiency Economy Village of Ban Klong Mai Community, Sampran District, Nakhonpathom Province. Thesis of Master of Arts in Social Development Graduate School MahachulalongkornrajavidyalayaUniversity.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 ปรเมษฐ์ สีจันทา, วีรพงษ์ นิทะรัมย์, อลิสา สุวรรณัง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.