การตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามของกลุ่มผู้บริโภค Metrosexual ในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ปาลิดา เขียวชอุ่ม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • พิชญา รุ่งโรจน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • รพีภัทร ปราโมช คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • สิงหราช อุปพันธ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • ทัชชกร สัมมะสุต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.9

คำสำคัญ:

การตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงาม, ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ (7P’s), ปัจจัยผู้มีอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์, Metrosexual

บทคัดย่อ

         การวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ที่ส่งผลการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงาม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ส่งผลการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงาม 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ (7P’s) ที่ส่งผลการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงาม และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยผู้มีอิทธิพลทางสื่อออนไลน์ที่ส่งผลการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงาม การใช้บริการคลินิกเสริมความงามของกลุ่มผู้บริโภค Metrosexual ในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภค Metrosexual ในจังหวัดชลบุรีที่ใช้บริการคลินิกเสริมความงาม จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์สถิติใช้แบบสอบถามสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น และใช้วิธีการสุ่มแบบสะดวก ในการเก็บข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Person’s Correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 35-44 ปี จำนวน 120 คน 2) ปัจจัยรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ พบว่า ด้านที่มีระดับเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านกิจกรรม รองลงมาคือ ด้านความสนใจ ด้านความคิดเห็น ตามลำดับ

         จากการศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ (7P’s)  พบว่า ด้านที่มีระดับเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านพนักงาน ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา รองลงมา คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ จากการศึกษาปัจจัยผู้มีอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า ด้านที่มีระดับเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านความน่าเชื่อถือ รองลงมา คือ ด้านดึงดูดใจ 3) จากการศึกษาความสัมพันธ์ของการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามของกลุ่มผู้บริโภค Metrosexual ในจังหวัดชลบุรี พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล อาทิ อายุระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ต่อเดือน อาชีพ ปัจจัยรูปแบบการดำเนินชีวิต อาทิ ด้านกิจกรรม ด้านความสนใจ ด้านความคิดเห็นในการตัดสินใจใช้บริการ ปัจจัยส่วนประสบการตลาดบริการ (7P’s) อาทิ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด พนักงาน กระบวนการ ลักษณะทางกายภาพในการตัดสินใจใช้บริการ และ 4) ปัจจัยผู้มีอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ ความดึงดูดใจ ความน่าเชื่อถือในการตัดสินใจใช้บริการ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามของกลุ่มผู้บริโภค Metrosexual ในจังหวัดชลบุรี คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

References

จิตติมา ศิริมงคล. (2554). การศึกษาปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และการสื่อสารแบบครบวงจร (IMC) มีผลต่อพฤติกรรมตัดสินใจใช้บริการคลินิกผิวหนังและความงามของผู้บริโภคเพศหญิงในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐกานต์ บุญนนท์. (2550). รูปแบบการดำเนินชีวิต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.pol.cmu.ac.th. สืบค้น 17 ธันวาคม 2566.

มาเก็ตเทียร์. (2566). ผู้หญิงอย่าหยุดสวยดันตลาดเสริมความงามไทยโตรับอานิสงส์เปิดประเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://marketeeronline.co/archives/292227. สืบค้น 21 ธันวาคม 2566.

วสิษฐ์ อุทาสิน และ สมพล ทุ่งหว้า. (2554). พฤติกรรมและปัจจัยการตัดสินใจใช้บริการสถานเสริมความงามของลูกค้าในเขตเทศบาลสมุทรสาคร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรีดา ศานติวงษ์การ. (2561). ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าในการซื้อผลิตภัณฑ์จากร้านขายยาเดอะฟาร์มาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

Beig, F. A., & Khan, M. F. (2018). Impact of Social Media Marketing on Brand Experience: A Study of Select Areal Brands on Facebook. Journal of Business Perspective. 22(3) : 264-275.

Coelho, R. L. F. et al. (2016). Does social media matter for post typology? Impact of post content on Facebook and Instagram metrics. [Online ]. Available : Online Information Review. Retrieved 17 December 2023.

Cochan, W. G. (1977). Sampling Techniques. 3rd edition. New York: John Wiley & Sons.

Shama, R.,Ahuja,V., & Alavi, S. (2018). The Future Scope of Netnography and Social Analysis in the Field of Marketing. Journal of Internet Commerce. 17(1) : 26-45.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-04-2024

How to Cite

เขียวชอุ่ม ป., รุ่งโรจน์ พ., ปราโมช ร., อุปพันธ์ ส., & สัมมะสุต ท. (2024). การตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามของกลุ่มผู้บริโภค Metrosexual ในจังหวัดชลบุรี. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 2(2), 13–28. https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.9