ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินนโยบายสาธารณะโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ในพื้นที่ตำบลโคกกลาง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • อธิมาตร เพิ่มพูน ผู้ช่วยนักวิจัย หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • วิเชียร พรมแก้ว คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.23

คำสำคัญ:

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, นโยบายสาธารณะ, โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ, 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย, ตำบลโคกกลาง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการและเพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินนโยบายสาธารณะโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ในพื้นที่ตำบลโคกกลาง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง จำนวน 34 คน ประกอบด้วย 1) กลุ่มภาคีเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่ ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบล เกษตรตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ท้องถิ่น หมอดิน และอาสาสมัครเกษตรกรต้นแบบ และ 2) กลุ่มผู้รับจ้างในโครงการฯ ได้แก่ บัณฑิตจบใหม่ นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการโครงการ โดยมีแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน การวางแผนงาน มอบหมายงาน เชื่อมประสานการดำเนินงานในพื้นที่กับหน่วยงานอื่น ๆ กำกับ ติดตามงานโดยการลงพื้นที่ภาคสนาม และรายงานผลการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง และ 2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินนโยบายสาธารณะโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ประกอบด้วยปัจจัย 7 ประการ ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านเปาหมายการแกปญหาความยากจนของชุมชน 2) ปัจจัยด้านประชากรกลุ่มเปาหมายและความครอบคลุม 3) ปัจจัยด้านงานและกิจกรรมในการแก้ปัญหา 4) ปัจจัยด้านเทคโนโลยีที่ใช้ 5) ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของหนวยงาน 6) ปัจจัยด้านบทบาทหนาที่ของหนวยงานหรือกลุมองคกรที่รับผิดชอบหลักและที่รวมปฏิบัติการ และ 7) ปัจจัยด้านผลปฏิบัติการและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

Downloads

Download data is not yet available.

References

คณะรัฐมนตรี. (2563). เห็นชอบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.). การประชุมคณะรัฐมนตรี 6 ตุลาคม 2563. กรุงเทพฯ : ทำเนียบรัฐบาล.

จิรายุ ทรัพย์สิน, วันชัย สุขตาม และสิริพัฒถ์ ลาภจิตร. (2563). หลักการและเหตุผล. โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ในพื้นที่ตำบลโคกกลาง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์

วิลดา อินฉัตร และอนันต์ ธรรมชาลัย. (2560). แนวทางการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของพื้นที่ภาคอีสานตอนใต้. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศักรินทร์ เสาร์พูน และประพนธ์ สหพัฒนา. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส: กรณีศึกษาแผนปฏิบัติการการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้พ.ศ. 2558-2560. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์. 17(2) : 1-21.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). แนวทางการบริหารโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ). กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-07-2023

How to Cite

เพิ่มพูน อ., & พรมแก้ว ว. (2023). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินนโยบายสาธารณะโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ในพื้นที่ตำบลโคกกลาง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(4), 15–38. https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.23