PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj <p>PAAT Journal หรือ วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย (Public Administration Association of Thailand Journal) มีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ 1) เพื่อส่งเสริมเผยแพร่ผลงานและทัศนะทางวิชาการสาขารัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ การบริหารกิจการสาธารณะ รัฐศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อเป็นการพัฒนาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ของประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้า 3) เพื่อเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ของสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทยกับสมาชิกของสมาคมฯ และสังคม</p> th-TH thaipaat@gmail.com (ศาสตราจารย์ ดร.อัมพร ธํารงลักษณ์ ) krutchon@gmail.com (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวนธง ครุฑจ้อน) Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 รูปแบบการบริหารจัดการตามแนวคิดเมืองยุติธรรม (The Just City) สำหรับการแก้ไขปัญหาปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1115 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ประการแรกคือ วิเคราะห์สถานการณ์และสาเหตุปัญหาของปริมาณฝุ่น PM 2.5 และประการที่สอง การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการตามแนวคิดเมืองยุติธรรม (The Just City) สำหรับการแก้ไขปัญหาปริมาณของฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย เพื่อเกิดข้อเสนอแนะรูปแบบในการบริหารจัดการตามแนวคิดเมืองยุติธรรม บทความนี้ใช้วิธีการศึกษาโดยการทบทวนวรรณกรรมจากข่าวสาร บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ปัญหาฝุ่น PM 2.5 มีสาเหตุจากการเผาในที่โล่ง การปล่อยไอเสีย การจราจร อุตสาหกรรม และหมอกควันข้ามแดน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชน สำหรับการบริหารจัดการตามแนวคิดเมืองยุติธรรม ประกอบด้วยหลักความเสมอภาค (equity) ซึ่งในทางปฏิบัตินโยบายของรัฐยังไม่เกิดความเสมอภาคต่อกลุ่มเปราะบางทางสังคม หลักความหลากหลาย (diversity) นโยบายห้ามเผา (zero burn) ของรัฐยังขาดความเข้าใจถึงความแตกต่าง หลากหลายของกลุ่มคนในสังคม และหลักความเป็นประชาธิปไตย (democracy) ก็ยังไม่สอดคล้องกับหลักการ ขาดการกระจายอำนาจ และขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น รัฐบาลจะต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดของกลุ่มเปราะบางทางสังคม ส่งเสริมให้ชุมชนพื้นเมืองมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางพัฒนาพื้นที่อย่างเสมอภาคกับชุมชนอื่น รัฐบาลจะต้องสร้างมาตรการจูงใจให้กับเกษตรกรโดยหาวิธีการใหม่แทนการเผา การยอมรับความแตกต่างหลากหลายในการจัดการผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น การกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจมีส่วนร่วมในการดูแลระบบนิเวศในฐานะผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย และภาคประชาชนทั่วไปจะต้องมีส่วนร่วมในการลดมลพิษทางอากาศ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่เมืองที่มีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีและเป็นธรรมกับทุกภาคส่วนในสังคม</p> พัชราพรรณ ชอบธรรม, สิมินตราพร สุรินทร์ Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1115 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การตอบสนองของประเทศอินโดนีเซียต่อวิกฤตการณ์ทางมนุษยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: กรณีศึกษาโรฮิงญา ค.ศ. 2009-2019 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1141 <p>แม้ว่าประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนจำนวนหนึ่งถือว่าเหตุการณ์วิกฤตการณ์ทางมนุษยธรรมในรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมา เป็นกิจการภายในของประเทศ แต่ประเทศอินโดนีเซียเป็นหนึ่งในผู้แสดงที่มีบทบาทนำที่ให้ความใส่ใจต่อวิกฤตการณ์ทางมนุษยธรรมครั้งนี้ จากมุมมองของสรรสร้างนิยม (constructivism) การศึกษานี้ มุ่งให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับผลของพฤติกรรมทางการเมืองของประเทศอินโดนีเซีย จากสองปัจจัยสำคัญ ได้แก่ อุดมการณ์ทางการเมือง และผู้แสดงบทบาทภายในของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีการปฏิสัมพันธ์ภายใต้สองรัฐบาล ได้แก่ ช่วงที่หนึ่ง รัฐบาลซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน (สมัยที่สอง) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009-2014 และช่วงที่สอง รัฐบาลโจโก วิโดโด (สมัยที่หนึ่ง) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014-2019 บทความฉบับนี้ถกเถียงว่า ปัจจัยที่หล่อหลอมความเป็นอัตลักษณ์ทางการเมืองของประเทศอินโดนีเซีย ส่งผลต่อการผลักดันท่าที และนโยบายการต่างประเทศของอินโดนีเซียในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศเมียนมา และรวมไปถึงประเทศอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ</p> อัครพล กัลยานุกูล Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1141 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาอย่างยั่งยืนกับวิสาหกิจเพื่อสังคม https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1335 <p>หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่นอกจากจะมีความความทันยุคทันสมัยแล้วยังเป็นสิ่งที่มีเนื้อหาสาระที่ในต่างประเทศให้ความสนใจอย่างมากทั้งเรื่องของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ตามที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดและมีการนำแนวคิดดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติโดยรัฐบาลของนานาประเทศทั่วโลก มีการกำหนดออกมาเป็นนโยบายสาธารณะ มาตรการต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมายภายในปี ค.ศ. 2030 รวมถึงแนวคิดที่วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ถือได้ว่ายังมีคนจำนวนมากที่ยังไม่เข้าใจในความหมายที่แท้จริง ต่างตีความตามความเข้าใจของแต่ละบุคคลหรือแต่ละองค์การ</p> พิเชษฐ พิณทอง Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1335 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางในการจัดการน้ำเสียในชุมชนเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/904 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแนวทางในการจัดการน้ำเสียในชุมชนเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุของน้ำเสียในชุมชนเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของน้ำเสียในชุมชนเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการปัญหาน้ำเสียในชุมชนเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก 1) ตัวแทนเทศบาลเมืองนราธิวาส จากตัวแทนสำนักการช่าง ตัวแทนฝ่ายพัฒนาชุมชน และตัวแทนกรรมการชุมชนใน 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนกาแลตาแป ชุมชนกาแลปาแย และชุมชนชายทะเล รวมจำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการเลือกสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ 2) ตัวแทนประชาชนใน 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนกาแลตาแป ชุมชนกาแลปาแย และชุมชนชายทะเล ตัวแทนประชาชนชุมชนละจำนวน 10 คน รวมจำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอ้างอิงด้วยบุคคลและผู้เชี่ยวชาญ (snowball sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แก่นสาระ (thematic analysis)<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) สาเหตุของน้ำเสียในชุมชน พบว่า สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เกิดจากภายในชุมชนที่เป็นพฤติกรรมของประชาชนในการปล่อยน้ำเสีย และการทิ้งขยะลงสู่แม่น้ำโดยตรง และส่วนที่มาจากภายนอกชุมชนน้ำเสียมาจากท่อระบายน้ำเสียของเมืองที่ไม่มีระบบการจัดการหรือการบำบัดน้ำเสียก่อนระบายลงสู่แม่น้ำ 2) ผลกระทบที่ประชาชนได้รับจากปัญหาน้ำเสีย ประกอบด้วยหลายด้าน (1) ด้านการดำรงชีวิต พบว่า มีกลิ่นเน่าเหม็น ขยะลอยมาติดที่ใต้ถุนบ้าน ทำให้เกิดปัญหาขยะเพิ่มขึ้น (2) ด้านสุขอนามัย พบว่า เป็นแหล่งเพาะยุงที่เป็นพาหะของเชื้อโรค เช่น ไข้เลือดออก และเป็นแหล่งที่สามารถแพร่กระจายเชื้อโรคได้ง่าย (3) ด้านการประกอบอาชีพ พบว่า คนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีอาชีพประมง ทำให้ปลาในกระชังตาย เพราะมลพิษทางน้ำ (4) ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า เกิดน้ำดำ โคลน ทำให้ทัศนียภาพในชุมชนสกปรก 3) แนวทางในการจัดการปัญหาน้ำเสียในชุมชน พบว่า ควรมีการรณรงค์ปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม และการอบรมให้ความรู้ในการสร้างบ่อดักไขมันอย่างง่ายภายในครัวเรือน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถบำบัดน้ำเสียเบื้องต้นจากครัวเรือนได้ การสร้างระบบท่อส่งน้ำเสียไปบำบัดที่บ่อน้ำเสียรวมในชุมชน รวมถึงการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองช่าง กองสาธารณสุขของเทศบาลเมืองนราธิวาสเพื่อดูแลและการบริหารน้ำเสียในชุมชน</p> ฮากีมี สะแปอิง, รุสชีลาวาตี บินดอเลาะ, มูฮำมัดซารีฟี ซาสือรี, ฟิรดาว ลูโบะเด็ง, เปาซี วานอง, อิบรอฮิม สารีมาแซ Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/904 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการพัฒนาตัวแบบแผนที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1113 <p>บทความนี้ตั้งต้นด้วยคำถามว่า ตัวแบบแผนที่ทางวัฒนธรรมในยุคดิจิทัลที่ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานีควรเป็นอย่างไร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการท่องเที่ยวและพัฒนาตัวแบบการเกาะเกี่ยวที่เกิดขึ้นภายในแผนที่ทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานี และ 2) เพื่อพัฒนากระบวนการพัฒนาตัวแบบแผนที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี</p> <p>จากการศึกษาพบว่า ห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานีมีความเชื่อมโยงกัน ด้วยสถานที่ และกิจกรรมการท่องเที่ยว เน้นการท่องเที่ยวชุมชนที่มีความโดดเด่นในมิติของความเชื่อและความศรัทธา นอกจากนี้มีสินค้าและผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะสินค้าจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ตลอดจนการให้บริการและกิจกรรมการท่องเที่ยวหลายรูปแบบ ซึ่งผลิตภัณฑ์และการบริการจะช่วยเพิ่มมูลค่าตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยว แต่การออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานีมีข้อจำกัด สถานที่แต่ละแห่งอยู่ไกลจากกัน ไม่มีบริการรถขนส่งสาธารณะ ดังนั้น ตัวแบบแผนที่ทางวัฒนธรรมในยุคดิจิทัลที่ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี ควรระบุความสัมพันธ์เครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างสถานที่ท่องเที่ยวและชุมชนโดยนำเสนอเรื่องราว และคุณค่า เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงการท่องเที่ยวชุมชน รวมถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาอำนวยความสะดวก การจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรมในรูปแบบออนไลน์ กำหนดให้มีการค้นหาอัตลักษณ์ และเส้นทางตามความต้องการของนักท่องเที่ยว จะก่อให้เกิดการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นจากกระจุกเป็นกระจาย</p> กัลยรักษ์ ลิ่มโอภาสมณี Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1113 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาศักยภาพนวัตกรชุมชนผ่านนวัตกรรมอัตลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อการจัดการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจ BCG พื้นที่ตำบลท่าหมอไทร อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1126 <p>วัตถุประสงค์เพื่อ 1.การพัฒนาศักยภาพของนวัตกรชุมชนผ่านโครงการ U2T 2.เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อการจัดการท่องเที่ยวชุมชน 3.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบจากผลไม้ลดเปรี้ยวที่ล้นตลาดในท้องถิ่น โดยงานวิจัยจะถูกรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการลงพื้นที่จริง การสังเกตการณ์ สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยคัดเลือกกลุ่มประชากรผ่านการสัมภาษณ์ในโครงการU2T ในตำบลท่าหมอไทร จ.สงขลา จำนวน 20 คน นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ออกแบบขั้นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content-Analysis) เป็นการนำข้อมูล เอกสาร วิเคราะห์พรรณนา อธิบายปรากฎการณ์จากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1.นวัตกรชุมชนตำบลท่าหมอไทรสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้เรื่องการใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และ Lean Canvas Model 2.การสร้างอัตลักษณ์ในท้องถิ่นเพื่อการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนของคนท่าหมอไทรกับงานนัดพบที่นบต้นปริง ครั้งที่ 1 และ 3.ผลิตภัณฑ์ต้นแบบน้ำยาเอนกประสงค์ผลไม้รสเปรี้ยว ANN CLEAN TAMORSAI</p> จิดาภา สุวรรณฤกษ์ Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1126 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 สมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภายหลังการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1136 <p>บทความการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภายหลังการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นด้วยวิธีการประเมินสมรรถนะหลักของบุคลากรก่อนและหลังการถ่ายโอนภารกิจจากกระทรวงสาธารสุขมายังองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นในบุคลากร 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบริหาร กลุ่มบริการสุขภาพ และกลุ่มวิชาชีพ เป็นจำนวนรวม 329 ตัวอย่าง นำมาวิเคราะห์และลักษณะสำคัญของสมรรถหลัก 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2) ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม 3) ด้านความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน 4) ด้านการบริการเป็นเลิศ 5) ด้านการทำงานร่วมกันเป็นทีม</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 3 กลุ่มภายหลังการถ่ายโอนภารกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 5.21 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.57 สมรรถนะด้านการบริการเป็นเลิศและด้านการทำงานร่วมกันเป็นทีมมีผลการประเมินสูงที่สุดเป็นสองอันดับแรก ทั้งนี้ ควรทำการเสริมทักษะและสร้างความรู้ความเข้าใจระหว่างองค์กรผ่านการสัมมนาการเรียนรู้องค์กร การทำงานร่วมกันเป็นทีม การผลิตตัวชี้วัดการทำงานร่วมกัน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจและสามารถพัฒนาสมรรถนะหลัก</p> เกียรติศักดิ์ วิจิตรเชื้อ Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1136 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การประเมินการบริหารจัดการองค์กรตามแนวคิด 7S McKinsey ของสมาคมผู้บริโภคสงขลา หน่วยงานประจำจังหวัดสงขลา สภาองค์กรของผู้บริโภค https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1139 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการบริหารจัดการภายในองค์กรตามแนวคิด 7S McKinsey ของสมาคมผู้บริโภคสงขลา หน่วยงานประจำจังหวัดสงขลา สภาองค์กรของผู้บริโภค โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสารที่เก็บรวบรวมจากเอกสารและรายงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง และการวิจัยภาคสนาม มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 6 คน ได้แก่ หัวหน้าหน่วยและบุคลากรในหน่วยงานประจำจังหวัดสงขลา ด้วยเทคนิคสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนาและภาพวิเคราะห์ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ผลการประเมินการบริหารจัดการภายในองค์กรตามกรอบแนวคิด McKinsey’s 7S ในภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ส่วนที่เป็นองค์ประกอบรูปธรรม ด้านกลยุทธ์และด้านโครงสร้างองค์กรอยู่ในระดับสูงนับเป็นจุดแข็ง ด้านระบบอยู่ในระดับปานกลางนับเป็นจุดที่ควรพัฒนา สำหรับส่วนองค์ประกอบนามธรรม ด้านค่านิยมร่วมและด้านรูปแบบการบริหารอยู่ในระดับสูงนับเป็นจุดแข็ง ด้านบุคลากรและด้านทักษะอยู่ในระดับปานกลางเป็นจุดที่ควรพัฒนา ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นชุดข้อมูลเพื่อการวางแผนยุทธศาสตร์และเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาศักยภาพองค์กร โดยตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบงานและการบริหารทุนมนุษย์อย่างเป็นระบบเพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น</p> ธัญรดี ทวีกาญจน์ Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1139 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความพร้อมในการเปิดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1145 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน ในการเปิดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยฯ จำนวน 3 คน เกี่ยวกับความพร้อมในการเปิดหลักสูตรฯ วิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลการศึกษาด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับการวิเคราะห์สรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพร้อมด้านระบบโครงสร้างองค์การ วิทยาเขตฯ มีความพร้อมในการเป็นหน่วยจัดการศึกษา และมีความเป็นพหุวิทยาการสามารถจัดการศึกษาได้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ 2) ความพร้อมด้านนโยบาย พบว่า มหาวิทยาลัยฯ มีนโยบายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน อันเป็นปัจจัยสนับสนุนในการเปิดหลักสูตรฯ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพสามารถทำงานเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตนเอง 3) ความพร้อมด้านบุคลากร พบว่า วิทยาเขตฯ มีความพร้อมในส่วนของบุคลากรสายสนับสนุน แต่ยังขาดความพร้อมของบุคลากรสายวิชาการ ซึ่งต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด 4) ความพร้อมด้านทรัพยากรอื่นๆ พบว่าวิทยาเขตฯ มีความพร้อมด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก แต่งบประมาณในการบริหารจัดการบางส่วนจะขึ้นอยู่กับจำนวนนักศึกษา และ 5) ความพร้อมของชุมชน พบว่าพื้นที่ชุมชนหลายแห่งสามารถเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา นอกจากนี้ ประชาชนให้ความสนใจและพร้อมสนับสนุนให้บุตรหลานเข้าศึกษาต่อหากมีการเปิดหลักสูตรฯ และส่วนราชการในพื้นที่ก็สนใจทำข้อตกลงให้บุคลากรเข้าศึกษาต่อเช่นกัน</p> อนุพงค์ บัวเงิน Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1145 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความสำเร็จของเครือข่ายความร่วมมือในการทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบ้านแม่ตุงติง ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1155 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสำเร็จของการดำเนินงานของเครือข่ายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของบ้านแม่ตุงติง และ 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานของเครือข่ายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของบ้านแม่ตุงติงและแนวทางการแก้ไขปัญหา งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ผลการศึกษาพบว่า 1) การดำเนินงานของเครือข่ายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของบ้านแม่ตุงติง มีคุณลักษณะร่วมกัน ได้แก่ การรับรู้มุมมองที่เหมือนกัน การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน การมีความสนใจหรือผลประโยชน์ร่วมกัน การมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคนในเครือข่าย การเสริมสร้างซึ่งกันและกัน การเกื้อหนุนพึ่งพากัน และการมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงแลกเปลี่ยน 2) ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข ประกอบด้วย (1) ควรมีการประสานงานความร่วมมือในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระดับกลุ่มย่อย (2) ความรู้กฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของประชาชนยังไม่เพียงพอ ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายให้กับราษฎร และ 3) หน่วยงานบางหน่วยงานไม่ได้เข้ามามีบทบาทอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับราษฎรบางส่วนไม่มีเวลาในการทำกิจกรรมของเครือข่าย หน่วยงานในพื้นที่ควรสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานราชการที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และมีการกำกับดูแลติดตามการดำเนินงานให้มีความต่อเนื่อง</p> น้ำทิพย์ กาศรีวิชัย Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1155 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 จริยธรรมการวิจัย: การปฏิบัติตามแนวคิดต่างตอบแทนในการวิจัยด้วยการให้ สิ่งตอบแทนแก่ผู้เข้าร่วมโครงการในการวิจัยเชิงคุณภาพ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1035 <p>บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอแนวคิดและแนวทางเกี่ยวกับหลักการจริยธรรมการวิจัยและหลักการจริยธรรมต่างตอบแทนว่าด้วยการให้สิ่งตอบแทนแก่ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยในการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการโดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องแล้วสกัดข้อมูลออกมาใช้เป็นฐานในการเขียนบทความนี้ ขอบเขตของบทความประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยเชิงคุณภาพ หลักการจริยธรรมการวิจัย หลักการจริยธรรมต่างตอบแทน การให้สิ่งตอบแทนแก่ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย โดยนำเสนอกระบวนการและขั้นตอนในการกำหนดค่าตอบแทนและกระบวนการและขั้นตอนในการจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยซึ่งเป็นการสังเคราะห์จากการศึกษาในการเขียนบทความนี้</p> จำเนียร จวงตระกูล, นิวรัตน์ วิจิตรกุลสวัสดิ์, ศิวะพร ภู่พันธ์, สยาม อัจฉริยประภา Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1035 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700