https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/issue/feed PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) 2024-12-27T00:00:00+07:00 ศาสตราจารย์ ดร.อัมพร ธํารงลักษณ์ thaipaat@gmail.com Open Journal Systems <p>PAAT Journal หรือ วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย (Public Administration Association of Thailand Journal) มีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ 1) เพื่อส่งเสริมเผยแพร่ผลงานและทัศนะทางวิชาการสาขารัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ การบริหารกิจการสาธารณะ รัฐศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อเป็นการพัฒนาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ของประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้า 3) เพื่อเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ของสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทยกับสมาชิกของสมาคมฯ และสังคม</p> https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1183 บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลดงขุย อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ 2024-04-06T19:54:11+07:00 สุดารัตน์ ทาระกุล political.psru@gmail.com จันทการติ์ พุ่มพวง anek.s@psru.ac.th ศิริรัตน์ อนุมาตร anek.s@psru.ac.th ธนพล กอนนาค anek.s@psru.ac.th ธนพล ช่วยบำรุง anek.s@psru.ac.th <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคในการดำเนินบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลดงขุย อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลจากเอกสารและจากเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงขุยจำนวน 5 คนและผู้สูงอายุจำนวน 15 คนรวมทั้งหมด 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์การบริหารส่วนตำบลดงขุยมีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในด้านสุขภาพ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและด้านการจัดสวัสดิการ 2) องค์การบริหารส่วนตำบลดงขุยประสบปัญหา อุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในด้านงบประมาณ <br />ด้านบุคลากรและด้านการสื่อสาร 3) ข้อเสนอแนะ แนวทางในการดำเนินบทบาทการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลดงขุย คือ ควรจัดสรรงบประมาณและอัตราบุคลากรให้เพียงพอรวมถึงควรเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารให้ทั่วถึง</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1142 แนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่อประชารัฐเพื่อผู้สูงวัย กรณีศึกษาธนาคารออมสิน 2024-03-25T11:32:18+07:00 ธนพล นาคเดช Tanapol_jow@hotmail.com ปราณี เอี่ยมละออภักดี pranee_eam@utcc.ac.th <p>การศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่อประชารัฐเพื่อผู้สูงวัย กรณีศึกษาธนาคารออมสิน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการให้บริการสินเชื่อประชารัฐ เพื่อผู้สูงวัย 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการเพิ่มยอดใช้บริการสินเชื่อประชารัฐเพื่อผู้สูงวัยให้เป็นไปตามเป้าหมาย กลุ่มตัวอย่าง 200 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 10 คน วิเคราะห์ด้วยการแจกแจงค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่า t-test และ One-Way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า 1) สาเหตุที่ทำให้การให้บริการสินเชื่อไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจาก ลูกค้ามีความกังวล เรื่องหลักประกันการโฆษณาสร้างการรับรู้และให้ข้อมูลสินเชื่อยังไม่ทั่วถึง และค่าประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อค่อนข้างสูง 2) แนวทางการแก้ไขปัญหา แนวทางที่ 1 การจัดทำสื่อโฆษณาและออกพื้นที่เชิงรุก 18 ภาค 18 ตลาด ประชาสัมพันธ์สินเชื่อประชารัฐเพื่อผู้สูงวัย ส่งเสริมและเน้นย้ำภาพลักษณ์ในการดูแลพ่อค้า แม่ค้า และผู้ประกอบการรายย่อย <br />และแนวทางที่ 2 การปรับปรุงหลักเกณฑ์สินเชื่อให้สามารถใช้หลักประกันได้หลากหลาย ลดอัตราค่าเบี้ยประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ การลดเอกสารประกอบการขอกู้ เป็นต้น</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1148 การเมืองในกระบวนการกำหนดนโยบายการศึกษา: กรณีศึกษาการคอรัปชันการสอบครูผู้ช่วย ผู้ช่วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พ.ศ. 2551-2562 2024-03-25T15:55:43+07:00 ปฏิภาณ พรศิริเสวี art.pangya1@gmail.com <p>คำถามการวิจัยของงานชิ้นนี้ก็คือ การคอร์รัปชันการสอบครูผู้ช่วย สพฐ. จากรัฐบาลพลเรือนถึง<br />รัฐบาลทหาร พ.ศ. 2551 - 2562 นั้น โดยเปรียบเทียบแล้ว มีมากขึ้นหรือน้อยลง และเป็นเพราะเหตุใด โดยงานชิ้นนี้ จะเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ทฤษฎีว่าด้วยกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ (public policy-making process) ทฤษฎีว่าด้วยธรรมาภิบาล (good governance theory) และทฤษฎีว่าด้วยการคอร์รัปชัน (corruption theory)</p> <p>ความเห็นของคนทั่วไปนั้นอาจ คือ การสอบบรรจุครูผู้ช่วยในสมัยรัฐบาลทหารน่าจะมีลักษณะ<br />การคอรัปชันมากกว่าในสมัยรัฐบาลพลเรือน อันเนื่องมาจาก รัฐบาลพลเรือนระบอบประชาธิปไตยมีแนวโน้มที่จะถูกตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้มากกว่า มีตัวแสดงต่าง ๆ ทั้งภาคประชาชน องค์กรอิสระ หรือสื่อเข้ามาถ่วงดุลการทำงานมากกว่า ขณะที่รัฐบาลทหารระบอบอำนาจนิยมมีแนวโน้มที่จะตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้ยาก ตัวแสดงต่าง ๆ มีอำนาจถ่วงดุลได้น้อย จึงทำให้รัฐบาลพลเรือนน่าจะมีความโปร่งใส่และตรวจสอบได้มากกว่ารัฐบาลทหาร</p> <p>แต่ผลการศึกษาเบื้องต้นของงานชิ้นนี้พบว่าการสอบบรรจุครูผู้ช่วยในสมัยรัฐบาลพลเรือนกลับอาจกลับ<br />จะมีการคอร์รัปชันมากกว่าในสมัยรัฐบาลทหาร อันเนื่องมาจากเพราะระบอบการเมืองแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะยังไม่สามารถอธิบายการเกิดการคอร์รัปชันได้มากพอ จำเป็นต้องใช้ทฤษฎีอื่นเข้ามาดูเพิ่มขึ้นประกอบ แต่นอกจากนั้นในอีกทางหนึ่งอาจเป็นเพราะภายใต้ระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยทำให้สื่อสามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้มากขึ้น และอาจเป็นเพราะระบอบการเมืองแบบอำนาจนิยมในช่วงแรกมีการปราบปรามการคอร์รัปชั่นอย่างเข้มงวด</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1149 แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในภารกิจศุลกากร ของด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ 2024-03-25T19:14:11+07:00 วีรกานต์ แสงจ่า weerakan_sangja@cmu.ac.th <p>การศึกษางานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหา อุปสรรคและข้อจำกัดในการปฏิบัติงานและศึกษารูปแบบของเทคโนโลยีบล็อกเชนที่มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ใน<br />การปฏิบัติงานศุลกากร รวมไปถึงการศึกษาเพื่อหาข้อเสนอแนะ แสดงความคิดเห็นถึงแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในภารกิจของด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ ใช้วิธีการศึกษางานวิจัยเชิงคุณภาพโดยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 คน ได้แก่ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานศุลกากร กลุ่มผู้บริหารของด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศของกรมศุลกากรและเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูลที่รวบรวมนำมาวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Content Analysis</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากข้อจำกัดในการปฏิบัติงาน เรื่องของระบบ<br />การเชื่อมโยงในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างสมบูรณ์ เรื่องข้อจำกัดในข้อกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ รวมไปถึงการขาดทรัพยากรบุคคลที่เป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีไม่เพียงพอต่อปริมาณงาน และส่วนงานที่เห็นควรจะต้องนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหา อุปสรรคและลดข้อจำกัดที่จำเป็นมากที่สุด คือ ฝ่ายควบคุมและตรวจสอบทางศุลกากร การปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบตรวจสอบและคัดกรองผู้โดยสารล่วงหน้า (APPS) ในการปฏิบัติพิธีการทางศุลกากรผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนแบบส่วนตัว (private blockchain) ที่สอดคล้องกับภารกิจด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการปกป้องสังคมให้ปลอดภัยด้วยระบบควบคุมทางศุลกากร โดยมีข้อเสนอแนะในการวิจัยในครั้งนี้เห็นควรมีการปรับปรุงและแก้ไขระเบียบปฏิบัติหรือข้อกฎหมาย ก่อนการที่จะนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงานเห็นควรที่จะมีการแก้ระเบียบปฏิบัติหรือกฎหมายที่จำเป็นก่อนและควรมีการสร้างองค์ความรู้ (knowledge management :KM) แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานศุลกากรให้มากขึ้น</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1161 การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา: บทสะท้อนผู้มีส่วนได้เสีย โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) 2024-03-30T16:18:25+07:00 นลธวัช บุญเรือง nolthawat098@gmail.com <p>วัตถุประสงค์งานวิจัย 1) เพื่อประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) 2) เพื่อหาแนวทางการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษา ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น กลุ่ม ประชากรคือ ครู ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา 290 คน กลุ่มตัวอย่าง ครู ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา 44 คน วิธีการเลือกแบบเจาะจง ผู้ปกครอง 165 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มตัวอย่าง 209 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ข้อมูล ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย SD. การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1.ความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสียโดยภาพรวม และรายด้านอยู่ ในระดับมาก คือ ด้านนักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการเรียนรู้และพัฒนา และด้านงบประมาณและทรัพยากร จากสนทนากลุ่ม คือ 1) ด้านองค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษา ได้แก่ด้านองค์ประกอบของหลักสูตร เป็นไปตามความต้องการของผู้รับบริการ 2) ด้านสมรรถนะผู้เรียนด้านจัดการตนเอง ยังไม่เป็นที่คาดหวังด้านการคิดขั้นสูง ต้องมีการช่วยเหลือโดยผู้ปกครองและครู ด้านการสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิดเได้ มีเหตุผล ด้านการทำงานเป็นทีม เข้ากับเพื่อนได้ ด้านเป็นพลเมืองที่เข็มแข็ง ตระหนักในการเป็นพลเมืองดี ด้านการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืนเช่น ใช้โทรศัพท์เท่าที่จำเป็น ด้านทักษะอาชีพ ช่วยเหลือกิจกรรมของครอบครัว 3) ด้านจัดการเรียนการสอนของครู ตรงตามความสนใจความถนัดของผู้เรียน 4) มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่โรงเรียนต้องการ</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1163 การมีส่วนร่วมของประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ กรณีศึกษาหมู่บ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย 2024-03-31T19:33:26+07:00 วาเลนไทน์ เสริมสถาน valentine.s@psru.ac.th พีระพงศ์ บุญมา anek.s@psru.ac.th สิรินภา เขตรวิตย์ anek.s@psru.ac.th อนงค์ศรี ธรรมาจา anek.s@psru.ac.th เอมอร รุ่งรัตน์ anek.s@psru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ กรณีศึกษาหมู่บ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่าน<br />ลานหอย จังหวัดสุโขทัย การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลจากเอกสารและจากผู้นำชุมชน 5 คน เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ <br />3 คน และประชาชน 12 คน รวมทั้งสิ้น 20 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยใช้เแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ดังนี้ การมีส่วนร่วมในการทำแนวกันไฟ การมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังการลักลอบตัดไม้และการจับสัตว์ป่า การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ การมีส่วนร่วมในการติดต่อประสานงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการมีส่วนร่วมในการได้รับผลประโยชน์ 2) ปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ได้แก่ ปัญหาด้านงบประมาณ ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาด้านความร่วมมือจากประชนชนในพื้นที่ ปัญหาด้านการติดต่อสื่อสาร ปัญหาการขาดความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้และการแสวงหาผลประโยชน์จากป่าไม้โดยมิชอบ 3) ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ กรณีศึกษาหมู่บ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐควรสนับสนุนงบประมาณให้มากขึ้นในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ควรจัดอบรมให้ความรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้แก่ประชาชนในพื้นที่ <br />ควรส่งเสริมและพัฒนาป่าชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้แก่ประชาชน ประชาชน และหน่วยงานภาครัฐควรเฝ้าระวังและสังเกตการณ์บุคคลที่ลักลอบเข้าไปตัดไม้หรือล่าสัตว์</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1165 หน้าที่และอำนาจของวุฒิสภา: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทย กับประเทศฟิลิปปินส์ 2024-04-01T12:36:58+07:00 อเนก สุขดี political.psru@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหน้าที่และอำนาจของวุฒิสภาของประเทศไทยและประเทศฟิลิปปินส์ 2) วิเคราะห์เปรียบเทียบหน้าที่และอำนาจของวุฒิสภาของประเทศไทยกับประเทศฟิลิปปินส์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสาร โดยใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา</p> <p><strong> </strong> ผลการวิจัยพบว่า 1) วุฒิสภาของประเทศไทยและประเทศฟิลิปปินส์มีหน้าที่และอำนาจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในการกลั่นกรองกฎหมาย การตรวจสอบและในฐานะรัฐสภา 2) วุฒิสภาของประเทศไทยมีหน้าที่และอำนาจเหมือนกับวุฒิสภาของประเทศฟิลิปปินส์ในการกลั่นกรองกฎหมาย <br />การตรวจสอบ ได้แก่ การตั้งกระทู้ถาม การตั้งคณะกรรมาธิการสามัญและคณะกรรมาธิการวิสามัญ <br />ส่วนในฐานะรัฐสภา ได้แก่ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและการพิจารณาให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญต่าง ๆมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ วุฒิสภาของประเทศไทยไม่มีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่งต่าง ๆ และไม่มีหน้าที่และอำนาจในการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งซึ่งแตกต่างจากวุฒิสภาของประเทศฟิลิปปินส์ที่มีหน้าที่และอำนาจในเรื่องดังกล่าว</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1182 บทบาทขององค์กรผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ 2024-04-06T16:21:36+07:00 ธนดล อุตสาคต thanadol.ut@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนบทบาทขององค์กรผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลในบทความนี้ ได้มาด้วยกระบวนการศึกษาเชิงคุณภาพ จากแหล่งข้อมูล 2 ประเภท ได้แก่ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 และกฎหมายลำดับรอง และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้างจากผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ จำนวน 5 คน ผลการศึกษาพบว่าการดำเนินงานองค์กรผู้ใช้น้ำมีความสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด แต่พบปัญหาหลายประการได้แก่ การขาดความรู้ความเข้าใจในหน้าที่อำนาจและความรู้ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตลอดจนแนวทางในการพัฒนาองค์กรผู้ใช้น้ำยังไม่มีความชัดเจน นอกจากนี้องค์กรผู้ใช้น้ำส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ชลประทานไม่ครอบคลุมทั่วทั้งลุ่มน้ำ ส่งผลให้ขาดความเข้มแข็งในการเชื่อมโยงกันระหว่างเครือข่ายองค์กรผู้ใช้น้ำในพื้นที่ ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำขององค์กรผู้ใช้น้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีข้อเสนอแนะให้มีการจัดการองค์ความรู้องค์กรผู้ใช้น้ำ สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมทั้งภายในและภายนอก รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้น้ำตระหนักถึงความสำคัญเพื่อเชิญชวนให้เข้ามาจดทะเบียนเป็นองค์กรผู้ใช้น้ำ</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1444 การสะท้อนคิดแพลตฟอร์มเกมฝึกทักษะด้านการวิจัยพื้นฐาน 2024-09-05T09:46:47+07:00 อุดมโชค อาษาวิมลกิจ udomchoke@yahoo.com ชัยณรงค์ เหลืองวิลัย udomchoke@yahoo.com <p>บทความนานาทัศนะชิ้นนี้ มีจุดมุ่งหมายในการสำรวจแนวทางการสอนแบบใหม่สำหรับพัฒนาทักษะการวิจัยพื้นฐานด้วยแพลตฟอร์มเกมดิจิทัลจากประสบการณ์ของผู้เขียนในฐานะผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม สาระหลักของบทความได้แก่ 1) การสะท้อนประสบการณ์พัฒนาแพลตฟอร์มเกมดิจิทัล 2) ความสนใจของผู้เรียนในการใช้เกม และ 3) การบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่คาดหวัง ผลลัพธ์จากกระบวนการดำเนินงาน การติดตาม และรับฟังข้อคิดเห็นอันหลากหลาย นักศึกษาสะท้อนว่าแพลตฟอร์มเกมสร้างความสนุกสนาน การมีส่วนร่วม และความอยากรู้อยากเห็นเพิ่มขึ้นโดยส่วนใหญ่สะท้อนประสบการณ์ที่เป็นบวกเกี่ยวกับนวัตกรรมการเรียนรู้นี้ อย่างไรก็ตามในการบรรลุเป้าหมายเฉพาะด้านทักษะการคิดแพลตฟอร์มเกมดิจิทัลไม่ได้เพิ่มผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีนัยสำคัญ แต่อาจเป็นทางเลือกที่มีคุณค่าและมีความน่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการสอนแบบดั้งเดิมทั้งยังช่วยสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนรู้ในรูปแบบดิจิทัลที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1129 ระบบท้องถิ่นดิจิทัลภายใต้แนวคิดการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย 2024-03-20T23:25:46+07:00 เบญจรัตน์ ภาคภูมิเจริญสุข lingnoiizoil@gmail.com นวลนภา จุลสุทธิ Nualnapa.chull@gmail.com ทับทิม สุขพิน Tubtim_s@hotmail.com ประยูร อิมิวัตร์ prayoon.imi@crru.ac.th <p>บทความเชิงวิชาการนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาระบบท้องถิ่นดิจิทัล (digital government platform) <br />ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลและแนวคิดการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลระบบท้องถิ่นดิจิทัล ภายใต้การดำเนินการของ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ Digital Government Development Agency (DGA) 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการใช้งานระบบท้องถิ่นดิจิทัลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย เพื่อเข้าสู่สังคมดิจิทัล ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ.2566 - 2570 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงเริ่มปรับตัวเข้าสู่การทำงานด้วยระบบดิจิทัลตามหนังสือสั่งการต่าง ๆ ที่ภาครัฐได้เสนอแนวทางการปฏิบัติงานเพิ่มเติมเข้ามาในระบบท้องถิ่น โดยการแนะนำแนวทางการปฏิบัติงานด้วยระบบสารสนเทศในการให้บริการประชาชน (local service) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-service) เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการและข้อมูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น</p> <p>ผู้เขียนศึกษาแล้วพบว่ากรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นไม่กำหนดระบบที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องใช้งานรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอย่างชัดเจน ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระในการเลือกใช้งานในแพลตฟอร์มที่หลากหลาย และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบท้องถิ่นดิจิทัลไม่ได้รับความสนใจจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย ตามที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเชิญชวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศเข้ามาใช้ระบบ สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางการใช้งานระบบท้องถิ่นดิจิทัลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย มีดังนี้ 1) ด้านบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีทักษะด้านดิจิทัลขั้นพื้นฐาน 2) ด้านงบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรวางแผนประมาณการรายจ่ายของระบบท้องถิ่นดิจิทัลในวงเงินที่เหมาะสมกับขนาดหน่วยงาน 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรศึกษาระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบการใช้งานระบบดิจิทัลในการให้บริการประชาชน 4) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรศึกษาข้อมูลทั้งข้อดีและข้อเสียเพื่อประกอบการตัดสินใจในการใช้งานระบบ 5) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีแนวทางการประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนทราบ เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรับบริการ</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1118 การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยผ่านมุมมองการสร้างนโยบายการแข่งขัน 2024-03-14T15:00:26+07:00 ชินวัฒน์ หรยางกูร charanchai@hotmail.com พนัชกร อินทแพทย์ charanchai@hotmail.com จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์ charanchai@hotmail.com <p>ที่ผ่านมาประเทศไทยมีแนวนโยบายที่หลากหลายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ชี้ให้เห็นว่าในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยกลับประสบปัญหาการเจริญเติบโต<br />ที่ชะลอตัว ในขณะที่แนวโน้มความเหลื่อมล้ำสูงขึ้นอย่างมาก สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมามองข้ามฟันเฟืองชิ้นสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ บทความนี้นำเสนอว่าฟันเฟืองการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขาดหายอาจเป็นกลไกตลาดอันจะส่งเสริมการแข่งขันในตลาดที่เหมาะสมอันเปรียบเสมือนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่จะสร้างแรงกระตุ้นแก่ภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ผ่านประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร ประสิทธิภาพการผลิต และประสิทธิภาพเชิงพลวัต อันจะสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในขณะที่ลดการกระจุกตัวของทรัพยากร อย่างไรก็ดีจากประสบการณ์จากต่างประเทศพบว่าการผลักดันแนวนโยบายการแข่งขันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ต้องอาศัยการวางเป้าหมายด้านการแข่งขันที่ชัดเจน การทำงานสอดคล้องกันระหว่างองค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ของนโยบายการแข่งขัน นอกจากนี้ต้องการผลักดันนโยบายการแข่งขันที่จริงจังโดยรัฐบาล พร้อมทั้งการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน บทความนี้ศึกษาความสำคัญของการแข่งขัน การพัฒนานโยบายการแข่งขัน พร้อมทั้งนำเสนอบทเรียนจากต่างประเทศอาจเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในการขับเคลื่อนนโยบายการแข่งขัน เพื่อเป็นแพลตฟอร์มในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และความได้เปรียบในการเชิงแข่งขัน เพื่อแก้ปัญหาการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาวทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและการลดความเหลื่อมล้ำต่อไป</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1177 การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิเคราะห์แก่นสาร: แนวทางปฏิบัติสำหรับนักวิจัยใหม่ 2024-04-05T22:44:51+07:00 จำเนียร จวงตระกูล professordrjj@gmail.com อรพินท์ บุญสิน laddawan.s@rmutsb.ac.th จารุกัญญา อุดานนท์ laddawan.s@rmutsb.ac.th ลัดดาวัลย์ สำราญ laddawan.s@rmutsb.ac.th <p>การวิเคราะห์แก่นสาร (thematic analysis) เป็นวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน การวิเคราะห์แบบนี้มีกระบวนการและขั้นตอนที่มีความเฉพาะเจาะจงเป็นของตนเองที่นักวิจัยเชิงคุณภาพสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโครงการวิจัยเชิงคุณภาพยุทธศาสตร์ต่าง ๆ <br />ได้ตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตามแม้ว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis: CA) แล้วจะมีความแตกต่างกันแต่มีหลายส่วนที่คล้ายคลึงกัน จึงมักจะมีความสับสนกันซึ่งมักเกิดขึ้นกับนักวิจัยใหม่หรือนักวิจัยที่ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากเดิมมาเป็นนักวิจัยเชิงคุณภาพ บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอแนวคิดและแนวทางปฏิบัติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบการวิเคราะห์แก่นสาร สำหรับนักวิจัยใหม่หรือนักวิจัยที่ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์มาเป็นนักวิจัยเชิงคุณภาพสามารถนำไปใช้ในการดำเนินโครงการวิจัยของตนได้ วิธีการศึกษาดำเนินการโดยการทบทวนวรรณกรรมแบบไม่ใช้ระบบ (non-systematic literature review) โดยทำการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องแล้วสกัดข้อมูลออกมาใช้เป็นฐานในการเขียนบทความนี้ ขอบเขตของการศึกษาประกอบด้วย บทนำ เพื่อนำเสนอที่มา และความสำคัญของประเด็นที่<br />จะศึกษา วิธีการศึกษาและขอบเขตของการศึกษา การทบทวนวรรณกรรมประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์แก่นสาร ส่วนประกอบสำคัญของการวิเคราะห์แก่นสาร กระบวนการและขั้นตอนการวิเคราะห์<br />แก่นสาร ปัญหาและข้อควรคำนึงในการดำเนินการวิเคราะห์แก่นสาร องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ การศึกษาครั้งนี้พบว่ากระบวนการและขั้นตอนในการวิเคราะห์แก่นสาร ประกอบด้วย ขั้นตอนที่สำคัญหกประการคือ (1) การระบุข้อความอ้างอิงจากเนื้อหา (selection of quotations) (2) การกำหนดคำสำคัญ (keywords) (3) การกำหนดรหัส (coding) (4) การกำหนดสาระของเนื้อหา (themes) (5) การสร้างมโนทัศน์ (conceptualization) และ (6) การพัฒนาแบบจำลองมโนทัศน์ (development of conceptual model) อันถือว่าเป็นผลของการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็น ผลของการวิจัย เนื่องจากการวิเคราะห์แก่นสารกับการวิเคราะห์แก่นสารกับการวิเคราะห์เนื้อหามีความคล้ายคลึงกันหลายประการและยังมีความแตกต่างกันหลายประการเช่นกัน เพราะฉะนั้น นักวิจัยควรศึกษาแนวคิดและกระบวนการขั้นตอนในการวิเคราะห์แก่นสารอย่างลึกซึ้งก่อนตัดสินใจเลือกใช้การวิเคราะห์แก่นสารเป็นวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลในโครงการวิจัยเชิงคุณภาพของตน</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย) https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1131 การนำเสนอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ร่วมโครงการในรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพ:ปัญหาจริยธรรมว่าด้วยการปกปิดข้อมูลของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยไว้เป็นความลับ 2024-03-21T17:04:00+07:00 จำเนียร จวงตระกูล professordrjj@gmail.com คณิดา นรัตถรักษา laddawan.s@rmutsb.ac.th ปรีชา คำมาดี laddawan.s@rmutsb.ac.th ลัดดาวัลย์ สำราญ laddawan.s@rmutsb.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอแนวทางในการปกป้องคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลจากความเสี่ยงภัยหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้มาตรการทางจริยธรรมว่าด้วยการปกปิดข้อมูลของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยไว้เป็นความลับ (confidentiality) ในการนำเสนอข้อมูลในการวิจัยหรือรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพ การศึกษาใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมแบบไม่ใช้ระบบ ซึ่งดำเนินการโดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องแล้วสกัดข้อมูลออกมาเพื่อใช้เป็นฐานในการเขียนบทความฉบับนี้ โดยมีขอบเขตของการศึกษาประกอบด้วย (1) บทนำ เพื่อนำเสนอที่มาและความสำคัญของประเด็นที่จะดำเนินการศึกษารวมทั้งวัตถุประสงค์และขอบเขตของการศึกษา (2) การทบทวนวรรณกรรมประกอบด้วย คุณลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ แนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัย หลักการจริยธรรมการวิจัย ประเด็นจริยธรรม<br />ว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองผู้เข้าร่วมโครงการจากความเสี่ยงหรือภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการวิจัยโดยการปกปิดข้อมูลของผู้เข้าร่วมโครงการไว้เป็นความลับ มาตรการทางจริยธรรมที่ใช้เพื่อปกป้องคุ้มครองผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยโดยการปกปิดข้อมูลของผู้เข้าร่วมโครงการไว้เป็นความลับ (3) สรุปผลการศึกษา (4) ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาและ (5) ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ผลการศึกษาพบว่าประเด็นจริยธรรมว่าด้วยการปกปิดข้อมูลของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยในการวิจัยและรายงานการวิจัยยังมีการตีพิมพ์เผยแพร่ในชุมชนวิจัยไทยไม่มากนัก และในรายงานการวิจัยบางโครงการ นักวิจัยได้นำเสนอข้อมูลของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยรวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยและนำเสนอภาพถ่ายของนักวิจัยที่สัมภาษณ์ ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย และภาพกิจกรรมอื่น ๆ ของโครงการวิจัยที่อาจทำให้ผู้อ่านสามารถระบุตัวตนของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยได้ลงในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ในระบบการอ้างอิงวารสารทางวิชาการของประเทศไทย</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย)