แนวทางการอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของวัดในสมัยเจ้าแม่จามเทวีวงศ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของวัดในสมัยเจ้าแม่จามเทวีวงศ์ การนำพระพุทธศาสนาจากกรุงละโว้ขึ้นมาเผยแพร่ในหริภุญชัยนครของพระนางจามเทวี ได้ทูลขอพระราชทานช่างต่าง ๆ เช่น สถาปัตยกรรม วิศวกร นักประติมากรรม แพทย์ โหราจารย์ เศรษฐวานิช กรรมกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระไตรปิฎกและพระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกอีกด้วย การอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของวัด คือ 1. วัดกู่ระมัก (วัดรมณียาราม) ควรมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในวัด ทำการขุดค้นและสังเคราะห์ข้อมูลทางโบราณคดีเพิ่มเติม 2. วัดสังฆาราม (ประตูลี้) ควรมีแผนงานเชื่อมโยงการท่องเที่ยว และจัดทำแผนการท่องเที่ยวเชื่อมโยงวัดพระธาตุหริภุญชัยและวัดสี่มุมเมือง 3. วัดมหาวัน (มหาวนาราม) ควรมีมีการวางแผนการใช้พื้นที่และการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในวัดให้มีความร่มรื่น 4. วัดพระคงฤาษี (อาพัทธาราม) ควรมีการวางแผนการใช้พื้นที่และการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในวัด การปฏิสังขรณ์ ฟื้นฟูวัดให้มั่นคง ยั่งยืน 5. วัดดอนแก้ว (เชตวัน) ควรมีปรับปรุงภูมิทัศน์สระน้ำรอบพื้นที่ เพื่อแสดงขอบเขต แผนงานเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน 6 .วัดจามเทวี (อรัญญิกรัมมการาม) ควรศึกษาทางโบราณคดีเพิ่ม ปรับปรุงภูมิทัศน์และป้ายแสดงความสำคัญของโบราณสถาน 7. วัดสันป่ายางหลวง (มาลุวาราม) ควรมีแผนงานเผยแพร่ความรู้ ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองลำพูนสู่ความสู่ยั่งยืนในปัจจุบันและในอนาคต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมศิลปากร. (2531). วิทยาศาสตร์กับการอนุรักษ์มรดกไทย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พจำกัด.
กรมศิลปากร. (2556). คู่มือปฏิบัติงานอาสาสมัครท้องถิ่น ในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.).
กรุงเทพมหานคร: สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ.
ฉัตรยุพา สวัสดิพงษ์. (2522). วรรณกรรมท้องถิ่น. ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประเสริฐ ณ นคร และปวงคำ ตุ้ยเขียว. (2537). ตำนานมูลศาสนาเชียงใหม่และเชียงตุง.กรุงเทพมหานคร: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
ประคอง นิมมานเหมินท์. (2517). ลักษณะวรรณกรรมภาคเหนือ. (กรุงเทพมหานคร: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
มณี พะยอมยงค์. (2529). ประเพณีสิบสองเดือน ล้านนาไทย. โครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประสิทธิ์ เพชรรักษ์. (2532). แม่จามเทวี เล่า. ลำพูน: ลานนาการพิมพ์.
พรรณงาม ชพานนท์. (2526). ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม. ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัดพระคงฤาษี. (2556). เล่าขานประวัติวัดพระคงฤาษี (อาพัทธาราม) พุทธปราการด้านอุตระทิศ (ทิศเหนือ) เผยแพร่เนื่องในงานทำบุญอายุวัฒนมงคล 6 รอบ 72 ปี “พระครูอมรสันติคุณ” เจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษี. ม.ป.ท.: ม.ป.พ..
สำนักงานศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่. (2548). งานวิเคราะห์คุณค่าโดดเด่นและศักยภาพของเมืองลำพูน. เชียงใหม่: เฌอ กรีน.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2540). แผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าลำพูน. ม.ป.ท.: ม.ป.พ..
แสง มนวิทูร. (2552). ชินกาลมาลีปกรณ์. จัดพิมพ์ในงานทำบุญอายุวัฒนมงคล พระครูสุวัตถิ์ปัญญาโสภิต วัดแสนเมืองมาหลวง (หัวข่วง) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.
พิมพ์ครั้งที่ 8. เชียงใหม่: ม.ป.พ..
สุรพล ดำริห์กุล และคณะ. (2549). “พระพิมพ์สกุลลำพูนจากล้านนาสู่สากล”. ใน สืบศิลป์ สานศรัทธา อนุรักษ์คุณค่า พระบูชา พระเครื่องล้านนา.เชียงใหม่: โรงพิมพ์นันทกานต์.
เอมอร ชิตตะโสภณ. (2532). ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมล้านนากับวรรณกรรมประจำชาติ. ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2522). ความรู้พื้นฐานด้านลานนาคดี : ประวัติศาสตร์ วรรณกรรมลานนา เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำรามหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Feilden and Jokilehto. (1998). อ้างถึงใน วิวรณ์ สีหนาท. “การศึกษาแนวทางการพัฒนาอาคารเพื่อการอนุรักษ์ชุมชนในพื้นที่ลุ่มคลอง กรณีศึกษา: คลองอ้อมนนท์และคลองบางกอกน้อย จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต การวางแผนภาคและเมือง. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง.