PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj <p>PAAT Journal หรือ วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย (Public Administration Association of Thailand Journal) มีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ 1) เพื่อส่งเสริมเผยแพร่ผลงานและทัศนะทางวิชาการสาขารัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ การบริหารกิจการสาธารณะ รัฐศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อเป็นการพัฒนาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ของประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้า 3) เพื่อเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ของสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทยกับสมาชิกของสมาคมฯ และสังคม</p> สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย th-TH PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) 2730-1796 วิเคราะห์ วิจารณ์ และวิสัยทัศน์ ต่อกรณีกระแสความเคลื่อนไหวทางการเมือง ในปัจจุบัน ที่มีผลกระทบต่อระบบการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน ในปัจจุบัน https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/888 <p>ประเด็นที่น่ากังวลใจสำหรับการปกครองและการบริหารราชการของประเทศในปัจจุบัน</p> เมฆินทร์ เมธาวิกูล Copyright (c) 2023 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 5 10 1 6 บทบาทของครูคืนถิ่นต่อการคิดค้นและสร้างนวัตกรรมการศึกษาบนฐานคิดอัตถิภาวนิยม https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/924 <p class="Default" style="margin-left: 0in; text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 0in; tab-stops: 35.45pt;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางการได้มาซึ่งนวัตกรรมการศึกษาจากผลผลิตของครูคืนถิ่น ผ่านกระบวนการขบคิดที่อยู่บนฐานของภูมิปัญญาจากอดีตที่ผ่านมา และนำมาร้อยเรียงต่อกันจนเกิดเป็นภูมิหลังที่แข็งแกร่ง โดยอาศัยปรัชญาอัตถิภาวนิยมที่มีความเชื่อว่ามนุษย์มีเสรีภาพทางความคิด </span><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;"><span lang="TH">มีอิสระในการกระทำ และมีความกล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาอย่างชาญฉลาด ประกอบกับครูจะต้องพยายามลดระยะห่างระหว่างข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์กับความเป็นไปได้เชิงปฏิบัติ ซึ่งครูจำเป็นต้องอุทิศตนในการเข้าร่วมฝึกอบรมหรือเรียนรู้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการคิดอย่างถาวร พร้อมทั้งจะต้องมีเครือข่ายในการทำงานร่วมกันเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลย้อนกลับอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การคิดค้นและการสร้างนวัตกรรมการศึกษาจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากนโยบาย กฎระเบียบ และข้อบังคับของสถานศึกษาไม่เอื้อต่อการมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยไร้ความกังวล เมื่อครูสามารถคิดค้นและสร้างนวัตกรรมการศึกษาได้แล้ว สิ่งสำคัญต่อมา คือ การนำไปปรับใช้ภายใต้เงื่อนไขของกระบวนการหล่อหลอมร่วมกับวัฒนธรรมองค์กรในบริบทของสถานศึกษา ซึ่งถือเป็นรูปแบบของการกระตุ้นเพื่อให้เกิดการตื่นรู้ในบทบาทของความเป็นครู ตลอดจนยังเป็นการสร้างแรงกระเพื่อมทั่วทั้งองค์กรในการยึดถือและนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม</span></span></p> กิตติพงษ์ เพียรพิทักษ์ Copyright (c) 2023 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 5 10 93 108 การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างทั้งในด้านการวิเคราะห์ และการวิจัยในสังคมศาสตร์ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/956 <p style="font-weight: 400;">ในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่กำลังได้รับความสนใจเป็นพิเศษในการประยุกต์ใช้เพื่อช่วยงานวิจัยในด้านต่าง ๆ บทความนี้วิเคราะห์วิวัฒนาการการเรียนรู้ของเครื่องจักรตลอดจนการถือกำเนิดของโมเดลภาษาขนาดใหญ่ โดยจะเน้นการวิเคราะห์ไปที่โครงการของ DARPA ในการผสมผสานวิจัยคุณภาพและวิธีการคำนวณที่ขั้นสูงโดยเฉพาะผ่านโครงการ Next Generation Social Science (NGS2) และ Ground Truth (GT) ต่อมาโครงการเหล่านี้จะมีพัฒนาการเปลี่ยนเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ในสังคมศาสตร์ (Computational Social Science) และกระบวนวิธีวิจัยแบบผสมผสานซึ่งจะรวมวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (QUAL) และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (QUAN) ซึ่งจะทำให้งานวิจัยมีความครอบคลุมหลากหลายมากขึ้น แต่แม้ว่าปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างจะมีศักยภาพมาก แต่ยังมีโอกาสที่จะผิดพลาดหรือที่เรียกกันว่าการเกิด “การหลอน” (Hallucination) ในบทความนี้จะพูดถึงมาตรการในการเพิ่มความเที่ยงตรงเรื่องนี้ นอกจากนี้บทความนี้ยังกล่าวถึงตัวอย่างการนำปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างมาใช้งานจริงเพื่อตรวจจับแนวโน้มและการสร้างฉากทัศน์แบบอัตโนมัติ</p> กานต์ ยืนยง Copyright (c) 2023 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 5 10 109 131 กลไกความร่วมมือระหว่างกันของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ต่อการออกแบบสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางในประเทศไทย https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/936 <p>บทความนี้วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในการออกแบบสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง โดยใช้กรณีศึกษาจากสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางในต่างประเทศ และ (2) นำเสนอแนวคิดกลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อมาใช้ในการออกแบบสกุลเงินดิจิทัลที่อยู่ระหว่างการศึกษาและทดลองของประเทศไทย</p> <p>สกุลเงินดิจิทัลเป็นเรื่องใหม่ที่ธนาคารกลางทั่วโลกให้ความสนใจศึกษาค้นคว้า ในขณะที่ธนาคารกลางในต่างประเทศบางแห่ง เช่น ธนาคารกลางประเทศจีน และธนาคารกลางประเทศบาฮามาส ได้พัฒนาสกุลเงินดิจิทัลสำหรับภาคประชาชนออกใช้งานจริงในวงกว้าง ภายใต้กลไกความร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ ต่อการออกแบบสกุลเงินดิจิทัลในฐานะบริการสาธารณะที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ บทความนี้นำเสนอถึงแนวคิดการออกแบบสกุลเงินดิจิทัลโดยธนาคารกลางที่รวบรวมจากบทความและงานวิจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมถึงศึกษาจากกรณีศึกษาของธนาคารกลางของประเทศจีน และธนาคารกลางของประเทศบาฮามาส ผู้เขียนพบว่า กรณีศึกษาจากทั้ง 2 ประเทศมีความสอดคล้องกันในเรื่องแนวคิดความร่วมมือระหว่างกันของภาคส่วนต่างๆ โดยมีการร่วมมือกันในการออกแบบและพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของประเทศ ซึ่งบทความนี้ได้ใช้เป็นแนวทางในการนำเสนอแนวคิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมต่อการออกแบบสกุลเงินดิจิทัลสำหรับประเทศไทย โดยการนำทฤษฎีการจัดการความร่วมมือภาครัฐแนวใหม่ และการมีส่วนร่วมของประชาชนมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้กระบวนการออกแบบสกุลเงินดิจิทัลของประเทศไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด</p> อรนารถ วรรณภิญโญ Copyright (c) 2023 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 5 10 132 142 หลักจริยธรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐยุคใหม่ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/933 <p style="font-weight: 400;">บทความวิชาการนี้มุ่งเน้นนำเสนอเรื่อง 1. แนวคิดเกี่ยวกับหลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ 2. จริยธรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อทบทวนแนวคิด ทฤษฎีของหลักจริยธรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐยุคใหม่ 2) เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญในการนำหลักจริยธรรมมาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 3) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ของหลักจริยธรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้กับผู้บริหารและบุคลากรภายในภาครัฐเพื่อที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคศตวรรษที่21 ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วย 4 หลักการสำคัญได้แก่ การสรรหาและคัดเลือก การพัฒนาศักยภาพ การจัดสวัสดิการและผลตอบแทน การจูงใจ และมีหลักการที่เหมาะสมสำหรับนำมาปรับใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรได้แก่ 1. หลักสังคหวัตถุ4 2. มรรค 8 3. หลักอิทธิบาท 4 4. หลักพรหมวิหาร 4 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคใหม่นั้นหากผู้บริหารนำหลักจริยธรรมเข้ามาบริหารในฝ่ายต่างๆ จะทำให้การบริหารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ และได้บุคลากรที่มีคุณภาพจะทำให้งานเกิดประสิทธิผล</p> พัสกร สอนหนองนา Copyright (c) 2023 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 5 10 143 151 นวัตกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงของเทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/927 <p>ที่ผ่านมาการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหลายพื้นที่นั้นมีข้อจำกัด การใช้เทคโนโลยีผ่านระบบโปรแกรมเว็บแอปพลิเคชันควบคู่กับระบบการทำงานแบบปกติสามารถช่วยเพิ่มฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยและช่วยวางแผนการดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์ความสำเร็จในการดำเนินโครงการนวัตกรรมของเทศบาลตำบลป่าสัก (2) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จของโครงการนวัตกรรมของของเทศบาลตำบลป่าสัก โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้บริหารท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และตัวแทนภาคประชาสังคม รวม 36 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึกและ การสนทนากลุ่มเกี่ยวกับปัจจัยแห่งความสำเร็จ วิเคราะห์และสรุปผลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์สรุปอุปนัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) นวัตกรรมทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูแลจากรูปแบบเดิมที่ไม่เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้ป่วยเป็นการใช้โปรแกรมเพื่อติดตาม ประเมินผล รวมทั้งเพื่อการวางแผนการรักษาได้อย่างรวดเร็วแบบ real time ทำให้ช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ (2) ปัจจัยความสำเร็จของโครงการนวัตกรรม ได้แก่ 1) ศักยภาพของบุคลากรและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับทีมงานในพื้นที่ 2) นโยบายของนายกเทศมนตรีที่ส่งเสริมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 3) การมีทรัพยากรทางการบริหารที่เพียงพอ 4) การออกแบบการทำงานร่วมกันอย่างยืดหยุ่น และ 5) การมีส่วนร่วมของประชาชน เครือข่าย และภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ สำหรับข้อค้นพบใหม่พบว่าปัจจัยศักยภาพของบุคลากรและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับทีมงานในพื้นที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จมากที่สุดของนวัตกรรม</p> จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์ วิศท์ เศรษฐกร ณัฐพงษ์ คันธรส อัมฤตา สารธิวงค์ Copyright (c) 2023 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 5 10 35 50 บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/926 <p>งานวิจัยชิ้นนี้ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาบทบาท ความรับผิดชอบ และความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ที่สำรวจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ 2,149 แห่ง ผ่านแบบสอบถามและวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยยังไม่จัดลำดับความสำคัญให้เรื่องการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้น อย่างไรก็ตามพบว่า โครงการเกี่ยวกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่เป็นโครงการที่มาจากความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กมีสัดส่วนการใช้งบประมาณสำหรับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ โดยท้องถิ่นให้ความสำคัญกับมีเรื่องการจัดการขยะ ซึ่งเป็นหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นอันดับแรก </p> <p>ในมิติด้านการปรับตัว (adaptation) พบว่า แม้ว่าท้องถิ่นจะมีการตระหนักรู้อย่างมากเกี่ยวกับความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่มีเพียงร้อยละ 38.43 ของผู้ตอบแบบสอบถามเท่านั้นที่ดำเนินกิจกรรมการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง ในมิติด้านการลดก๊าซเรือนกระจก (mitigation) พบว่าท้องถิ่นได้ดำเนินกิจกรรมด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 36.82 ซึ่งมักเป็นกิจกรรมหลักตามภารกิจท้องถิ่นและเมื่อสำรวจในประเด็นความเพียงพอของการจัดเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล พบว่า ไม่มีเพียงพอสูงถึงร้อยละ 47.15 ของพื้นที่สำรวจ และในการสำรวจมิติด้านการสร้างขีดความสามารถและขับเคลื่อนการดำเนินงานรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่าร้อยละ 60.66 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังขาดกิจกรรมด้านการพัฒนาข้อมูล งานวิจัย และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้พบว่า ท้องถิ่นส่วนใหญ่สนับสนุนแนวคิดในการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นสามารถประกาศเขตพื้นที่ภัยพิบัติเองได้ เพื่อสามารถใช้อำนาจหน้าที่และงบประมาณ ในการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติได้อย่างทันท่วงที (70.40%) และสนับสนุนการเพิ่มงบประมาณสำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำ (63.70%) และต้องการการสนับสนุนจากส่วนกลางสำหรับโครงการริเริ่มเมืองสีเขียวที่ยั่งยืน (55.80%)</p> <p>การศึกษาในครั้งนี้ เน้นย้ำถึงภูมิทัศน์การจัดการสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการปรับปรุงการจัดสรรทรัพยากร และความพยายามในการทำงานร่วมกันเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ</p> จิตรานุช เกียรติอดิศร Copyright (c) 2023 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 5 10 51 65 โครงสร้างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: อุปสรรคและผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอ่างทอง https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/963 <p>พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ได้มอบอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งนับเป็นแหล่งรายได้แห่งใหม่ ทว่าแหล่งรายได้นี้จะสามารถผลิตรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ตามที่ประมาณการเอาไว้หรือไม่ ผู้ศึกษาจึงให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าว โดยเลือกศึกษาเปรียบเทียบภายในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแต่ละรูปแบบในจังหวัดอ่างทองประกอบไปด้วย เทศบาลเมืองอ่างทอง เทศบาลตำบลโพสะ และองค์การบริหารส่วนตำบลป่างิ้ว กระนั้นเองผู้ศึกษาจะวิเคราะห์ภาพรวมของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง นับตั้งแต่โครงสร้างของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตลอดไปจนถึงผลการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากการพิจารณาผลการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในภาพรวมแล้วพบว่า ในช่วง 2 ปีงบประมาณแรกที่เริ่มการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กล่าวมาข้างต้นล้วนจัดเก็บได้ไม่เป็นตามที่ประมาณการเอาไว้ โดยมีสาเหตุหลักมาจากกฎหมายจำนวนหนึ่งที่ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 พร้อมทั้งปัญหาอื่นๆ อีกมากมายที่จะกล่าวถูกถึงต่อไปในบทความชิ้นนี้</p> กฤษณพงศ์ ภูมรินทร์ ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์ Copyright (c) 2023 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 5 10 66 80 การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่บ้านศรีสุข ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/942 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 3) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษากลุ่มหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่บ้านศรีสุข ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลจากเอกสารและจากหัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน 1 คนและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 9 คนรวมทั้งสิ้น 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโดยมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การจัดหาทรัพยากร การออกแบบผลิตภัณฑ์ การจัดจำหน่ายและกระจายสินค้าสู่ท้องตลาด 2) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ ปัญหาไม้ไผ่ในพื้นที่มีไม่เพียงพอและหายาก ปัญหาที่เกิดจากสมาชิกภายในกลุ่มจักสานเองและปัญหาการจำหน่ายสินค้าสู่ท้องตลาด 3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน คือ หน่วยงานภาครัฐควรส่งเสริมและพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถในการจักสานแก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชน ควรสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานของกลุ่มและควรเข้ามายกระดับคุณภาพและมาตรฐานในการผลิตรวมทั้งช่วยกำกับดูแลเรื่องลิขสิทธิ์เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ</p> สุรัตน์ ทิมอิ่ม Copyright (c) 2023 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 5 10 81 92 การใช้การวิจัยเชิงคุณภาพยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีจากข้อมูลในงานรัฐประศาสนศาสตร์: การทบทวนวรรณกรรมแบบไม่ใช้ระบบ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/813 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์หกประการคือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยเชิงคุณภาพยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (2) เพื่อศึกษารูปแบบของการวิจัยยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (3) เพื่อศึกษาการทบทวนวรรณกรรมในการวิจัยยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (4) เพื่อศึกษากระบวนการกำหนดรหัสในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (5) เพื่อศึกษาคุณลักษณะจำเพาะห้าประการของการวิจัยยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (6) เพื่อศึกษาและนำเสนอแนวทางการนำการวิจัยยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีจากข้อมูลมาใช้ในงานรัฐประศาสนศาสตร์ การศึกษาดำเนินการโดยการทบทวนวรรณกรรมแบบไม่ใช้ระบบ ด้วยการสกัดข้อมูลออกมาเรียบเรียงเป็นสาระสำคัญของบทความนี้ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษานำมาสรุปและอภิปรายผลการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ประสงค์จะดำเนินการวิจัยด้านรัฐประศาสนศาสตร์ได้นำไปพิจารณาใช้ดำเนินการวิจัยในทางรัฐประศาสนศาสตร์ในประเทศไทยต่อไป</p> ศิวะพร ภู่พันธ์ จำเนียร จวงตระกูล อุทัย อันพิมพ์ อารี ผสานสินธุวงศ์ Copyright (c) 2023 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 5 10 7 34